เซิน หง็อก ถั่ญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซิง งอกทัญ)
เซิน หง็อก ถั่ญ
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ก่อนหน้าเจ้านโรดม สีหนุ
ถัดไปสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ
ดำรงตำแหน่ง
18 มีนาคม พ.ศ. 2516 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ประธานาธิบดีลอน นอล
ก่อนหน้าสีสุวัตถิ์ สิริมตะ
ถัดไปฮาง ทุน ฮัก
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าคาน์ วิค
ถัดไปลอง โบเรต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ธันวาคม พ.ศ. 2451
จ่าวิญ โคชินจีน
เสียชีวิต8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 (68 ปี)
เวียดนาม
พรรคการเมืองกรมประชาชน เขมรเสรี

เซิน หง็อก ถั่ญ (เวียดนาม: Sơn Ngọc Thành; เขมร: សឺង ង៉ុកថាញ់) เป็นนักการเมืองชาตินิยมและนิยมสาธารณรัฐในกัมพูชา มีประวัติการต่อสู้ที่ยาวนานในฐานะกบฏผู้ต่อต้านรัฐบาลและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาสั้น ๆ

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

เซินเกิดที่เมืองจ่าวิญ ในเวียดนามใต้เมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2451 บิดาเป็นชาวเขมรต่ำ มารดาเป็นลูกครึ่งจีน-เวียดนาม[1] ผ่านการศึกษาในไซ่ง่อนและปารีส เรียนกฎหมายอีก 1 ปีแล้วจึงกลับสู่อินโดจีน โดยมาทำงานเป็นพนักงานฝ่ายปกครองในโพธิสัตว์และอัยการในพนมเปญก่อนจะเป็นรองผู้อำนวยการสถาบันพุทธศาสนา[2] เซินร่วมมือกับปัช เชือน ออกหนังสือพิมพ์ภาษาเขมรฉบับแรกชื่อ นครวัต เมื่อ พ.ศ. 2479 แนวคิดของหนังสือพิมพ์นี้คือเรียกร้องให้ชาวเขมรต่อต้านการครอบงำทางการค้าของต่างชาติ และเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง แนวคิดของทัญเป็นพวกฝ่ายขวา นิยมสาธารณรัฐ ทำให้เขากลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพระนโรดม สีหนุเขายังให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเอเชียและสนับสนุนการสอนภาษาเวียดนามในโรงเรียน

ความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล[แก้]

หลังจากการต่อต้านฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2482 เซินได้ลี้ภัยไปยังญี่ปุ่นและกลับมาเมื่อพระนโรดม สีหนุประกาศเอกราชของกัมพูชาเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น และได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม เมื่อมีการฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม เซินถูกจับกุมและถูกส่งตัวไปยังไซ่ง่อนและฝรั่งเศสโดยลำดับ[3] ผู้ที่สนับสนุนเขาหลายคนเข้าร่วมกับเขมรอิสระเพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม เซินได้กลับสู่กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2494 แต่เขาปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรี โดยหันไปร่วมมือกับผู้นำเขมรอิสระหลายคนและออกหนังสือพิมพ์ Khmer Kraok เพื่อสนับสนุนให้ต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส และถูกสั่งห้ามพิมพ์อย่างรวดเร็วใน พ.ศ. 2495 หลังจากนั้น เซินจึงออกจากเมืองไปจัดตั้งกลุ่มต่อต้านในเขตป่าของจังหวัดเสียมราฐ

เซินพยายามเข้าควบคุมเขมรอิสระและกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งในจำนวนนี้มีพระนโรดม จันทรังสี และพุทธ ฉายสนับสนุนการเป็นผู้นำของเขา หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เซินได้รับการสนับสนุนมากจากชาวแขมร์กรอมแต่มีอิทธิพลน้อยภายในประเทศกัมพูชา และยืนอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มฝ่ายซ้าย

เขมรเสรี[แก้]

หลังจากสงครามอินโดจีนครั้งแรกสงบลงเมื่อ พ.ศ. 2497 เซินได้จัดตั้งกองทหารที่เรียกเขมรเสรีในฐานที่มั่นเดิมของเขาที่เสียมราฐเพื่อต่อต้านพระนโรดม สีหนุ ซึ่งทรงเริ่มเห็นว่าเขาเป็นศัตรูสำคัญ ใน พ.ศ. 2502 กลุ่มเขมรเสรีกล่าวหาว่าพระนโรดม สีหนุเป็นคอมมิวนิสต์เพราะร่วมมือกับเวียดนามเหนือ[4] เซินได้เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทยและเวียดนามใต้ และตั้งสถานีวิทยุออกอากาศโจมตีพระนโรดม สีหนุ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2513 ทัญได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของลน นล และนำกองกำลังเขมรเสรีเข้าร่วมด้วย

ใน พ.ศ. 2515 เซินได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากเป็นเป้าหมายของการวางระเบิด (คาดว่าดำเนินการโดยฝ่ายของ ลน นน) เซินจึงลี้ภัยไปเวียดนามใต้ หลังจากที่ฝ่ายเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะ เซินถูกจับกุมในเวียดนามใต้ และถูกคุมขังจนเสียชีวิตในคุกเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 รวมอายุได้ 69 ปี

อ้างอิง[แก้]

  1. Corfield (2009), p. 35
  2. Kiernan B (2004), p. 21
  3. Kiernan, p.51
  4. Kiernan, p.186
  • Corfield, Justin J., The History of Cambodia, ABC-CLIO, 2009, ISBN 0313357234
  • Kiernan, Ben; How Pol Pot came to power, Yale University Press, 2004, ISBN 9780300102628