เต่านาหัวใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต่านาหัวใหญ่
เต่านาหัวใหญ่ (ตรงกลางสีน้ำเงิน) กับเต่านาชนิดอื่น ๆ
สถานะการอนุรักษ์
ยังไม่ประเมิน (IUCN 2.3)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
วงศ์: Geoemydidae
สกุล: Malayemys
สปีชีส์: M.  macrocephala
ชื่อทวินาม
Malayemys macrocephala
(Gray, 1859)[1][2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Geoclemmys macrocephala Gray, 1859
  • Clemmys macrocephala Strauch, 1862
  • Emys macrocephala Günther, 1864
  • Damonia macrocephala Gray, 1869
  • Geoclemys macrocephala Bourret, 1941
  • Malayemys macrocephala Brophy, 2004

เต่านาหัวใหญ่[3] หรือ เต่านามลายู[4] (อังกฤษ: Malayan snail-eating turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malayemys macrocephala) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกเต่า ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae)

มีลักษณะกระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวมีสีดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่จากจมูกผ่านนัยน์ตาตอนบนและจากปากผ่านนัยน์ตาตอนล่าง 2 ขีด มีลายขาวที่แก้มด้วย ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่น ผิวหนังทั่วไปและขามีสีเทาดำ ความยาวกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม

เต่านาหัวใหญ่ เป็นเต่าที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่นาข้าว, ท้องร่องสวน หรือแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ และพบได้ในประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา และมาเลเซีย

เป็นเต่าที่กินหอยฝาเดียวและหอยสองฝาเป็นอาหารหลัก โดยใช้ปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก จากนั้นจึงใช้เล็บฉีกเอาเนื้อหอยออกมากิน เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกับเต่านาอีสาน (M. subtrijuga) แต่ต่อมาได้มีการศึกษาใหม่ พบว่าแท้จริงแล้วแยกออกเป็น 2 ชนิด ในปี ค.ศ. 2004[4]

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิงภายนอก[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rhodin 2011, pp. 000.191
  2. 2.0 2.1 Fritz 2007, p. 227
  3. หน้า viii, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  4. 4.0 4.1 "การจำแนกชนิดเต่านา" (PDF). dnp.

บรรณานุกรม[แก้]