เดลตาฮีดรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรงสี่หน้าปลายตัดก็สามารถจัดเป็นเดลตาฮีดรอนได้ ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องเป็นทรงนูน โดยการแบ่งรูปหกเหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม

เดลตาฮีดรอน (อังกฤษ: deltahedron, พหูพจน์: deltahedra) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ชื่อของเดลตาฮีดรอนมาจากอักษรกรีก เดลตา ตัวใหญ่ (Δ) ที่มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ทรงหลายหน้าจำนวนนับไม่ถ้วนสามารถจัดเป็นเดลตาฮีดรอนได้ แต่มีเพียง 8 รูปทรงเท่านั้นที่เป็นทรงนูน (convex) และไม่ควรสับสนระหว่างชื่อรูปทรงนี้กับ เดลโตฮีดรอน (deltohedron) ซึ่งหมายถึงทรงหลายหน้าที่มีทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

เดลตาฮีดรอนทรงนูนทั้งแปด[แก้]

รูปทรง ภาพ หน้า ขอบ จุดยอด โครงแบบจุดยอด Symmetry group
ทรงสี่หน้าปรกติ
(regular tetrahedron)
4 6 4 4 × 3.3.3
พีระมิดคู่สามเหลี่ยม
(triangular dipyramid)
6 9 5 2 × 3.3.3
3 × 3.3.3.3
ทรงแปดหน้าปรกติ
(regular octahedron)
8 12 6 6 × 3.3.3.3
พีระมิดคู่ห้าเหลี่ยม
(pentagonal dipyramid)
10 15 7 5 × 3.3.3.3
2 × 3.3.3.3.3
สนับไดสฟีนอยด์
(snub disphenoid)
12 18 8 4 × 3.3.3.3
4 × 3.3.3.3.3
ปริซึมสามเหลี่ยมไทรออกเมนเตต
(triaugmented triangular prism)
14 21 9 3 × 3.3.3.3
6 × 3.3.3.3.3
พีระมิดคู่สี่เหลี่ยมไจโรอีลองเกต
(gyroelongated square dipyramid)
16 24 10 2 × 3.3.3.3
8 × 3.3.3.3.3
ทรงยี่สิบหน้าปรกติ
(regular icosahedron)
20 30 12 12 × 3.3.3.3.3