เต่าญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต่าญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
ชั้นย่อย: Anapsida
อันดับ: Testudines
วงศ์: Emydidae
สกุล: Trachemys
สปีชีส์: T.  scripta
สปีชีส์ย่อย: T.  s. elegans
Trinomial name
Trachemys scripta elegans
(Wied-Neuwied, 1839)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2]
  • Emys elegans Wied, 1839
  • Emys holbrookii Gray, 1844
  • Emys sanguinolenta Gray, 1856
  • Trachemys elegans Agassiz, 1857
  • Clemmys elegans Strauch, 1862
  • Trachemys holbrooki Gray, 1863 (ex errore)
  • Trachemys holbrookii Gray, 1869
  • Trachemys lineata Gray, 1873
  • Pseudemys elegans Cope, 1875
  • Chrysemys elegans Boulenger, 1889
  • Chrysemys scripta var. elegans Boulenger, 1889
  • Chrysemys palustris elegans Lindholm, 1929
  • Pseudemys troostii elegans Stejneger & Barbour, 1939
  • Pseudemys scripta elegans Cagle, 1944
  • Trachemys scripta elegans Iverson, 1985
  • Trachemys scripta elagans Fong, Parham & Fu, 2002 (ex errore)
  • Trachemys scripta elgans Fong, Parham & Fu, 2002 (ex errore)

เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (อังกฤษ: Red-eared slider; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachemys scripta elegans) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ จัดเป็นชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง (T. scripta)[3] มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอย, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก

เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น [4]

ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้กระทั่งลูกเป็ดขนาดเล็กที่กำลังว่ายน้ำอยู่[5] ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี

เต่าขนาดเล็กที่กระดองยังเป็นสีเขียว
ตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก ซึ่งมีราคาซื้อขายที่แพงมาก[6]

เต่าญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ด้วยเป็นที่รู้จักกันดีจากการที่ถูกอ้างอิงถึงในภาพยนตร์การ์ตูนชุด Teenage Mutant Ninja Turtles ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคทศวรรษที่ 80 และ90[5] ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย[7] รวมถึงยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในที่อื่น ๆ ด้วย เช่น กรุงลอนดอน ในประเทศอังกฤษ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tortoise & Freshwater Turtle Specialist Group. (1996). Trachemys scripta. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.1. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 17 August 2009.
  2. Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 207–208. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  3. Rhodin, Anders G.J.; Paul van Dijk, Peter; Inverson, John B.; Shaffer, H. Bradley (2010-12-14). "Turtles of the World 2010 Update: Annotated Checklist of Taxonomy, Synonymy, Distribution and Conservation Status" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-15. สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
  4. "เต่าแก้มแดง หรือ เต่าญี่ปุ่น Red-eared slider". กระปุกดอตคอม. 17 January 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 "ส่องไพร ป่ากลางลอนดอน". ช่องนาว. July 5, 2016. สืบค้นเมื่อ July 6, 2016.
  6. Albino (มัน เผือก มาก), โดย เวอร์ริเดียน, ชวิน ตันพิทยคุปต์ คอลัมน์ Aqua Knowledge หน้า 70-73. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 16: ตุลาคม 2011
  7. "ห้องสมุด : ศัพท์สิ่งแวดล้อม". มูลนิธิโลกสีเขียว. 24 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bowden, Rachel M. (Sep–Oct 2009). "A Modified Yolk Biopsy: Technique improves survivorship of turtle eggs". Physiological and Biochemical Zoology. Cal State East Bay Press. 82 (5): 611–615. doi:10.1086/596579. ISSN 1522-2152. PMID 19193061. S2CID 25913137. (online copy, p. 216, ที่ Google Books)
  • Ernst, Carl H.; Lovich, Jeffrey E. (2009). Turtles of the United States and Canada. Johns Hopkins University Press. pp. 444–470. ISBN 978-0-8018-9121-2. (online copy, p. 444, ที่ Google Books)
  • Harding, James H. (1997). Amphibians and Reptiles of the Great Lakes Region. University of Michigan Press. pp. 216–220. ISBN 0-472-06628-5. (online copy, p. 216, ที่ Google Books)
  • Jensen, John B.; Camp, Carlos D.; Gibbons, Whit (2008). Amphibians and Reptiles of Georgia. University of Georgia Press. pp. 500–502. ISBN 978-0-8203-3111-9. (online copy, p. 500, ที่ Google Books)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]