เดนนิส ริตชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดนนิส แม็กคาลิสแตร์ ริตชี
Dennis MacAlistair Ritchie
เกิด9 กันยายน ค.ศ. 1941(1941-09-09)
บรอนซ์วิลล์ นิวยอร์ก  สหรัฐ
เสียชีวิตพบศพเมื่อ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2011(2011-10-12) (70 ปี)
เบิร์กลีย์ ไฮน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์  สหรัฐ
สัญชาติ สหรัฐ
พลเมือง สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
มีชื่อเสียงจากALTRAN
ภาษาบี
BCPL
ภาษาซี
มัลติกส์
ยูนิกซ์
รางวัลรางวัลทัวริง
เหรียญรางวัลเทคโนโลยีแห่งชาติ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สถาบันที่ทำงานลูเซนต์เทคโนโลยีส์ (Lucent Technologies)
เบลล์แลบส์ (Bell Labs)

เดนนิส แม็กคาลิสแตร์ ริตชี (อังกฤษ: Dennis MacAlistair Ritchie) (9 กันยายน พ.ศ. 248412 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (วันที่พบศพ)[1][2][3][4]) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน แต่เขาเป็นคนที่เก่งที่สุดในปัจจุบันยังจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ ผู้มีอิทธิพลต่อภาษาซีและภาษาโปรแกรมอื่น ๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการหลายชนิดเช่นมัลติกส์และยูนิกซ์ เขาได้รับรางวัลทัวริงเมื่อ พ.ศ. 2526 เก่งมากๆ เลยครับและเหรียญรางวัลเทคโนโลยีแห่งชาติ 1998 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2542 มักใช้ชื่อในการทำงานว่า "dmr" ในกลุ่มของเขา

ประวัติ[แก้]

เดนนิส ริตชี (ขวา) กับเคน ทอมป์สัน

เดนนิส ริตชี เกิดที่เมืองบรอนซ์วิลล์ นิวยอร์ก สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในระดับปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ และระดับปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ต่อมา พ.ศ. 2510 เขาเริ่มทำงานกับศูนย์วิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์ของเบลล์แลบส์โดยติดตามงานจากพ่อของเขา [5] ริตชีเคยเป็นหัวหน้าแผนกวิจัยซอฟต์แวร์ระบบของลูเซนต์เทคโนโลยีส์ แต่เขาลาออกแล้วเมื่อ พ.ศ. 2550 หลังจากต่อสู้กับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคหัวใจมาหลายปี ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ริตชี ถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านที่ เบิร์กลีย์ ไฮน์ (Berkeley Heights) รัฐนิวเจอร์ซีย์ รวมอายุได้ 70 ปี [6]

ภาษาซีและยูนิกซ์[แก้]

ริตชีเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะผู้สร้างสรรค์ภาษาซี และผู้พัฒนาหลักของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ อีกทั้งเป็นผู้แต่งร่วมในหนังสือ เดอะซีโปรแกรมมิงแลงกวิจ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ เคแอนด์อาร์ (K&R) (ผู้แต่งอีกคนหนึ่งคือไบรอัน เคอร์นิกัน)

ริตชีคิดค้นภาษาซีและมีบทบาทในการพัฒนายูนิกซ์ โดยทำงานร่วมกับเคน ทอมป์สัน ซึ่งเขายกย่องริตชีว่าเป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญแห่งคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ภาษาซียังคงใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์และระบบปฏิบัติการอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ และมีอิทธิพลต่อภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ด้วย ยูนิกซ์ก็ได้รับอิทธิพลในเรื่องแนวคิดและหลักการในการสร้าง ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างดีในวงการคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน

หลังจากความสำเร็จของยูนิกซ์ ริตชีดำเนินงานค้นคว้าวิจัยระบบปฏิบัติการและภาษาโปรแกรมต่อไป โดยมีส่วนร่วมในระบบปฏิบัติการแพลน 9 กับอินเฟอร์โน และภาษาลิมโบ

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

รางวัลทัวริง[แก้]

ริตชีและทอมป์สันได้รับรางวัลทัวริงร่วมกันเมื่อ พ.ศ. 2526 สำหรับการพัฒนาทฤษฎีของระบบปฏิบัติการทั่วไป และโดยเฉพาะสำหรับการนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ การปราศรัยรางวัลทัวริงของริตชีมีหัวเรื่องว่า "ผลสะท้อนบนการวิจัยซอฟต์แวร์" (Reflections on Software Research) [7]

เหรียญรางวัลเทคโนโลยีแห่งชาติ[แก้]

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2542 ริตชีและทอมป์สันได้รับเหรียญรางวัลเทคโนโลยีแห่งชาติ 1998 ร่วมกันจากประธานาธิบดี บิล คลินตัน สำหรับการร่วมกันประดิษฐ์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และภาษาซี ซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในเรื่องฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และกระตุ้นความเจริญให้กับอุตสาหกรรมทั้งวงการ ทำให้อเมริกามีความเป็นผู้นำมากขึ้นในยุคสารสนเทศ [8][9]

ผลงานหนังสือ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lohr, Steve (October 12, 2011), "Dennis Ritchie, Programming Trailblazer, Dies at 70", The New York Times, สืบค้นเมื่อ October 13, 2011, Dennis M. Ritchie, who helped shape the modern digital era by creating software tools that power things as diverse as search engines like Google and smartphones, was found dead on Wednesday at his home in Berkeley Heights, N.J. He was 70. Mr. Ritchie, who lived alone, was in frail health in recent years after treatment for prostate cancer and heart disease, said his brother Bill.
  2. "Unix creator Dennis Ritchie dies aged 70". BBC News. October 13, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-10-14. Pioneering computer scientist Dennis Ritchie has died after a long illness. ... The first news of Dr Ritchie's death came via Rob Pike, a former colleague who worked with him at Bell Labs. Mr Ritchie's passing was then confirmed in a statement from Alcatel Lucent which now owns Bell Labs.
  3. Rob Pike (October 12, 2011), (untitled post to Google+), สืบค้นเมื่อ October 14, 2011, I just heard that, after a long illness, Dennis Ritchie (dmr) died at home this weekend. I have no more information.
  4. Campbell-Kelly, Martin (October 13, 2011), "Dennis Ritchie obituary", The Guardian, สืบค้นเมื่อ October 13, 2011, Dennis MacAlistair Ritchie, computer scientist, born 9 September 1941; died 12 October 2011{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  5. Dennis M. Ritchie เก็บถาวร 2014-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย เบลล์แลบส์
  6. Dennis Ritchie, Trailblazer in Digital Era, Dies at 70
  7. "The Reflections on Software Research paper" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
  8. Ritchie and Thompson [to] Get National Medal of Technology เก็บถาวร 2006-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bell Labs pre-announcement
  9. Ritchie and Thompson Receive National Medal of Technology from President Clinton เก็บถาวร 2003-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bell Labs press release

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]