เทิดศักดิ์ ใจมั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทิดศักดิ์ ใจมั่น
ข้อมูลส่วนตัว
วันเกิด (1973-09-29) 29 กันยายน ค.ศ. 1973 (50 ปี)
สถานที่เกิด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ส่วนสูง 1.64 m (5 ft 4 12 in)[1]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรุก
สโมสรเยาวชน
2532–2535 โรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน
2535–2536 ตลาดหลักทรัพย์ฯ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2535–2540 ตลาดหลักทรัพย์ฯ 97 (33)
2541-2542 กรุงเทพมหานคร 34 (12)
2543–2546 บีอีซี เทโรศาสน 65 (17)
2545สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ (ยืมตัว) 33 (27)
2547 วิสไซนิญบิ่ญ 28 (8)
2548–2552 สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ 112 (47)
2553–2560 ชลบุรี 108 (40)
ทีมชาติ
2537–2554 ไทย 75 (22)
2542–2547 ไทย (ฟุตซอล) 48 (62)
จัดการทีม
2556–2558 ชลบุรี (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
2559–2560 ชลบุรี
2561 ชลบุรี (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
2562 ภูเก็ต ซิตี้
2563 การท่าเรือ (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
2563 อุทัยธานี
2564–2565 อุทัยธานี
2565–2566 พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด
2566 ระยอง
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เทิดศักดิ์ ใจมั่น (ชื่อเล่น : ป๊อป)​ เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทยในตำแหน่งกองกลางตัวรุก

เทิดศักดิ์เป็นนักเตะที่ยิงฟรีคิกและยิงลูกโทษได้ดีและสามารถใช้เท้าได้ทั้ง 2 ข้าง เขาเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลชาวไทยที่ได้เล่นในรอบชิงชนะเลิศในศึก เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในปี พ.ศ. 2546 ระหว่าง บีอีซี เทโรศาสน กับ สโมสรฟุตบอลอัลไอน์ โดยสโมสรสุดท้ายที่เขาค้าแข้งด้วยคือ สโมสรฟุตบอลชลบุรี

ประวัติ[แก้]

เทิศศักดิ์เกิดที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่สาวหนึ่งคน ส่วนคุณพ่อและคุณแม่เป็นคุณครูสอนหนังสือในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุ 6 ปี ในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาจบจากการศึกษาจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอสามชุก ซึ่งในตอนนั้นเทิศศักดิ์มีความฝันอยู่ในใจว่าอยากจะลองเข้ามาเล่นบอลในกรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่รู้จะไปที่ไหน เพราะไม่รู้จักใคร จนสุดท้ายพี่สาวที่เรียนจบโรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน ก็แนะนำให้มาเรียนที่พณิชยการราชดำเนินในปี พ.ศ. 2532 และได้เล่นฟุตบอลในรุ่นอายุ 16 ปีของโรงเรียน พร้อมกับจบการศึกษาจากพณิชยการราชดำเนิน ในวัย 18 ปี

ประวัติการเล่นฟุตบอลอาชีพ[แก้]

เทิดศักดิ์ เล่นฟุตบอลให้กับ โรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน ก่อนที่ทาง สโมสรตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยื่นข้อเสนอให้ร่วมทีม (โดยในขณะนั้น สโมสรลงทำการแข่งขันใน ถ้วยพระราชทาน ง.) และเป็นสโมสรเล่นชองเทิดศักดิ์ในการลงฟุตบอลอาชีพ และเป็นนักฟุตบอลตัวหลักของทีม โดยเทิดศักดิ์ อยู่กับสโมสรจนถึงปี 2543 (ณ ขณะนั้นสโมสรได้เปลื่ยนแปลงการบริหารและชื่อสโมสรเป็น กรุงเทพมหานคร)[2]

ต่อมาในปี 2543 เทิดศักดิ์ได้ย้ายมาร่วม สโมสรบีอีซี เทโรศาสน โดยมีผลงงานที่สำคัญคือ การนำสโมสรเข้าชิงชนะเลิศกับ สโมสรอัล ไอน์ ในการแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 2002/03 และได้รับเลือกเป็นนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน จนทำให้ สโมสรสิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ ยืมตัวในปี 2545 โดย ในปีนั้น เขายิง 27 และเป็นส่วนเป็นส่วนหนึ่งที่พาสโมสรคว้าตำแหน่งชนะเลิศ เอสลีก ของสิงคโปร์

ในปี 2547 เทิดศักดิ์ย้ายร่วม สโมสรด็อง เอ แบงก์[3] ก่อนที่จะย้ายไปร่วม สโมสรสิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ โดยรอบนี้เป็นการซื่อขาดจาก บีอีซี เทโรสาสน โดยลงเล่นให้กับสโมสรถึง 4 ปี ก่อนที่จะย้ายกลับมาเล่นในประเทศไทยกับ สโมสรชลบุรี ในปี 2553[4]

ต่อมาในปลายปี 2558 สโมสรชลบุรีก็ได้แต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม คนแรกของสโมสร[5] เพื่อทำการแข่งขันใน ฤดูกาล 2559 ค่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่ง[6] ก่อนที่จะประกาศเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพในเวลาต่อมา[7] เพื่อเข้าสู่การทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีมต่อไป

ประวัติการเล่นฟุตบอลทีมชาติ[แก้]

ในปี 2545 เทิดศักดิ์ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมชาติไทยในไทเกอร์คัพ ซึ่งพวกเขาสามารถคว้าแชมป์ได้ โดยเทิดศักดิ์ได้รับเลือกให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมของรายการ

ประตูในนามทีมชาติ[แก้]

# วันที่ สถานที่ คู่แข่งขัน ประตู ผลการแข่งขัน รายการ
1. August 31, 1998 นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 3-2 ชนะ 1998 Tiger Cup
2. June 18, 2000 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 2-0 ชนะ กระชับมิตร
3. June 18, 2000 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 2-0 ชนะ กระชับมิตร
4. September 1, 2000 ปักกิ่ง ประเทศจีน ธงชาติจีน จีน 1-3 แพ้ รายการกระชับมิตร
5. September 3, 2000 ปักกิ่ง ประเทศจีน ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 4-2 ชนะ รายการกระชับมิตร
6. October 6, 2000 โดฮา ประเทศกาตาร์ ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 1-1 เสมอ กระชับมิตร
7. January 30, 2001 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 3-1 ชนะ กระชับมิตร
8. June 13, 2001 เบรุต ประเทศเลบานอน ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 4-2 ชนะ 2002 FIFA World Cup qualification
9. June 15, 2001 เบรุต ประเทศเลบานอน ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 3-0 ชนะ 2002 FIFA World Cup qualification
10. December 8, 2002 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 2-1 ชนะ กระชับมิตร
11. December 8, 2002 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 2-1 ชนะ กระชับมิตร
12. December 20, 2002 ประเทศสิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1-3 แพ้ 2002 Tiger Cup
13. December 29, 2002 จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 4-2 (pens) ชนะ 2002 Tiger Cup
14. February 18, 2003 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 1-1 เสมอ King's Cup 2003
15. November 19, 2003 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 1-0 ชนะ 2004 Asian Cup Qualification
16. August 19, 2004 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1-2 แพ้ กระชับมิตร
17. October 8, 2004 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 2-3 แพ้ กระชับมิตร
18. October 13, 2004 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3-0 ชนะ 2006 FIFA World Cup qualification
19. December 10, 2004 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1-1 เสมอ 2004 Tiger Cup
20. December 12, 2004 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ธงชาติติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต 8-0 ชนะ 2004 Tiger Cup
21. November 14, 2009 ประเทศสิงคโปร์ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1-3 ชนะ 2011 AFC Asian Cup qualification
22. January 20, 2010 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 1-3 แพ้ 2010 King's Cup

เกียรติยศ[แก้]

นักฟุตบอล[แก้]

สโมสร[แก้]

บีอีซี เทโรศาสน
สิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ
ชลบุรี เอฟซี

ทีมชาติ[แก้]

หัวหน้าผู้ฝึกสอน[แก้]

อุทัยธานี
พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด

ส่วนบุคคล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ฐานข้อมูล เทิดศักดิ์ ใจมั่น
  2. เรื่องเล่าของสโมสรที่หายไป : ‘ตลาดหลักทรัพย์’ ต้นตำรับเจ้าบุญทุ่มรายแรกของไทย - FourFourTwo Thailandเก็บถาวร 2016-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. THAI NATIONAL TEAM 2004 PLAYER PROFILE - Thaifootball.com
  4. "ข้อมูลทีมและนักเตะ Thai Premier League 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-08-11.
  5. ฉลาม Reboot! เปิดใจแม่ทัพชลบุรีจากน้าเทิดสู่ "โค้ชเทิด" - โกล ไทยแลนด์
  6. ด่วน!! น้าเทิด อำลาตำแหน่งเก้าอี้กุนซือชลบุรีแล้ว เก็บถาวร 2018-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - SMMSPORT.com
  7. ปิดฉาก 23 ปี! "เทิดศักดิ์" แขวนสตั๊ดลุยงานโค้ชเต็มตัว - โกล ประเทศไทย
  8. "ผลการประกาศรางวัล 27 สาขา FA Thailand Awards 2021/22". 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2022.