เทคโนโลยีนิวเคลียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องตรวจจับควันที่ใช้ตามบ้านเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่คุ้นเคยมากที่สุดสำหรับบางคน

เทคโนโลยีนิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear technology) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาของนิวเคลียสของอะตอม ท่ามกลางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่โดดเด่น การนำไปประยุกต์ใช้จะได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, เวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อการรักษาทางการแพทย์และอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ในสงคราม มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายทั้งในด้านการถนอมอาหาร, การเกษตร และการอุตสาหกรรม ประโยขน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีอยู่อย่างหลากหลายแต่โทษของมันก็มีมากเช่นกัน

ประวัติความเป็นมาและภูมิหลังทางวิทยาศาสตร์[แก้]

การค้นพบ[แก้]

บทความหลัก: ฟิสิกส์นิวเคลียร์

ปรากฏการณ์ธรรมชาติส่วนใหญ่ที่พบบนโลกมีส่วนเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงและแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น, ไม่ใช่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์. ทั้งนี้เป็นเพราะนิวเคลียสของอะตอมโดยทั่วไปจะอยู่ห่างจากกันเพราะพวกมันมีประจุไฟฟ้าบวก ดังนั้นมันจึงผลักกันและกัน.

ในปี 1896 นาย อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล ในขณะที่ทำการทดสอบการเรืองแสงอย่างช้า (อังกฤษ: phosphorescence)[1] ในเกลือยูเรเนียม เขาก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์ใหม่ซึ่งเรียกมันว่ากัมมันตภาพรังสี[2] นายปิแอร์ กูรีและนางมารี กูรีเริ่มทดสอบปรากฏการณ์นี้ ในกระบวนการนี้ พวกเขาแยกองค์ประกอบเรเดียมซึ่งมีกัมมันตภาพรังสีสูง พวกเขาค้นพบว่าสารกัมมันตรังสีจะผลิตรังสีที่สามารถทะลุทะลวงได้อย่างรุนแรง, รังสีเหล่านี้มีสามประเภทที่แตกต่างกัน, ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อพวกมันว่ารังสีแอลฟา, บีตา, และแกมมาตามอักษรกรีก บางส่วนของชนิดของรังสีเหล่านี้จะสามารถเจาะผ่านสารธรรมดาได้ และทุกชนิดของพวกมันอาจเป็นอันตรายถ้าสัมผัสในปริมาณมาก ทั้งหมดของนักวิจัยในช่วงต้นต่างก็ถูกเผาไหม้จากรังสีเหล่านั้นทั้งนั้น มันรุนแรงมากเหมือนถูกแดดเผา แต่พวกเขาก็คิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย

ปรากฏการณ์ใหม่ของกัมมันตภาพรังสีถูกนำมาใช้โดยผู้ผลิตของยาต้มตุ๋น (เหมือนอย่างที่มีการค้นพบไฟฟ้าและแม่เหล็กก่อนหน้านี้) และสิทธิบัตรยาและการรักษาจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีก็ถูกผลักดันให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีก

ค่อยๆตระหนักว่ารังสีที่ผลิตโดยการสลายกัมมันตรังสีเป็นรังสีที่เกิดจากการแตกตัวไอออน (อังกฤษ: ionizing radiation), และค่อยๆตระหนักว่าแม้ปริมาณจะมีขนาดเล็กเกินไปที่จะเผาไหม้แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้อย่างรุนแรง นักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีได้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งซึ่งเป็นผลมาจากการสัมผัสกับรังสีของพวกเขา. ยาที่มีสิทธิบัตรกัมมันตรังสีส่วนใหญ่เริ่มหายไป, แต่การประยุกต์ใช้งานอื่นๆของวัสดุกัมมันตรังสียังคงยืนกราน, เช่นการใช้เกลือเรเดียมในการผลิตหน้าปัดเรืองแสงในมิเตอร์เครื่องวัด.

เมื่ออะตอมเป็นที่เข้าใจกันมากขึ้น, ธรรมชาติของกัมมันตภาพรังสีก็ชัดเจนขึ้น. บางนิวเคลียสขนาดใหญ่ของอะตอมจะไม่เสถียร, จึงสลายตัว (ปลดปล่อยสารหรือพลังงาน) หลังจากการสุ่มตามช่วงเวลา. สามรูปแบบของรังสีที่ Becquerel และ Curies ค้นพบก็เข้าใจกันมากขึ้นอย่างเต็มที่ด้วย การสลายให้อนุภาคแอลฟาเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสปลดปล่อยอนุภาคแอลฟา ซึ่งมีสองโปรตอนและสองนิวตรอน เทียบเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียม การสลายให้อนุภาคบีตาเกิดขึ้นเมื่อมีการปลดปล่อยอนุภาคบีตา ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนพลังงานสูง การสลายให้อนุภาคแอลฟาจะปลดปล่อยรังสีแกมมา ซึ่ง แตกต่างจากรังสีแอลฟาและบีตา ไม่ได้เป็นสารแต่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงมาก และนั่นก็คือพลังงาน รังสีเหล่านี้เป็นอันตรายมากที่สุดและยากที่สุดในการสกัดกั้น ทั้งสามประเภทของรังสีจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในองค์ประกอบบางอย่าง

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าแหล่งของพลังงานที่สุดยอดบนพื้นดินมากที่สุดคือนิวเคลียร์โดยผ่านการฉายรังสีจากดวงอาทิตย์ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ของดวงดาว หรือโดยการสลายกัมมันตรังสีของยูเรเนียมภายในโลกซึ่งเป็นแหล่งที่มาหลักของพลังงานความร้อนใต้พิภพ

ฟิชชั่น[แก้]

บทความหลัก: ฟิชชั่น

ในการแผ่รังสีนิวเคลียร์ตามธรรมชาติ ผลพลอยได้มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับนิวเคลียสที่พวกมันก่อกำเนิดขึ้น นิวเคลียร์ฟิชชั่นเป็นกระบวนการของการแยกนิวเคลียสออกเป็นส่วนๆเกือบเท่าๆกันและปลดปล่อยพลังงานและนิวตรอนในระหว่างกระบวนการนั้น ถ้านิวตรอนเหล่านี้ถูกจับโดยนิวเคลียสอื่นที่ไม่เสถียร นิวเคลียสนั้นก็สามารถแตกตัวหรือฟืชชันได้เช่นกัน ซึ่งนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ค่าเฉลี่ยของจำนวนนิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาต่อนิวเคลียสที่ไปฟิชชั่นนิวเคลียสอื่นจะเรียกว่าค่า "k" ค่า k มากกว่า 1 หมายความว่าปฏิกิริยาฟิชชันจะปล่อยนิวตรอนมากกว่ามันดูดซับไว้และดังนั้นจึงจะเรียกว่าเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างยั่งยืนด้วยตัวเอง มวลของวัสดุฟิสไซล์ที่มีขนาดใหญ่พอ (และในคอนฟิคฯที่เหมาะสม) ที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างยั่งยืนด้วยตนเองเรียกว่ามวลวิกฤต (อังกฤษ: critical mass).

เมื่อนิวตรอนถูกจับโดยนิวเคลียสที่เหมาะสม ฟิชชันอาจเกิดขึ้นทันที หรือนิวเคลียสอาจจะยังคงยืนหยัดอยู่ในสภาพที่ไม่เสถียรในช่วงเวลาสั้นๆ หากมีการสลายตัวทันทีมากพอที่จะดำเนินการให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปเรื่อยๆ มวลจะถูกเรียกว่า วิกฤตฉับพลัน (อังกฤษ: prompt critical) และการปล่อยพลังงานจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ มักจะนำไปสู่การระเบิด

เมื่อมีการค้นพบก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ความเข้าใจนี้ทำให้หลายประเทศเริ่มต้นโครงการที่จะตรวจสอบความเป็นไปได้ของการสร้างระเบิดปรมาณู - อาวุธที่ใช้ปฏิกิริยาฟิชชันในการสร้างพลังงานมากเกินกว่าที่จะสร้างขึ้นด้วยวัตถุระเบิดแบบสารเคมี โครงการแมนฮัตตัน ดำเนินการโดยประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยความช่วยเหลือของสหราชอาณาจักรและแคนาดา ได้พัฒนาอาวุธที่ฟิชชันเป็นทวีคูณซึ่งถูกนำมาใช้กับญี่ปุ่นในปี 1945 ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในระหว่างโครงการ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูครั้งแรกได้รับการพัฒนาเช่นกัน แม้ว่าพวกมันจะเป็นหลักในการผลิตอาวุธในเบื้องแรกและไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ถ้ามวลจะวิกฤตได้ก็ต่อเมื่อนิวตรอนที่ถูกหน่วงความเร็วถูกป้อนเข้าไป ดังนั้นปฏิกิริยาก็สามารถควบคุมได้ เช่นโดยการใส่เข้าไปหรือการดึงออกมาโดยตัวดูดซับนิวตรอน (อังกฤษ: neutron absorber) นี่คือสิ่งที่ช่วยให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สามารถที่จะถูกสร้างได้ นิวตรอนเร็วไม่สามารถถูกจับโดยนิวเคลียสได้โดยง่าย พวกมันจะต้องถูกชะลอความเร็ว (ให้เป็นนิวตรอนช้า) โดยทั่วไปโดยการชนกับนิวเคลียสของตัวหน่วงนิวตรอน (อังกฤษ: neutron moderator) ก่อนที่พวกมันจะถูกจับได้อย่างง่ายดาย ในวันนี้ ประเภทนี้ของการฟิชชันเป็นที่นิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้า

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น[แก้]

บทความหลัก: ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น

ถ้านิวเคลียสมากกว่าหนึ่งตัวถูกบังคับให้ชนกัน พวกมันก็สามารถทำให้เกิดนิวเคลียร์ฟิวชันได้ กระบวนการนี้อาจปล่อยหรือดูดซับพลังงาน ถ้านิวเคลียสที่เกิดจากการชนมีน้ำหนักเบากว่านิวเคลียสของเหล็ก พลังงานจะถูกปล่อยออกมาตามปกติ แต่เมื่อนิวเคลียสนั้นหนักกว่าของเหล็ก โดยทั่วไปพลังงานจะถูกดูดซับ กระบวนการของการฟิวชั่นนี้เกิดขึ้นในดวงดาว ซึ่งได้รับพลังงานของพวกมันจากไฮโดรเจนและฮีเลียม พวกมันก่อตัวขึ้นผ่าน'การสังเคราะนิวเคลียสแบบกลุ่มดาว' (อังกฤษ: stellar nucleosynthesis) และองค์ประกอบเบา (ลิเธียมจนถึงแคลเซียม) เช่นเดียวกับบางส่วนขององค์ประกอบหนัก (เกินกว่าเหล็กและนิกเกิลผ่านทาง S-process) ความอุดมสมบูรณ์ที่เหลืออยู่ขององค์ประกอบหนัก จากนิกเกิลจนถึงยูเรเนียมและไกลกว่านั้น เป็นเพราะกระบวนการการสังเคราะห์นิวเคลียสแบบซูเปอร์โนวา (อังกฤษ: supernova nucleosynthesis) หรือที่เรียกว่า R-process.

แน่นอน กระบวนการทางธรรมชาติเหล่านี้ของดาราศาสตร์ไม่ได้เป็นตัวอย่างของนิวเคลียร์ "เทคโนโลยี" เพราะแรงผลักที่แข็งแกร่งมากของนิวเคลียส ฟิวชั่นจึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม ระเบิดไฮโดรเจนได้รับอำนาจการทำลายล้างของพวกมันอย่างมากจากฟิวชั่น แต่พลังงานของพวกมันไม่สามารถควบคุมได้ ฟิวชั่นจะสามารถควบคุมได้ในเครื่องเร่งอนุภาค (อังกฤษ: particle accelerator); นี่คือวิธีที่หลายองค์ประกอบสังเคราะห์ (ในทางเคมี, มันคือสารประกอบที่ไม่ปรากฏตามธรรมชาติ, มันถูกสร้างขึ้นโดยการประดิษฐ์เท่านั้น นับถึงปัจจุบัน มีสารดังกล่าวอยู่ 20 ตัวได้ถูกสร้างขึ้น พวกที่มีเลขอะตอม 99–118 ทุกตัวไม่เสถียร มันสลายตัวด้วยครึ่งชีวิตระหว่างหนึ่งปีถึงไม่กี่มิลลิวินาที) ได้ถูกผลิตขึ้น Fusor ยังสามารถผลิตฟิวชั่นที่ถูกควบคุมและเป็นแหล่งนิวตรอนที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ทั้งสองเหล่านี้จะทำงานแบบการสูญเสียพลังงานสุทธิ พลังงานฟิวชั่นที่ถูกควบคุมและทำงานได้พิสูจน์แล้วว่าเข้าใจยาก แม้จะมีการหลอกลวงเป็นครั้งคราว ความยุ่งยากทางเทคนิคและทางทฤษฎีได้ขัดขวางการพัฒนาของเทคโนโลยีฟิวชั่นพลเรือนที่กำลังทำงานอยู่ แม้ว่าการวิจัยยังดำเนินต่อไปในวันนี้ทั่วโลก

นิวเคลียร์ฟิวชันถูกไล่ล่าหาความจริงในตอนต้นในขั้นตอนทางทฤษฎีเท่านั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ในโครงการแมนฮัตตัน (นำโดยเอ็ดเวิร์ด Teller) ตรวจสอบว่ามันเพื่อการสร้างระเบิด โครงการได้ละทิ้งฟิวชั่นหลังจากที่มีการสรุปว่ามันต้องการปฏิกิริยาฟิชชันเพื่อจุดระเบิด มันต้องใช้เวลาจนถึงปี 1952 สำหรับระเบิดไฮโดรเจนเต็มรูปแบบลูกแรกที่จะถูกจุดชนวน, ที่เรียกอย่างนั้นเพราะว่ามันใช้ปฏิกิริยาระหว่าง ดิวเทอเรียม และ ทริเทียม ปฏิกิริยาฟิวชั่นอื่นๆมีพลังมากมายต่อหน่วยมวลของเชื้อเพลิงมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน แต่การเริ่มต้นปฏิกิริยาลูกโซ่ของฟิวชั่นเป็นเรื่องยากกว่ามาก.

อาวุธนิวเคลียร์[แก้]

บทความหลัก: อาวุธนิวเคลียร์

อาวุธนิวเคลียร์เป็นอุปกรณ์ที่ระเบิดได้ที่ได้รับแรงทำลายล้างจากปฏิกิริยานิวเคลียร์, ฟิชชันหรือรวมกันของฟิชชันและฟิวชั่น. ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานในปริมาณมหาศาลจากปริมาณที่ค่อนข้างเล็กของสาร. แม้กระทั่งอุปกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กก็สามารถทำลายล้างหนึ่งเมืองได้โดยการระเบิด, ไฟไหม้และการแผ่รังสี. อาวุธนิวเคลียร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง (อังกฤษ: weapons of mass destruction) และการใช้งานและการควบคุมพวกมันได้เป็นลักษณะสำคัญของนโยบายต่างประเทศนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกของพวกมัน.

การออกแบบของอาวุธนิวเคลียร์มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าที่มันน่าจะเป็น. อาวุธดังกล่าวจะต้องมีวัสดุฟิสไซล์ใต้วิกฤต (อังกฤษ: subcritical) หนึ่งสารหรือมากกว่าที่เสถียรพรัอมในการนำไปใช้, แล้วทำให้เกิดการวิกฤต (สร้าง critical mass) สำหรับการจุดระเบิด. นอกจากนี้ มันยังคงค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนั้นได้กินส่วนที่มีนัยสำคัญของเชื้อเพลิงก่อนที่อุปกรณ์จะบินออกไป. การจัดซื้อจัดจ้างของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยังเป็นเรื่องยากมากกว่าที่มันน่าจะเป็น, เนื่องจากไม่มีสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะไม่เสถียรพอที่จะทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้.

หนึ่งไอโซโทปของยูเรเนียม, ชื่อว่ายูเรเนียม-235, เกิดขึ้นตามธรรมชาติและไม่เสถียรเพียงพอ, แต่มันก็พบเสมอถูกผสมกับไอโซโทปที่มีเสถียรภาพมากขึ้นชื่อว่ายูเรเนียม-238. สารตัวหลังมีมากกว่า 99% ของน้ำหนักของยูเรเนียมตามธรรมชาติ. ดังนั้นบางวิธีการของการแยกไอโซโทปที่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสามนิวตรอนจะต้องดำเนินการเพื่อเสริมสมรรถนะ (แยก) ยูเรเนียม-235.

อีกทางเลือกหนึ่ง, ธาตุพลูโตเนียมมีไอโซโทปหนึ่งที่ไม่เสถียรพอสำหรับกระบวนการนี้จะใช้งานได้. พลูโตเนียมไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ, ดังนั้นจึงต้องมีการผลิตในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์.

อย่างสุดขั้วที่สุด, โครงการแมนฮัตตันได้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้. พวกเขาจุดระเบิดอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในการทดสอบที่มีชื่อรหัสว่า "ทรินิตี้", ใกล้ Alamogordo, รัฐนิวเม็กซิโก, เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945. การทดสอบได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการจุดระเบิดของระเบิดจะทำงาน, ซึ่งมันก็ทำงาน. ระเบิดยูเรเนียม, "Little Boy", ถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945, ตามด้วย "Fat Man" ที่ทำด้วยพลูโตเนียมในอีกสามวันต่อมาที่เมืองนางาซากิ. ในการปลุกให้ตื่นของการทำลายล้างและการบาดเจ็บล้มตายเป็นประวัติการณ์จากอาวุธเดียว, รัฐบาลญี่ปุ่นในไม่ช้าก็ยอมจำนน, เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง.

ตั้งแต่การระเบิดที่สองเมืองนั้น, ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ได้ถูกนำไปใช้อย่างก้าวร้าว. อย่างไรก็ตาม, พวกมันกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้านอาวุธเพื่อพัฒนาระเบิดที่ทำลายล้างได้มากขึ้นเพื่อยับยั้งนิวเคลียร์. เพียงสี่ปีต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 1949, สหภาพโซเวียตได้จุดระเบิดอาวุธฟิชชัน RDS-1 เป็นครั้งแรก. สหราชอาณาจักรทำตามเมื่อ 2 ตุลาคม 1952; ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1960; และประเทศจีน. ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้รอดชีวิตจากฮิโรชิมาและนางาซากิเสียชีวิต 2-5 ปีหลังจากนั้นเนื่องจากการสัมผัสรังสี[3][4]. อาวุธรังสี (อังกฤษ: radiological weapon) เป็นชนิดหนึ่งของอาวุธนิวเคลียร์ที่ออกแบบมาเพื่อแจกจ่ายวัสดุนิวเคลียร์ที่เป็นอันตรายในพื้นที่ของศัตรู. อาวุธดังกล่าวจะไม่ได้มีความสามารถในการระเบิดของฟิชชันหรือฟิวชั่น, แต่จะฆ่าคนจำนวนมากและปนเปื้อนพื้นที่ขนาดใหญ่. อาวุธรังสีไม่เคยถูกนำไปใช้. ในขณะที่มีการพิจารณาว่าไร้ประโยชน์โดยกองทัพธรรมดา, อาวุธดังกล่าวเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายนิวเคลียร์.

มีการทดสอบนิวเคลียร์กว่า 2,000 ครั้งได้ถูกดำเนินการตั้งแต่ปี 1945. ในปี 1963, ประเทศที่มีนิวเคลียร์ทั้งหมดและหลายประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ได้ลงนาม "สนธิสัญญาห้ามและจำกัดการทดลอง", โดยให้คำมั่นว่าจะละเว้นจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศ, ใต้น้ำ, หรือในอวกาศรอบนอก. สนธิสัญญาอนุญาตการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดิน. ฝรั่งเศสยังคงทดสอบในบรรยากาศจนถึงปี 1974, ขณะที่จีนยังคงทำจนถึงปี 1980. การทดสอบใต้ดินครั้งสุดท้ายโดยสหรัฐอเมริกาทำในปี 1992, โดยสหภาพโซเวียตในปี 1990, โดยสหราชอาณาจักรในปี 1991, และทั้งสองประเทศฝรั่งเศสและจีนยังคงทดสอบจนกระทั่งปี 1996. หลังจากการลงนาม "สนธิสัญญาห้ามทดลองครอบคลุม" ในปี 1996 (ซึ่ง ณ ปี 2011 ไม่ได้มีผลบังคับใช้), ทั้งหมดของรัฐเหล่านี้ได้ให้คำมั่นที่จะยุติการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด. ผู้ไม่ลงนาม, อินเดียและปากีสถานได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งสุดท้ายในปี 1998.

อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธทำลายล้างที่รู้จักกันมากที่สุด - แม่แบบของอาวุธแห่งการทำลายล้าง. ตลอดช่วงสงครามเย็น, อำนาจของฝ่ายตรงข้ามมีคลังแสงนิวเคลียร์ขนาดใหญ่, เพียงพอที่จะฆ่าได้หลายร้อยล้านคน. รุ่นของคนที่เติบโตขึ้นมาภายใต้ร่มเงาของการทำลายล้างด้วยนิวเคลียร์, สร้างออกมาเป็นภาพในภาพยนตร์เช่น "Dr. Strangelove" และ "The Atomic Cafe".

อย่างไรก็ตาม, การปล่อยพลังงานอย่างมากในการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของแหล่งพลังงานใหม่.

การใช้ทางพลเรือน[แก้]

พลังงานนิวเคลียร์[แก้]

ข้อมูลเพิ่มเติม: พลังงานนิวเคลียร์และเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์เป็นประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แบบควบคุมของนิวเคลียร์ที่จะปล่อยพลังงานสำหรับการทำงานที่รวมถึงแรงขับดัน, ความร้อน, และการผลิตกระแสไฟฟ้า. พลังงานนิวเคลียร์ถูกผลิตโดยปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ที่ถูกควบคุมซึ่งจะสร้างความร้อนที่ใช้ในการต้มน้ำ, ผลิตไอน้ำ, และขับกังหันไอน้ำ. กังหันถูกใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและ/หรือในการทำงานทางกล.

ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีประมาณ 15.7% ของการผลิตไฟฟ้าของโลก (ในปี 2004) และถูกใช้ในการขับเคลื่อนเรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือตัดน้ำแข็งและเรือดำน้ำ (นับถึงปัจจุบันเศรษฐศาสตร์และความกลัวในบางท่าเรือมีการหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเรือขนส่ง)[5]. ทุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ปฏิกิริยาฟิชชัน. ยังไม่มีปฏิกิริยาฟิวชั่นที่มนุษย์สร้างขึ้นในการผลิตกระแสไฟฟ้า.

การใช้งานทางการแพทย์[แก้]

ข้อมูลเพิ่มเติม: เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear medicine)

การประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์จะถูกแบ่งออกเป็นการวินิจฉัยและการรักษาด้วยรังสี.

การถ่ายภาพ - การใช้งานที่ใหญ่ที่สุดของรังสีในทางการแพทย์จะอยู่ใน'การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์' (อังกฤษ: medical radiography) เพื่อสร้างภาพภายในของร่างกายมนุษย์โดยใช้รังสีเอกซ์. วิธีการนี้เป็นแหล่งที่มาของสิ่งแปลกปลอมที่ใหญ่ที่สุดของการได้รับรังสีสำหรับมนุษย์. ตัวสร้างภาพ x-ray ทางการแพทย์และทันตกรรมจะใช้โคบอลต์-60 หรือแหล่งสร้าง X-ray อื่นๆ. ยารังสี (อังกฤษ: radiopharmaceutical) จำนวนมากมีการนำมาใช้, บางครั้งติดอยู่กับโมเลกุลของสารอินทรีย์, เพื่อทำหน้าที่แกะรอยกัมมันตรังสีเป็นหรือสารทึบรังสี (สารดังกล่าวเรียกว่าสารสร้างความแตกต่างของภาพ (อังกฤษ: contrast agent)) ในร่างกายมนุษย์, เช่นในระหว่างการทำ CT scan. นิวคลีโอไทด์[6] ที่ปล่อยโพซิตรอน[7] ถูกใช้สำหรับการถ่ายภาพช่วงกว้างความละเอียดสูงในเวลาสั้นๆในการประยุกต์ใช้งานที่รู้จักกันว่าเป็นการสร้างภาพเอกซเรย์ด้วยการปล่อยโพซิตรอน (อังกฤษ: Positron emission tomography).

การฉายรังสียังถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคด้วยวิธี'การรักษาด้วยรังสี' (อังกฤษ: radiation therapy) อีกด้วย.

การประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม[แก้]

เนื่องจากบางรังสีสามารถเจาะเข้าไปในมวลสารได้, พวกมันจะถูกใช้สำหรับการวัดได้อย่างหลากหลาย. รังสีเอกซ์และรังสีแกมมาจะถูกใช้ในการถ่ายภาพรังสีอุตสาหกรรมเพื่อสร้างภาพภายในของผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง, เป็นวิธีการทดสอบและการตรวจสอบโดยไม่ทำลายผลิตภัณฑ์นั้น. ชิ้นส่วนที่จะทำการถ่ายภาพรังสีจะถูกวางอยู่ระหว่างแหล่งสร้างรังสีและฟิล์มถ่ายภาพในเทปคาสเซ็ท. หลังจากการสัมผัสกับรังสีในช่วงเวลาหนึ่ง, ฟิล์มจะถูกล้างและมันจะแสดงให้เห็นข้อบกพร่องใดๆภายในของวัสดุ.

มาตรวัด - มาตรวัดใช้กฎของการดูดซึมแบบ exponential ของรังสีแกมมา.

  • ตัวชี้วัดระดับ: แหล่งสร้างรังสีและตัวตรวจจับจะอยู่คนละฝั่งของภาชนะบรรจุ, เพื่อแสดงการปรากฏหรือไม่ปรากฏของวัสดุในเส้นทางรังสีแนวนอน. รังสีที่ใช้จะเป็นรังสี Beta หรือแกมมาขึ้นอยู่กับความหนาและความหนาแน่นของวัสดุที่จะวัด. วิธีการนี้จะใช้สำหรับภาชนะบรรจุของเหลวหรือสารเม็ดเล็กๆ.
  • เครื่องวัดความหนา: ถ้าวัสดุมีความหนาแน่นคงที่, สัญญาณที่วัดได้โดยตัวตรวจจับรังสีจะขึ้นอยู่กับความหนาของวัสดุ. นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการผลิตที่ทำอย่างต่อเนื่อง, เช่นกระดาษ, ยาง ฯลฯ

การควบคุมไฟฟ้าสถิต - เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างขึ้นของกระแสไฟฟ้าสถิตย์ในการผลิตกระดาษ, พลาสติก, สิ่งทอสังเคราะห์ ฯลฯ, แหล่งผลิตรังสีอัลฟารูปริบบิ้น 241Americium สามารถวางใกล้กับวัสดุที่ปลายของสายการผลิต. แหล่งดังกล่าวจะ ionizes อากาศเพื่อเคลื่อนย้ายประจุไฟฟ้าบนวัสดุออกไป.

เครื่องแกะรอยกัมมันตรังสี - เนื่องจากไอโซโทปกัมมันตรังสีจะประพฤติ, ทางเคมี, ส่วนใหญ่เหมือนองค์ประกอบที่ไม่แอ็คทีฟ, พฤฒิกรรมของสารเคมีบางอย่างสามารถถูกสืบหาได้ด้วย"การแกะรอย" กัมมันตภาพรังสี. ตัวอย่าง:

  • การเพิ่มตัวแกะรอยแกมมาให้กับก๊าซหรือของเหลวในระบบปิดทำให้มันเป็นไปได้ที่จะหารูในหลอด
  • การเพิ่มตัวแกะรอยให้กับพื้นผิวของส่วนประกอบของมอเตอร์ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะวัดการสึกหรอโดยการวัดการทำงานของน้ำมันหล่อลื่น.

การสำรวจหาน้ำมันและก๊าซ - การทำรายงานหลุมเจาะ (อังกฤษ: well logging) ด้วยนิวเคลียร์จะถูกใช้เพื่อช่วยทำนายศักยภาพในเชิงพาณิชย์ของหลุมเจาะใหม่หรือหลุมที่มีอยู่แล้ว. เทคโนโลยีที่ใช้จะเกี่ยวข้องกับการใช้นิวตรอนหรือแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาและตัวตรวจจับรังสีซึ่งจะหย่อนลงไปในหลุมเจาะเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของหินที่อยู่รอบเช่นความพรุนและการพิมพ์หิน[8].

การก่อสร้างถนน - เครื่องวัดความชื้น/ความหนาแน่นด้วยนิวเคลียร์ถูกใช้ในการกำหนดความหนาแน่นของดิน, ยางมะตอย, และคอนกรีต. โดยปกติจะใช้ ซีเซียม-137.

การประยุกต์ใช้ในงานเชิงพาณิชย์[แก้]

  • การเรืองแสงด้วยรังสี (อังกฤษ: radioluminescence)
  • การส่องสว่างด้วย tritium: tritium ถูกใช้กับ phosphor ในกล้องเล็งของปืนเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิงตอนกลางคืน. บางเครื่องหมายบนรันเวย์และป้ายบอกทางออกของอาคารจะใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้เพื่อให้ยังคงส่องสว่างในช่วงไฟดับ[9].
  • แบตเตอรีรังสีเบต้า (อังกฤษ: Betavoltaics).
  • ตัวตรวจจับควัน: ตัวตรวจจับควันแบบไอออไนซ์ประกอบด้วยมวลเล็กๆของสารกัมมันตรังสีอะเมริเซียม-241, ซึ่งเป็นแหล่งผลิตรังสีอัลฟา. ห้องที่มีการ Ionisation สองห้องจะอยู่ติดกัน. ทั้งสองห้องมีแหล่งผลิตขนาดเล็กของ 241Am ที่สร้างกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กที่คงที่. ห้องหนึ่งจะปิดและทำหน้าที่เป็นตัวเปรียบเทียบ, อีกห้องหนึ่งจะเปิดให้อากาศโดยรอบข้างในมีขั้วไฟฟ้าแบบตะแกรง. เมื่อควันเข้ามาในห้องเปิด, กระแสจะชะงักเนื่องจากอนุภาคของควันไปติดกับไอออนที่มีประจุและส่งมันกลับไปสู่สถานะเป็นกลางทางไฟฟ้า. ปรากฏการณ์นี้จะช่วยลดกระแสในห้องเปิด. เมื่อกระแสลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด, เสียงเตือนภัยก็จะดัง.

การประมวลอาหารและการเกษตร[แก้]

ในทางชีววิทยาและการเกษตร, การฉายรังสีถูกใช้เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในการผลิตหรือปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่. อีกการใช้หนึ่งคือการควบคุมแมลงโดยใช้เทคนิคการทำหมันแมลง, โดยที่แมลงตัวผู้จะถูกทำหมันโดยการฉายรังสีและจะถูกปล่อยตัวออกไปเพื่อให้พวกมันจะไม่มีลูกหลานอีก, เป็นการลดจำนวนประชากร.

ในการประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมและอาหาร, การฉายรังสีถูกใช้สำหรับการฆ่าเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์. ประโยชน์ก็คือวัตถุอาจถูกปิดผนึกอยู่ในถุงพลาสติกก่อนที่จะมีการฆ่าเชื้อ. การใช้งานที่เกิดขึ้นใหม่ในการผลิตอาหารคือการฆ่าเชื้ออาหารโดยใช้การฉายรังสีอาหาร (อังกฤษ: food irradiation).

โลโก้ Radura ใช้ในการแสดงอาหารได้รับการบำบัดด้วยรังสี

การฉายรังสีอาหาร[10] เป็นกระบวนการของการเปิดอาหารให้สัมผัสกับรังสีเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ไวรัส, หรือแมลงที่อาจจะมีอยู่ในอาหาร. แหล่งสร้างรังสีที่ใช้คือแหล่งสร้างรังสีแกมมา radioisotope, ตัวกำเนิด X-ray และตัวเร่งอิเล็กตรอน. การประยุกต์ใช้งานเพิ่มเติมรวมถึงการยับยั้งการงอก, การถ่วงเวลาการสุก, การเพิ่มอัตราผลผลิตของน้ำผลไม้, และการปรับปรุงความชุ่มชื้น. การฉายรังสีเป็นคำทั่วไปมากขึ้นของการสัมผัสโดยเจตนาของวัสดุกับรังสีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเทคนิค (ในบริบทนี้หมายถึง 'รังสีแบบไอโอไนเซชั่น'). โดยวิธีการเช่นนี้, มันยังถูกนำมาใช้ในรายการที่ไม่ใช่อาหารอีกด้วย, เช่นฮาร์ดแวร์ทางการแพทย์, พลาสติก, ท่อก๊าซ, ท่อสำหรับให้ความร้อนแต่ละชั้นของอาคาร, ฟอยล์หดสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร, ชิ้นส่วนรถยนต์, สายไฟและสายเคเบิล, ยาง และแม้กระทั่งอัญมณี. เมื่อเทียบกับปริมาณของอาหารที่ถูกฉายรังสี, ปริมาณการใช้ในแต่ละวันมีมาก, แต่ไม่ได้สังเกตโดยผู้บริโภค.

ผลกระทบของแท้ของการประมวลอาหารโดยการฉายรังสีจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดกับดีเอ็นเอ, ข้อมูลทางพันธุกรรมพื้นฐานสำหรับชีวิต. จุลินทรีย์จะไม่สามารถขยายพันธ์และดำเนินการกิจกรรมของเชื้อโรคและความร้ายแรงของพวกมันได้อีกต่อไป. การเน่าเสียที่ก่อให้เกิดจุลินทรีย์ก็ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมของพวกมันได้อีกต่อไป. แมลงไม่รอดหรือกลายเป็นหมดความสามารถในการให้กำเนิด. พืชไม่สามารถจะถูกทำให้สุกหรืออยู่ในกระบวนการชราได้ตามธรรมชาติ. ผลกระทบทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารเช่นเดียวกัน[10].

ปริมาณของพลังงานสำหรับการฉายรังสีอาหารที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับการประกอบอาหาร; แม้แต่ในปริมาณทั่วไปที่ 10 กิโลเกรย์สำหรับอาหารส่วนใหญ่, ซึ่งในทางกายภาพเทียบเท่ากับทำให้น้ำอุ่นขึ้นเพียงประมาณ 2.5 °C (4.5 °F).

การเป็นพิเศษของการประมวลอาหารโดยใช้รังสีที่เกิดจากการไอออไนเวชั่นคือความจริงที่ว่าความหนาแน่นของพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงอะตอมจะสูงมาก, มันสามารถแยกโมเลกุลและทำให้เกิดการไอออไนซ์ (เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อนี้) ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยความร้อนเท่านั้น. นี่คือเหตุผลสำหรับผลจากประโยชน์ที่ได้ใหม่, แต่ในเวลาเดียวกัน, ก็เป็นเหตุผลสำหรับความกังวลใหม่. การบำบัดอาหารแข็งโดยรังสีไอออไนซ์สามารถให้ผลคล้ายกับการทำพาสเจอร์ไรซ์แบบความร้อนของของเหลว, เช่นนม. อย่างไรก็ตาม, การใช้คำว่าพาสเจอร์ไรซ์เย็นเพื่ออธิบายอาหารที่ผ่านการฉายรังสีทำให้เป็นที่ถกเถียงกัน, เพราะพาสเจอร์ไรซ์และการฉายรังสีเป็นกระบวนการที่แตกต่างกันโดยพื้นฐานอยู่แล้ว, ถึงแม้ว่าสุดท้ายความตั้งใจในบางกรณีอาจจะคล้ายกัน.

ผู้กล่าวร้ายของการฉายรังสีอาหารมีความกังวลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพจากกัมมันตภาพรังสีที่ถูกสร้างขึ้นำ[ต้องการอ้างอิง]. นอกจากนี้, รายงานใหักับ 'สภาอเมริกันสำหรับวิทยาศาสตร์และสุขภาพ' ชื่อ "อาหารผ่านการฉายรังสี" กล่าวว่า: "ประเภทของแหล่งสร้างรังสีที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการบำบัดอาหารมีระดับพลังงานที่เจาะจงต่ำกว่าขนาดที่อาจทำให้องค์ประกอบใดๆในอาหารกลายเป็นสารกัมมันตรังสี. อาหารที่ผ่านการฉายรังสีไม่ได้ปนเปื้อนกัมมันตรังสีมากไปกว่ากระเป๋าเดินทางผ่านสแกนเนอร์ X-ray ที่สนามบินหรือฟันที่ถูก X-ray"[11].

การฉายรังสีอาหารในขณะนี้ได้รับอนุญาตจากกว่า 40 ประเทศและปริมาณการคาดว่าจะเกิน 500,000 ตัน (490,000 ตันยาว; 550,000 ตันสั้น) เป็นประจำทุกปีทั่วโลก[12][13][14].

การฉายรังสีอาหารโดยหลักการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ใช่นิวเคลียร์. มันขึ้นอยู่กับการใช้รังสีที่อาจจะเกิดขึ้นจากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนและการแปลงให้เป็น Bremsstrahlung (รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมา เมื่ออนุภาคที่มีประจุถูกเร่งให้เร็วขึ้น หรือถูกหน่วงให้ช้าลง รังสีเอกซ์จากเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปก็เป็นรังสีชนิดนี้) แต่มันอาจจะยังใช้รังสีแกมมาจากการสลายตัวของนิวเคลียร์อีกด้วย. มีอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ทำการประมวลโดยรังสีจากตัวเร่ง. การฉายรังสีอาหารเป็นเพียงการประยุกต์ใช้เฉพาะอย่าง (อังกฤษ: niche application) ชนิดหนึ่งเท่านั้นเมื่อเทียบกับการทำไปใช้กับอุปกรณ์การแพทย์, วัสดุพลาสติก, วัตถุดิบ, อัญมณี, สายเคเบิลและสายไฟอื่น ๆ

อุบัติเหตุ[แก้]

บทความหลัก: อุบัติเหตุจากนิวเคลียร์และการฉายรังสี, ความปลอดภัยนิวเคลียร์

อุบัติเหตุนิวเคลียร์, เพราะกองกำลังที่มีประสิทธิภาพมาเกี่ยวข้อง, มักจะมีอันตรายมาก. ในอดีต, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกเกี่ยวข้องกับการรับรังสีอย่างร้ายแรง. มารี กูรีเสียชีวิตจากโรคโลหิตจางซึ่งเป็นผลมาจากระดับสูงจากการสัมผัสรังสีของเธอ. นักวิทยาศาสตร์สองคน, ชาวอเมริกันและแคนาดาตามลำดับ, แฮร์รี่ Daghlian และหลุยส์ SlotIn, เสียชีวิตหลังจากการจัดการที่ผิดพลาดของมวลพลูโตเนียมเดียวกัน. ซึ่งแตกต่างจากอาวุธธรรมดา, แสงที่รุนแรง, ความร้อน, และแรงระเบิดไม่ได้เป็นเพียงส่วนประกอบอันตรายเท่านั้นของอาวุธนิวเคลียร์. ประมาณครึ่งหนึ่งของการตายที่ฮิโรชิมาและนางาซากิเสียชีวิต 2-5 ปีหลังจากนั้นเนื่องจากการสัมผัสกับรังสี.

อุบัติเหตุนิวเคลียร์กับพลเรือนและอุบัติเหตุรังสีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. ที่พบมากที่สุดคือการรั่วไหลของนิวเคลียร์ที่ทำให้คนงานสัมผัสกับวัสดุที่เป็นอันตราย. การหลอมละลายนิวเคลียร์ (อังกฤษ: nuclear meltdown) หมายถึงอันตรายที่รุนแรงมากขึ้นของการปล่อยวัสดุนิวเคลียร์ในสภาพแวดล้อมโดยรอบ. การ meltdowns ที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นที่เกาะทรีไมล์ในรัฐเพนซิลวาเนียและเชอร์โนบิลในยูเครนของโซเวียต. แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสามเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในประเทศญี่ปุ่น. เครื่องปฏิกรณ์ทางทหารที่ประสบการเกิดอุบัติเหตุที่คล้ายกันคือที่ Windscale ในสหราชอาณาจักรและ SL-1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา.

อุบัติเหตุทางทหารมักจะเกี่ยวข้องกับการสูญหายหรือการจุดระเบิดที่ไม่คาดคิดของอาวุธนิวเคลียร์. การทดสอบ Castle Bravo ในปี 1954 ผลิตผลลัพธ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่คาดไว้, ซึ่งปนเปื้อนหมู่เกาะใกล้เคียง, เรือประมงญี่ปุ่น (กับการเสียชีวิตไปหนึ่ง), และเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปลาที่ปนเปื้อนในญี่ปุ่น. ในปี 1950s ถึงปี 1970s, ระเบิดนิวเคลียร์หลายตัวได้หายไปจากเรือดำน้ำและเครื่องบิน, บางตัวไม่เคยได้รับการกู้คืน. ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ได้เห็นการลดลงของการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว.

อ้างอิง[แก้]

  1. การปล่อยแสงจากสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น เมื่อหยุดการให้พลังงาน สารก็ยังคงเปล่งแสงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับการวาวแสง เมื่อหยุดให้พลังงานสารก็จะหยุดเปล่งแสงทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
  2. Henri Becquerel
  3. "Frequently Asked Questions #1". Radiation Effects Research Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.
  4. The somatic effects of exposure to atomic radiation: The Japanese experience, 1947–1997
  5. "Nuclear-powered Ships". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-14. สืบค้นเมื่อ 2014-12-10.
  6. nucleotide (นิวคลีโอไทด์) เป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ประกอบด้วยเบสและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกับน้ำตาล เบสที่พบในดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอได้แก่ adenine (A) guanine (G) และ cytosine (C) ที่แตกต่างคือ thymine (T) พบเฉพาะในดีเอ็นเอ ส่วน uracil (U) พบเฉพาะในอาร์เอ็นเอ น้ำตาลที่พบในดีเอ็นเอเป็นดีออกซีไรโบสและน้ำตาลไรโบสพบในอาร์เอ็นเอ ส่วนหมู่ฟอสเฟตเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างนิวคลีโอไทด์โมเลกุลหนึ่งกับอีกโมเลกุลหนึ่งโดยเกิดพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ ทำให้สายดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอยาวขึ้น แหล่งข้อมูล สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. "โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ" ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 5-41. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
  7. อนุภาคมูลฐานที่มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอนแต่มีประจุเป็นบวก เรียกอีกอย่างว่า “แอนติอิเล็กตรอน” เกิดจาก แพร์โพรดักชัน หรือจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์บางชนิด เช่น โซเดียม-22 (ดู antimatter; electron และ pair production ประกอบ) [นิวเคลียร์]
  8. [1]
  9. "Tritium Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-21. สืบค้นเมื่อ 2014-12-11.
  10. 10.0 10.1 anon., Food Irradiation - A technique for preserving and improving the safety of food, WHO, Geneva, 1991
  11. "IRRADIATED FOODS Fifth Edition Revised and updated by Paisan Loaharanu May 2003 AMERICAN COUNCIL ON SCIENCE AND HEALTH" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
  12. "NUCLEUS - Food Irradiation Clearances". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-26. สืบค้นเมื่อ 2014-12-11.
  13. Food irradiation, Position of ADA เก็บถาวร 2016-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. J Am Diet Assoc. 2000;100:246-253. retrieved 2007-11-15.
  14. C.M. Deeley, M. Gao, R. Hunter, D.A.E. Ehlermann. The development of food irradiation in the Asia Pacific, the Americas and Europe เก็บถาวร 2017-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; tutorial presented to the International Meeting on Radiation Processing. Kuala Lumpur. 2006. last visited 2007-11-16. [ลิงก์เสีย]