เด็กสาวอ่านจดหมายริมหน้าต่าง (เฟอร์เมร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กสาวอ่านจดหมายริมหน้าต่าง
ศิลปินโยฮันส์ เวร์เมร์
ปีค.ศ. 1657
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดน

เด็กสาวอ่านจดหมายริมหน้าต่าง (อังกฤษ: Girl reading a Letter at an Open Window) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยโยฮันส์ เวร์เมร์จิตรกรสมัยบาโรกชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในประเทศเยอรมนี

เวร์เมร์เขียนภาพ “เด็กสาวอ่านจดหมายริมหน้าต่าง” เสร็จในปี ค.ศ. 1657 ออกุสต์ที่ 3 อีเล็คเตอร์แห่งแซกโซนี (August III of Saxony) ซื้อภาพเขียนนี้ในปี ค.ศ. 1724 พร้อมกับภาพเขียนอื่นๆ ในปารีส แต่ขณะนั้นภาพเขียนได้รับการบ่งว่าเป็นงานเขียนของแรมบรังด์ ที่ต่อมาลดลงเหลือเพียง “ภาพที่เขียนแบบตระกูลการเขียนของแรมบรังด์” ในปี ค.ศ. 1783 ภาพก็ได้รับการบ่งว่าเป็นงานของ โกเวิร์ต ฟลิงก์ (Govaert Flinck) นาม “ฟาน เดอ เวร์เมร์จากเดลฟต์” เริ่มปรากฏเป็นครั้งแรกในแคตาลอกในปี ค.ศ. 1806 แต่ถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นฟลิงก์อีกในปี ค.ศ. 1817 ระหว่างปี ค.ศ. 1826 ถึงปี ค.ศ. 1860 ก็เปลี่ยนไปเป็นงานของเปียเตอร์ เดอ ฮูช (Pieter de Hooch) มาเมื่อปี ค.ศ. 1862 เท่านั้นจึงได้มาบ่งว่าเป็นงานของเวร์เมร์ในที่สุด หลักฐานที่กล่าวถึงบันทึกในเอกสารการเป็นเจ้าของภาษาดัทช์ที่อาจจะกล่าวถึงการขายของเปียเตอร์ ฟาน เดอร์ ลิพที่อัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1712, หมายเลข 22, “เด็กสาวอ่านหนังสือในห้อง” โดย ฟาน เดอ เวร์เมร์จากเดลฟต์ แต่บันทึกไม่ละเอียดพอที่จะแยกจากภาพ “สตรีใส่เสื้อสีน้ำเงินยืนอ่านจดหมาย” ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัมได้

การระบุภาพเขียนว่าเป็นงานเขียนของเวเมร์จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากดังกล่าวข้างต้น เพราะไม่มีภาพใดที่สามารถสืบกลับไปถึงห้องเขียนภาพของเวเมร์โดยตรง หรือจดหมายหรือเอกสารสัญญาจ้างใดๆ เช่นกัน การบ่งว่าเป็นงานของเวเมร์จึงเป็นหน้าที่ของนักวิจารณ์งานศิลปะเท่านั้น ซึ่งทำให้เห็นถึงสาเหตุของความความเห็นอันแตกต่างอันกันไปอย่างมากมาย

ในภาพเขียนนี้สตรีสาวเป็นศูนย์กลางขององค์ประกอบของภาพหันข้างไปทางหน้าต่างที่เปิดทางซ้ายของภาพ ด้านหน้าของภาพเป็นโต๊ะที่คลุมด้วยพรมเปอร์เชียผืนเดียวกับที่พบในภาพ “สตรีหลับ” และบนจานใบเดียวกันกลางโต๊ะเป็นผลไม้ บนบานกระจกสะท้อนร่างของสตรีสาวขณะที่ทางขวาเป็นม่านใหญ่สีเขียวที่เหมือนเป็นกรอบภาพ ร่างของสตรีอยู่บนผนังที่ว่างเปล่าที่สะท้อนแสงกลับมาสว่างเรืองบนตัวแบบ

ภาพนี้แสดงถึงคุณสมบัติด้านหนึ่งของงานเขียนของเวร์เมร์ในการแสดงความรู้สึกอันละเอียดอ่อนและความเป็นเอกลักษณ์ ความเด่นของภาพอยู่ที่ความนิ่งและความเด่นของเนื้อหาของภาพ, ความหมกมุ่นและความห่างไกลจากโลกภายนอกของตัวแบบ สตรีสาวในภาพสนใจเพียงสิ่งเดียวคือจดหมายที่จับไว้ในมือและตั้งอกตั้งใจอ่านเนื้อหาในจดหมายอย่างแน่วแน่

วิธีการเขียนมาจากส่วนหนึ่งของแรมบรังด์ เวเมร์ใช้ปลายแปรงที่หนาเล็กๆ แต้มเพื่อสร้างโครงร่างของภาพ และเน้นด้วย Impasto แทนโทนสีที่หนักกว่าเช่นเดียวกับช่างเขียนจากเลย์เด็น ภาพเขียนนี้เป็นภาพเขียนขนาดใหญ่ที่ทำให้เน้นความบอบบางของแบบในภาพจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว

มีบทความที่เขียนเกี่ยวกับเอ็ฟเฟ็คของความเป็นจริงของม่านซึ่งใช้กันมากในการเขียนของจิตรกรเนเธอร์แลนด์ตามแบบการเขียนของประเทศในยุโรปอื่นๆ แรมบรังด์, เกอร์ริต ดู และนิโคลาส แมร์ส (Nicolaes Maes) และจิตรกรภาพนิ่งและแม้แต่จิตรกรภูมิทัศน์ต่างก็ใช้ม่านเพื่อกระตุ้นให้ภาพเป็นนาฏกรรมมากขึ้น ฉากหลังสีอ่อนพบในภาพเขียนหลายภาพของคาเรล ฟาบริเชียส (Carel Fabritius) เช่นในภาพ “โกลด์ฟินช์” จากปี ค.ศ. 1654 ที่ Mauritshuis เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียง[1]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]