เดอะเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะเมีย
ภาพโปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่องเดอะเมีย
กำกับกิตติกร เลียวศิริกุล
อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร
เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์
ฝ่ายควบคุมงานสร้าง
ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล
จันทิมา เลียวศิริกุล
นักแสดงนำ
กำกับภาพปิติ จตุรภัทร์ลล
ตัดต่อกิตติกร เลียวศิริกุล
ดนตรีประกอบแสนแสบ
ผู้จัดจำหน่ายอาร์.เอส.ฟิล์ม
วันฉาย6 เมษายน พ.ศ. 2548
ประเทศไทย ประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ทำเงิน12 ล้านบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

เดอะเมีย (อังกฤษ: The Bullet Wives) เป็นภาพยนตร์ไทยโดยอาร์.เอส.ฟิล์ม เดอะเมียเป็นภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น กึ่งแฟนตาซี โดยมีโครงเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างองค์กร 2 องค์กร นั่นก็คือ กองบัญชาการศูนย์พิทักษ์ภรรยาหลวง กับพรรคภรรยาน้อย โดยภารกิจของฝ่ายแรกก็เพื่อต้องการปกป้องและรักษาความปลอดภัยจากภรรยาน้อย ในขณะที่อีกฝ่ายนั้นยุทธการกลายพันธุ์ คือ สังหารภรรยาหลวง เพื่อเปลี่ยนสถานภาพของตนเองจากภรรยาน้อยให้เป็นภรรยาหลวงอย่างถาวร กำหนดฉายวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548 และมีการจัดฉายรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 ณ โรงภาพยนตร์ เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัลลาดพร้าว [2][3]

ที่มาของงานสร้าง[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดจากแนวคิดที่ว่าต้องการสร้างภาพยนตร์ระหว่างภรรยาหลวงภรรยาน้อย ในรูปแบบของภาพยนตร์แอ็กชั่น แหวกแนวด้วยการให้บรรดาภรรยาสู้กันด้วยสมองและประลองกำลัง ไม่ใช่ตบตีกลางตลาดอย่างแต่ก่อน เติมสีสันให้มากขึ้นด้วยบทบู๊ล้างผลาญเข้ากับจังหวะแทงโก้ ทำให้เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แอ็กชั่นของสตรีไทยเรื่องแรก ที่มาพร้อมความสวยงามของท่วงท่า สรีระ และความเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่บ้านเรายังไม่เคยทำมาก่อน และถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีพระเอกอีกด้วย การนำ "สงครามภรรยา" ขึ้นจอภาพยนตร์หนนี้ จึงน่าสนใจตรงที่ว่า จะเรียกคนดูได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะผู้ชมเพศหญิง ที่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

เรื่องย่อ[แก้]

ปัจจุบัน ณ กองบัญชาการศูนย์พิทักษ์เมียหลวง หรือ FCWI (First Class Wife International) องค์การที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องและรักษาความปลอดภัยจากเมียน้อย แต่ฝ่ายเมียน้อยก็ไม่น้อยหน้า พวกเธอได้ก่อตั้งสมาคมลับ ในนามของ พรรคเมียน้อย หรือ EMWI (Economy Wife International) ขึ้นมาเช่นกัน ภารกิจเร่งด่วนคือสังหารเมียหลวง เพื่อเปลี่ยนสถานภาพจากเมียน้อยให้เป็นเมียหลวงอย่างถาวร ฝ่ายเมียหลวง จิตตรา สาวสวยสดใสที่ชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังตีน เพราะแต่งงานได้ปีเดียวสามีก็ไปมีเมียน้อย สิ่งเดียวที่เหลืออยู่คือ ความแค้นในตัว มายา เมียน้อยผู้เพียบพร้อมด้วยวัยสาว ความสวย การศึกษาและร่ำรวย มายา จึงเป็นคู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีกับ จิตตรา ที่สุด ณ ตรอกเมียน้อย ดินแดนแห่งการเสวยสุข แหล่งกบดานเร้นลับของพรรคเมียน้อย ที่นี่เต็มไปด้วยร้านทำผม ห้องเช่าสุดหรู ตรอกซอกซอยเหมาะเป็นทีและหลบหนีการไล่ล่าที่สุด พลพรรคเมียน้อยวัยใส เอวบาง ขาเรียวยาว มีอยู่มหาศาล พวกหล่อนทำให้ตรอกเมียน้อยเป็นปราการยิ่งใหญ่เกินกว่าใครจะหักลงได้ ช่วงเวลาแห่งการช่วงชิงความเป็นหนึ่งใกล้เข้ามา พรรคเมียน้อยเริ่มยุทธการ กลายพันธุ์ เปลี่ยนเมียน้อยให้เป็นเมียหลวงอย่างถาวร ภารกิจเร่งด่วน คือ สังหารฝ่ายเมียหลวง

จิตตราล่วงรู้ถึงภัยที่กำลังคุกคามเธอ แต่จิตตราก็ยังนิ่งสงบ ไม่เคลื่อนไหวใดๆ ทุกคนรู้ว่า สงครามนี้จวนเจียนจะระเบิดศึกแล้ว แสงแดด เมียหลวงและน้องสาวของจิตตรา สาวแสนดี อ่อนแอ เปราะบางเสียเหลือเกิน เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นเป้าให้เมียน้อยดอดเข้าตีท้ายครัว แต่แล้วฝ่ายเมียน้อยเอง กลับสืบพบความลับที่แม้แต่ตัวแสงแดดเองก็ไม่รู้ ความลับที่จะเป็นชนวนให้อภิมหาสงครามเปิดฉากขึ้น ความลับที่สั่นคลอนวงการเมียทั่วประเทศนี้คืออะไร? ตรอกเมียน้อยจะซ่อนตัว เสวยสุขได้ต่อไปได้หรือ? ภารกิจกลายพันธุ์ของเหล่าเมียน้อยบรรลุเป็นจริงได้หรือ? ทั้งหมดนี้เป็นกดระเบิดของศึกอันใหญ่หลวง เมื่อ เมียหลวง VS เมียน้อย อมตะวาจา เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร ยังใช้ได้เสมอ ภารกิจนี้ต้องสู้จนตัวตาย ไว้ลายเมียหลวง[4]

ทีมงาน[แก้]

เดอะเมีย กำกับภาพยนตร์โดย กิตติกร เลียวศิริกุล (Goal Club เกมล้มโต๊ะ, พรางชมพู กะเทยประจัญบาน, ปาฏิหาริย์โอม - สมหวัง, 18 - 80 เพื่อนซี้ ไม่มีซั้ว) กำกับภาพโดย ปิติ จตุรภัทร์ ออกแบบงานศิลป์โดย รัชต พันธพยัคฆ์ กำกับศิลป์โดย สรฤทธิ์ อนุฤทธิ์ ออกแบบงานสร้างโดย รัชต พันธุพยัคฆ์ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย วรธน กฤษณะกลิ่น ลำดับภาพโดย กิตติกร เลียวศิริกุล ออกแบบฉากต่อสู้โดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ดนตรีประกอบโดย แสนแสบ เพลงประกอบ ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า และ ฟลอร์เฟื่องฟ้า เพลงดังในอดีต ถูกมาเรียบเรียงดนตรีในสไตล์จังหวะแทงโก้ และขับร้องใหม่โดย ตู้ - ดิเรก อมาตยกุล [5]

นักแสดง[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง เดอะเมีย มีเหล่าดารา นักแสดง นางแบบ มาร่วมงานกันสนั่นจอ ไม่ว่าจะเป็น [6]

เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]

  • ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า ขับร้องโดย ตู้ - ดิเรก อมาตยกุล
  • ฟลอร์เฟื่องฟ้า ขับร้องโดย ตู้ - ดิเรก อมาตยกุล

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]