เทศบาลตำบลหนองกราด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลหนองกราด
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอด่านขุนทด
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกาญจนา นันทพูนพิพัฒน์
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.24 ตร.กม. (3.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด4,113 คน
 • ความหนาแน่น499.15 คน/ตร.กม. (1,292.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05300802
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210
โทรศัพท์044-973-557-8
โทรสาร044-973-557-8
เว็บไซต์www.nongkradcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลหนองกราด เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ[แก้]

บ้านหนองกราด ตามคำบอกเล่าของบุคคลที่มีคุณวุฒิ ในบริเวณที่ตั้งบ้านหนองกราดคนทั่วไปเรียกว่า “ด่านกราด” เป็นที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ป่าไม้ดงดิบน้อยใหญ่ ตลอดจนสัตว์ป่านานาชนิดพรานป่ามักนิยมล่าสัตว์และ ในบริเวณแห่งนี้มีแอ่งน้ำขนาดกลางมีต้นกราดน้อยใหญ่ขึ้นอยู่โดยรอบอย่างมากมาย ตรงแอ่งนี้พรานป่าเรียกว่า “หนองกราด” บริเวณใกล้แอ่งน้ำก็มีสัตว์ผ่านแวะกินน้ำ พรานป่าจึงเรียกว่า “ทางด่วน” และทางที่สัตว์ผ่านเมื่อก่อนนั้น ปัจจุบันก็คือ “ถนนกำลังเอก” หรือถนนเทศบาลสาย 9

การปกครองหมู่บ้าน ครั้งแรกมีบุคคลจำนวนไม่มาก มาจากหมู่บ้านต่าง ๆ แต่ก็มาจากท้องถิ่นเดียวกัน ได้มารวมกันตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ณ ที่แห่งนี้ ประชาชนไม่มากปัญหาด้านการปกครองจะมีบ้างแต่ก็ไม่มาก เพราะทุกคนเชื่อฟังเคารพนับถือซึ่งกันและกันและให้ความเคารพเชื่อฟังนายท้วมเป็นอย่างมาก ทางราชการจึงแต่งตั้งให้ นายท้วม บุญมี เป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้านดูแลความทุกข์ของประชาชน เริ่มยกหมู่บ้านหนองกราดจากหนึ่งหมู่เป็นสองหมู่บ้าน จนที่สุดแยกการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน จึงเป็นเหตุให้บ้านหนองกราดได้รับการพัฒนามีความเจริญขึ้นตามลำดับ

กำหนดเป็นเขตสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2535 กระทรวงมหาดไทยพิจารณา เห็นว่าท้องถิ่นบางส่วนของตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีสภาพอันสมควร ยกฐานะเป็นสุขาภิบาลได้ เพื่อประโยชน์ในการทนุ บำรุง ท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 จึงให้ยกฐานะท้องถิ่นบางส่วนของตำบลหนองกราด จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลหนองกราด กำหนดพื้นที่ประมาณ 8.24 ตารางกิโลเมตร เทศบาลตำบลหนองกราด สุขาภิบาลหนองกราดได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นผลให้สุขาภิบาลทั่วประเทศจำนวน 981 แห่ง เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลหนองกราดทั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน[1]

ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขต/ และเขตการปกครอง[แก้]

เทศบาลตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากอำเภอด่านขุนทด 20 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ตามหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ประมาณ 250 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ฟากตะวันตก ระยะ 1,000 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนกำลังเอก บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ไปทางเหนือ ระยะ 2,000 เมตร

จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ฟากตะวันออก ระยะ 1,000 เมตร

ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ฟากตะวันตก ระยะ 1,000 เมตร ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่3 ซึ่งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแหน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) บรรจบกับถนนกำลังเอก ตามแนวถนนกำลังเอก ไปทางทิศตะวันออก ระยะ 1,600 เมตร

จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านถนน ไปบ้านหนองแหนถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ฟากตะวันออก ระยะ 1,000 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนกำลังเอก บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ไปทางทิศตจะวันออกเฉียงใต้ ระยะ 2,000 เมตร

ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่3 ซึ่งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแหน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) บรรจบกับถนนกำลังเอก ตามแนวถนนกำลังเอก ไปทางทิศตะวันออก ระยะ 1,600 เมตร

จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านถนน ไปบ้านหนองแหนถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ฟากตะวันออก ระยะ 1,000 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนกำลังเอก บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ไปทางทิศตจะวันออกเฉียงใต้ ระยะ 2,000 เมตร

ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2217 แยกทางหลวงหมายเลข 201 (ด่านขุนทด) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 205 (คำปิง) ระยะ 1,000 เมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านหนองหัน บรรจบกับหลักเขตที่ 1

เนื้อที่[แก้]

เทศบาลตำบลหนองกราด มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 8.24 ตารางกิโลเมตร หรือ เท่ากับ 5,150 ไร่ มีอาณาเขตติดต่ออำเภอต่าง ๆ [2]

สถาบัน/องค์กร[แก้]

การศึกษา
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
การศาสนา

มีวัด จำนวน 1 แห่ง

การสาธารณสุข
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข
  • จำนวน 1 แห่ง
  • คลีนิคเอกชน 3 แห่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.
  2. "ข้อมูลทั่ไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.