ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย)
ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย
ชื่อเกิดเทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย
รู้จักในชื่ออ้วน คาราบาว
เกิด6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 (50 ปี)
ไทย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, เพื่อชีวิต
อาชีพนักดนตรี, ยูทูบเบอร์
เครื่องดนตรีกลองชุด, เพอร์คัชชัน, กีตาร์, ขลุ่ย, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ด
ช่วงปีพ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อ้วน คาราบาว เป็น มือกลอง ของวง คาราบาว และยังเป็นสมาชิกคนล่าสุดของวง เดิมมีชื่อว่า เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย มีชื่อเล่นว่า อ้วน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

อ้วนมีความผูกพันกับคาราบาวมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อน้าของอ้วนเปิดเพลงเพื่อชีวิต รวมทั้งเพลงของคาราบาวให้ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เฉพาะคาราบาวน้าเปิดเพลงในอัลบั้มชุดที่ 4 ของวงคาราบาว คือ ท.ทหารอดทน

เริ่มต้นการเล่นดนตรีจากการเป็นนักดนตรีในวงดุริยางค์ เมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นบ้านเกิดของอ้วนเอง

อ้วนเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพ ด้วยการเป็นแบ๊คอัพให้กับนักร้องในบริษัทแกรมมี่หลายคน เช่น เสาวลักษณ์ ลีละบุตร, สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์, ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว หรือ หนู มิเตอร์ ในชื่อวง Power

มีโอกาสเข้าร่วมงานกับคาราบาวครั้งแรก จากการชักชวนของลือชัย งามสม ในการบันทึกเสียงเพลงประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ โดยอ้วนเป็นมือกลอง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมจากบรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำอีกด้วย

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อชูชาติ หนูด้วง มือกลองของวงป่วยเป็นโรคปลายเส้นประสาทอักเสบ ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตรงกับช่วงเวลาที่คาราบาวกำลังจะทำอัลบั้มพิเศษชุด คาราบาว อินเตอร์ อ้วนจึงมาทำหน้าที่มือกลองแทน และได้รับการตอบรับเป็นสมาชิกจากยืนยง โอภากุล หัวหน้าวง เมื่อได้หยิบขลุ่ยขึ้นมาเป่าขณะเล่นคอนเสิร์ตที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสามารถ อ้วนจึงกลายมาเป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัว และถือเป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุด

ในคอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว เรื่องราวของคน ดนตรี และเขาควาย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 นั้น อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี อดีตสมาชิกซึ่งปกติจะเป็นผู้เป่าขลุ่ยและแซกโซโฟนเกิดติดธุระสำคัญที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่อาจมาร่วมแสดงได้ อ้วนจึงรับหน้าที่นี้แทน โดยมีเวลาฝึกแซกโซโฟนก่อนคอนเสิร์ตจะเริ่มเพียง 3 วันเท่านั้น

ปัจจุบัน อ้วน รับหน้าที่ทั้งเล่นกลอง, คีย์บอร์ด, ขลุ่ย, แซกโซโฟน ตลอดจนร้องประสานด้วย รวมทั้งร้องนำในเพลง สุรชัย 3 ช่า โดยเสมือนตัวแทนของ สุรชัย จันทิมาธร(หงา คาราวาน) โดยมีนักดนตรีในดวงใจ คือ อากิระ จิมโบ มือกลองแห่งวง Casiopea วงฟิวชั่นแจ๊สของประเทศญี่ปุ่น[1][2]

ผลงานร่วมกับคาราบาว[แก้]

ผลงานพิธีกร[แก้]

ออนไลน์

  • พ.ศ. 2564 : ล้อมวงเล่า EP.1 ทางช่อง YouTuber:Carabao Official

อ้างอิง[แก้]

  1. บทสัมภาษณ์จาก หนังสือ ตามรอยควาย : บทบันทึกการเดินทาง 25 ปี โดย ดร.วรัตต์ อินทสระ สำนักพิมพ์โมโนโพเอท พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ISBN 9740951186
  2. "ประวัติจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-21.