เทศบาลตำบลบางเสาธง

พิกัด: 13°34′51.8″N 100°47′44.4″E / 13.581056°N 100.795667°E / 13.581056; 100.795667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลบางเสาธง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลบางเสาธง
ตรา
ทต.บางเสาธงตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ
ทต.บางเสาธง
ทต.บางเสาธง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบางเสาธง
พิกัด: 13°34′51.8″N 100°47′44.4″E / 13.581056°N 100.795667°E / 13.581056; 100.795667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอบางเสาธง
จัดตั้ง • 20 พฤศจิกายน 2528 (สุขาภิบาลบางเสาธง)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.บางเสาธง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอำนาจ แซ่ลี้
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.6 ตร.กม. (3.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด21,367 คน
 • ความหนาแน่น2,225.73 คน/ตร.กม. (5,764.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05110601
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 213/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570
เว็บไซต์www.bangsaothong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลบางเสาธง เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1, 3, 15, 16 และ 17 ตำบลบางเสาธง และบางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติ[แก้]

กระทรวงมหาดไทยมีประกาศลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 จัดตั้งชุมชนบางส่วนของตำบลบางเสาธงและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางพลี ขึ้นเป็น สุขาภิบาลบางเสาธง เนื่องจากประชากรและขนาดของชุมชนเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่บางพลีของการเคหะแห่งชาติซึ่งได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นที่มีวัตถุประสงค์ให้สร้างเมืองใหม่ในเขตปริมณฑลเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และแหล่งพาณิชยกรรม และเพื่อลดจำนวนการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าไปในกรุงเทพมหานคร[2]

พ.ศ. 2538 ได้มีการแบ่งเขตการปกครองโดยจัดตั้งกิ่งอำเภอบางเสาธงขึ้นในอำเภอบางพลี สุขาภิบาลบางเสาธงจึงเปลี่ยนไปอยู่ในเขตกิ่งอำเภอบางเสาธงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น จึงได้ตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลในปี พ.ศ. 2542 จึงมีผลให้สุขาภิบาลบางเสาธงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบางเสาธง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542

อาณาเขต[แก้]

ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ริมถนนเทพรัตนฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนเข้าวัดมงคลนิมิตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามถนนเทพรัตน ระยะ 100 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเลียบถนนเทพรัตนฟากใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเทพรัตนฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางคลองกระเทียม ไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนเทพรัตน ระยะ 250 เมตร

ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงฝั่งใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางสะพานข้ามคลองสำโรงไปทางทิศตะวันออกตามแนวริมฝั่งคลองสำโรงฝั่งใต้ระยะ 100 เมตร จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบคลองสำโรงฝั่งใต้ ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงฝั่งตะวันตก ตรงจุดที่คลองสำโรงฝั่งตะวันตกบรรจบคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบริมคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมลำรางสาธารณประโยชน์ (ไม่ปรากฏชื่อ) ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่ลำรางสาธารณประโยชน์บรรจบคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก

ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่คลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออกบรรจบกับลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นเลียบริมคลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่บรรจบคลองสกัด 100 ฝั่งเหนือ

ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบริมคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสกัด 75 ฝั่งใต้ ตรงจุดคลองสกัด 75 ฝั่งใต้บรรจบกับคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบริมคลองสกัด 75 ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่คลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออกบรรจบคลองสกัด 75 ตามแนวเส้นตรงฝั่งใต้ จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นเลียบริมคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงคอสะพานข้ามคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ริมถนนเทพารักษ์ฟากใต้ จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นเลียบริมถนนเทพารักษ์ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเทพารักษ์ฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากถนนเข้าวัดมงคลนิมิตรไปทางทิศตะวันตกตามถนนเทพารักษ์ระยะ 100 เมตร และจากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านคลองสำโรง จนบรรจบหลักเขตที่ 1

ชุมชน[แก้]

เทศบาลตำบลบางเสาธงมีชุมชนทั้งหมด 17 แห่ง มีรายชื่อดังนี้

  1. ชุมชน 201
  2. ชุมชน 202
  3. ชุมชน 203
  4. ชุมชน 204
  5. ชุมชน 40 ตารางวา ริมคลอง
  6. ชุมชน 40 ตารางวา ถนนสายบี
  7. ชุมชน 50 ตารางวา ริมคลอง
  8. ชุมชน 50 ตารางวา ถนนสายบี
  9. ชุมชนโครงการ 2
  10. ชุมชนโครงการ 3/1
  11. ชุมชนโครงการ 3/2
  12. ชุมชนโครงการ 3/3
  13. ชุมชนคลองสำโรง
  14. ชุมชนวัดมงคลนิมิตร
  15. ชุมชนโครงการเพส 4/1
  16. ชุมชนโครงการเพส 4/2
  17. ชุมชนโครงการเพส 4/3

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2565 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางเสาธง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการเล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๒๐๐ ง ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ หน้า ๖๔๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]