เท็ตสึยะ ยามาโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เท็ตสึยะ ยามาโตะ
ชื่อจริงเท็ตสึยะ อิวาชิตะ
(岩下 哲也)
ฉายาstrong-armed painter
รุ่นไลท์เวท
เกิด (1987-12-10) 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (36 ปี)
ญี่ปุ่น จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
ชกทั้งหมด42
ชนะ31
ชนะน็อก22
แพ้10

เท็ตสึยะ ยามาโตะ (ญี่ปุ่น: Tetsuya Yamatoโรมาจิ大和 哲也ทับศัพท์: Yamato Tetsuya) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 เป็นทั้งนักมวยคิกบ็อกซิ่งและเป็นนักมวยไทย รวมทั้งเป็นช่างทาสีชาวญี่ปุ่น เขาเป็นผู้ชนะรายการแข่งขันเจแปนนีสเนชั่นแนลของเค-วันในรุ่นไลท์เวท ใน ค.ศ. 2010

ประวัติ[แก้]

ในช่วงเริ่มแรก[แก้]

เท็ตสึยะ ยามาโตะ เกิดวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า เท็ตสึยะ อิวาชิตะ ภายหลังจากการจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาก็เริ่มทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และกลายมาเป็นช่างทาสีอาคารด้วยสีอะครีลิคเรซิ่น

ในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะนักมวยคิกบ็อกซิ่งระดับอาชีพเป็นครั้งแรกในรายการ R.I.S.E. และเขาได้ชนะน็อค เออิจิ โอกาวะ ในยกแรกด้วยการใช้ขาซ้ายเตะต่ำ ภายหลังจากการแข่งขันในครั้งนั้น เขาได้กลายมาเป็นสมาชิกของสหพันธ์ NJKF แล้วเข้าร่วมแข่งขันภายใต้นามสหพันธ์ดังกล่าว เขาเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้งในวันที่ 24 กันยายน โดยพบกับ ทากูยะ มิเนกาวะ ซึ่งเขาสามารถเอาชนะทีเคโอได้ในที่สุด

ยามาโตะได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัลรูกกี้ อะวอร์ด 2005 โดยสหพันธ์ NJKF เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2006[1]

ชนะการแข่งขันระดับชาติ[แก้]

ภายหลังจากที่ยามาโตะแข่งขันระดับอาชีพเป็นระยะเวลาสามปีของสหพันธ์ NJKF เขาก็ได้รับการเสนอให้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งว่าง ในรายการ NJKF ไลท์เวท ในปี ค.ศ. 2008 และเขาก็ได้มีโอกาสต่อสู้กับ ฮิโรมิ นาคายามะ ในรอบเซมิไฟนอล เขาสามารถเอาชนะทีเคโอได้ในยกที่สี่ ด้วยการตัดกำลังโดยการตีศอก ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 เขาได้เผชิญกับ ฮานาวะ ซึ่งยามาโตะสามารถชนะน็อคในยกที่หนึ่งด้วยการใช้หมัดฮุคซ้าย

ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2009 ยามาโตะได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัล MVP 2008 โดยสหพันธ์ NJKF รวมถึงรางวัล GBR ในปีเดียวกัน[2][3] เนื่องจากเขาได้ชนะรายการ NJKF ในการต่อสู้สามครั้งของสหพันธ์ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 2008 ซึ่งเขาสามารถเอาชนะได้ทั้งสามครั้ง โดยสองครั้งเป็นการชนะโดยน็อคเอ้าท์

ช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 เขาได้รับข้อเสนอในการมีส่วนร่วมในรายการที่มีชื่อว่า "WBC มวยไทยรูล เจแปนนีส ยูนิไฟด์ แชมเปี้ยนชิป ดีซิสชั่น ทัวร์นาเมนท์" ในรุ่นไลท์เวทของสหพันธ์ NJKF, MAJKF[4] และ JPMC[5] โดยแถลงการณ์ว่าเป็นการแข่งขันเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อำนาจของสถาบัน WBC มวยไทย

ในวันที่ 23 กันยายน เขาได้พบกับ คาซูยะ โอเอะ ในรอบเซมิไฟนอล แล้วเขาก็สามารถเอาชนะน็อคด้วยการโจมตีเข้าที่ลำตัวในยกที่สอง ในการแข่งขันรอบไฟนอลเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม เขาได้พบกับ ยูได โคโนะ เพื่อชิงตำแหน่งว่างครั้งแรกในญี่ปุ่นของรายการ WBC และเขาก็สามารถเอาชนะทีเคโอ โดยแพทย์ได้สั่งหยุดการแข่งขันในยกที่สี่ จากการต่อสู้ในครั้งนี้ ส่งผลให้เขาเอาชนะการแข่งขันระดับชาติได้เป็นรายการที่สอง

ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2010 เขาได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัล เอาท์สแตนดิ้ง เพอร์ฟอร์มานซ์ อะวอร์ด 2009 โดยสหพันธ์ NJKF[6] ในฐานะที่เขาได้ทำศึก 7 ครั้ง โดยสามารถเอาชนะได้ 6 ครั้ง ซึ่งเป็นการชนะน็อคทั้ง 6 ครั้ง และแพ้ 1 ครั้ง

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2010 ยามาโตะได้พบกับ แสนชัย ส.คิงสตาร์ จากประเทศไทยในการแข่งขันที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อท้าชิงตำแหน่งว่างรายการโลกรุ่นไลท์เวท ภายใต้อำนาจของสมาคมมวยไทยแห่งสหรัฐอเมริกา (MTAA) ซึ่งเขาถูกชนะน็อค โดยถูกคู่ต่อสู้ใช้ขาซ้ายเตะสูง ในยกที่หนึ่ง

ชนะการแข่งขันเค-วัน[แก้]

ในปี ค.ศ. 2010 ยามาโตะได้รับการนำเสนอให้เข้าร่วมการแข่งขันเค-วัน ในรายการแข่งขันเค-วันระดับประเทศของญี่ปุ่นในรุ่นไลท์เวท เขาได้พบกับ มาซาฮิโระ ยามาโมโตะ และแม้ว่าเขาจะถูกมองว่าจะต้องพ่ายแพ้ แต่เขาก็สามารถชนะได้โดยกรรมการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ในยกพิเศษ และในวันที่ 5 กรกฎาคมของปีเดียวกันนี้ เขาได้ชนะการแข่งขันเค-วัน ระดับชาติ ในรุ่นไลท์เวท (-63 กก.) อีกครั้งหนึ่ง

รายการแข่งขัน[แก้]

  • ค.ศ. 2010 แชมเปี้ยน เค-วัน เวิลด์แม็กซ์ 2010 รุ่น -63 กก. เจแปน ทัวร์นาเมนท์
  • ค.ศ. 2009 แชมเปี้ยน WBC มวยไทย เจแปนนีสไลท์เวท
  • ค.ศ. 2009 แชมเปี้ยน WMC อินเตอร์คอนติเนนทอล ไลท์เวท
  • ค.ศ. 2008 แชมเปี้ยน นิวเจแปน คิกบ็อกซิ่ง เฟเดอเรชั่น (NJKF) ไลท์เวท

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • ค.ศ. 2009 เอาท์สแตนดิ้ง เพอร์ฟอร์มานซ์ อะวอร์ด (NJKF 24 มกราคม ค.ศ. 2010)
  • ค.ศ. 2008 MVP (NJKF 25 มกราคม ค.ศ. 2009)
  • ค.ศ. 2008 GBR อะวอร์ด (gbring.com 25 มกราคม ค.ศ. 2009)
  • ค.ศ. 2005 รูกกี้ อะวอร์ด (NJKF 15 มกราคม ค.ศ. 2006)

สถิติการชก[แก้]

สถิติการชก

คำอธิบาย:       ชนะ       แพ้       เสมอ/ถอนสิทธิ์       หมายเหตุ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]