เทศบาลตำบลไชยปราการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลไชยปราการ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลไชยปราการ
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอไชยปราการ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีดาตำรวจ ณรงค์ ทิพย์ดวง
พื้นที่
 • ทั้งหมด49.13 ตร.กม. (18.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2558)
 • ทั้งหมด16,020 คน
 • ความหนาแน่น330.91 คน/ตร.กม. (857.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05502101
ที่อยู่
สำนักงาน
702 หมู่ 2 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320
โทรศัพท์0 5345 7370
เว็บไซต์www.chaiprakarn.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลไชยปราการ เป็นองค์ปกครองส่วนท่องถิ่น คือ การปกครองที่รัฐบาลมอบอำนาจ หรือกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นหนึ่ง จัดการปกครอง และดำเนินกิจการ บางอย่าง เพือผลประโยชน์รัฐและผลประโยชน์ของ ท้องถิ่น ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

หน้าที่ว่าการอำเภอไชยปราการ
วัดพระวิสุทธิวงศ์ ห้วยบง หมู่ 7 ตำบลปงตำ

ประวัติ[แก้]

เทศบาลไชยปราการ เดิมประกาศเป็นสุขาภิบาลไชยปราการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และเทศบาลตำบล ไชยปราการ ได้รับการปรับชั้นเทศบาล เป็นเทศบาลชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2543 และปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเทศบาล ขนาดกลาง [1]

เขตการปกครอง[แก้]

เทศบาลตำบลไชยปราการ มีพื้นที่รวม 49.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 ตำบล 20 หมูบ้าน ของ อำเภอไชยปราการคือ

ตำบลปงตำ[แก้]

  1. บ้านปงตำ หมู่ 1 ตำบลปงตำ
  2. บ้านท่า หมู่ 2 ตำบลปงตำ
  3. บ้านปางควาย หมู่ 3 ตำบลปงตำ
  4. บ้านมิตรอรัญ หมู่ 4 ตำบลปงตำ
  5. บ้านป่ารวก หมู่ 5 ตำบลปงตำ
  6. บ้านห้วยม่วง หมู่ 6 ตำบลปงตำ
  7. บ้านห้วยบง หมู่ 7 ตำบลปงตำ
  8. บ้านทุ่งยาว หมู่ 8 ตำบลปงตำ

ตำบลหนองบัว[แก้]

  1. บ้านเด่น หมู่ 1 ตำบลหนองบัว
  2. บ้านห้วยไผ่ หมู่ 2 ตำบลหนองบัว
  3. บ้านหนองบัว หมู่ 3 ตำบลหนองบัว

ตำบลศรีดงเย็น[แก้]

  1. บ้านแม่ขิ หมู่ 1 ตำบลศรีดงเย็น
  2. บ้านแม่ขิหล่ายฝาง หมู่ 2 ตำบลศรีดงเย็น
  3. บ้านศรีดงเย็น หมู่ 3 ตำบลศรีดงเย็น
  4. อินทราราม หมู่ 4 ตำบลศรีดงเย็น
  5. บ้านอ่าย หมู่ 5 ตำบลศรีดงเย็น
  6. บ้านทรายขาว หมู่ 7 ตำบลศรีดงเย็น
  7. บ้านดงป่าสัก หมู่ 9 ตำบลศรีดงเย็น
  8. บ้านเชียงหมั้น หมู่ 15 ตำบลศรีดงเย็น
  9. บ้านใหม่ศรีดงเย็น หมู่ 17 ตำบลศรีดงเย็น

สภาพภูมิประเทศ[แก้]

เทศบาลตำบลไชยปราการ พื้นที่ 49.13 ตารางกิโลเมตร มีแนวภูเขาล้อมรอบ ลักษณะเอียงลาดไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำธารและลำห้วย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำฝางซึ่งไหลผ่านเขตเทศบาลไปทางทิศเหนือ สามารถใช้ในการเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี

สภาพสังคม[แก้]

ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลโดยภาพรวมแล้วเป็นสังคมแบบกลุ่ม ชาวบ้านดั้งเดิมจะถือปฏิบัติขนบธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นอย่างเคร่งครัดมากกว่ากลุ่มชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ทีหลัง ส่วนประชากรแฝงในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยเนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่และยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และแรงงานที่เข้ามาทำงานในเขตเทศบาล ที่มาเช่าอาศัยอยู่ตามบ้านพัก ทำให้ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์

สภาพเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม[แก้]

ท้องถิ่นไชยปราการ เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นจากการที่มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีลำน้ำฝางไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ ของน้ำ และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพเกษตรกร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม กระเทียม หอมแดง และมีสัตว์เลี้ยง

นอกจากนี้ ประชากรในเขตเทศบาลนอกจากจะมีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นอันดับหนึ่งแล้ว รองลงมาจะประกอบอาชีพ รับจ้างในภาครัฐ ภาคเอกชน และรับจ้างทั่วไป ถัดจากนั้นคือประกอบอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  1. http://www.chaiprakarn.go.th/aboutup.php เก็บถาวร 2019-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน