เทศบาลตำบลพนม

พิกัด: 8°51′31.0″N 98°48′41.6″E / 8.858611°N 98.811556°E / 8.858611; 98.811556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลพนม
ที่ว่าการอำเภอพนม
ที่ว่าการอำเภอพนม
ทต.พนมตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทต.พนม
ทต.พนม
พิกัด: 8°51′31.0″N 98°48′41.6″E / 8.858611°N 98.811556°E / 8.858611; 98.811556
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพนม
จัดตั้ง • 15 ตุลาคม 2499 (สุขาภิบาลพนม)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.พนม)
พื้นที่
 • ทั้งหมด74.88 ตร.กม. (28.91 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,918 คน
 • ความหนาแน่น65.67 คน/ตร.กม. (170.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05841001
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 89 หมู่ที่ 1 ถนนสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84250
เว็บไซต์www.phanommuni.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พนม เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังกาญจน์ทั้งตำบล และพื้นที่หมู่ 1–3 และหมู่ 13 ของตำบลพนม ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลพนม ตั้งอยู่บริเวณคลองบางท่อนบรรจบกับคลองสก ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฏร์ธานี–ตะกั่วป่า) ลงไปทางใต้ประมาณ 4.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2.0 ตารางกิโลเมตร ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513–2514 ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอพนมมาอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 401 หลังจากนั้นสถานที่ราชการ ร้านค้า ได้ย้ายและก่อตั้งขึ้นในบริเวณรอบที่ว่าการอำเภอจนก่อให้เกิดศูนย์กลางใหม่ขึ้นบริเวณนั้น ดังนั้นคณะกรรมการสุขาภิบาลจึงได้ขอขยายเขตสุขาภิบาลออกมาครอบคลุมที่ว่าการอำเภอ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตสุขาภิบาลให้มีเนื้อที่ 20.29 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ในเขตปกครองได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 13 ตำบลพนม มีสำนักงานที่ทำการอยู่บนที่ว่าการอำเภอพนม[3]

สุขาภิบาลพนมได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[4] มีสำนักงานอยู่บนที่ว่าการอำเภอ ทางผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าเทศบาลน่าจะมีสำนักงานเพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการบริหารงานบวกกับมีพนักงานเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 จึงก่อสร้างสำนักงานขึ้นริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 71 ของพื้นที่หมู่ที่ 1 และได้ย้ายมามาอยู่สำนักงานใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2547

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้เขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังกาญจน์ที่มีประชากรเพียง 1,787 คน และ 421 ครัวเรือน[5] ต้องควบรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลพนมในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547[6] เนื่องจากมีประชากรและรายได้ไม่เพียงพอต่อการเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยการควบรวมนี้ทำให้เทศบาลตำบลพนม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลพังกาญจน์ทั้งหมด และมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 54.59 ตารางกิโลเมตร รวมแล้วเป็นพื้นที่ในเขตปกครองทั้งหมดของเทศบาลตำบลพนมประมาณ 74.88 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 46,800.1 ไร่

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพนม กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 91-92. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (88 ง): 3146–3148. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547