เซปพาเรเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซปพาเรเตอร์ (อังกฤษ : Separator (oil production)) เป็นท่อหรือถังที่บรรจุแรงดัน เพื่อใช้แยกของไหลที่ส่งมาจากหลุมผลิตปิโตรเลียม ทั้งน้ำมันและแก๊ส ซึ่งเซปพาเรเตอร์ในเชิงของการผลิตปิโตรเลียมนั้นหมายถึงท่อหรือถังที่มีขนาดใหญ่ออกแบบเพื่อแยกของไหลที่ผลิตได้ ส่วนใหญ่เซพาเรเตอร์จะตั้งอยู่ใกล้กับปากหลุม ชุมทางท่อ ซึ่งของไหลจะถูกแยกจากหลุมผลิตเหล่านี้เพื่อแยกเป็นน้ำมันและแก๊ส หรือของเหลวและแก๊ส ซึ่งสำหรับเซปพาเรเตอร์ของน้ำมันและแก๊สจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ

1. ถังที่ประกอบด้วย (a) อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนขั้นต้นของเซปพาเรเตอร์, (b) ชิ้นส่วน Gravity settling, (c) Mist extractor เพื่อแยกอนุภาคเล็กๆของของเหลวออกจากแก๊ส, (d) ทางออกของแก๊ส, (e) Liquid settling เพื่อแยกแก๊สและไอออกจากน้ำมัน (สำหรับในเซปพาเรเตอร์ที่ใช้แยก 3 สถานะ จะแยกน้ำออกจากน้ำมัน), (f) ทางออกของน้ำมัน, และ (g) ทางออกของน้ำ (ในเซปพาเรเตอร์ 3 สถานะ)

2. ปริมาตรที่เพียงพอสำหรับใส่ของเหลวที่มาจากหลุมหรือท่อ

3. ส่วนสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางที่เพียงพอสำหรับแยกของเหลวออกจากแก๊สซึ่งทำให้ Mist extractor ไม่ท่วม

4. ส่วนควบคุมระดับน้ำมันในเซพาเรเตอร์ ซึ่งปกติประกอบด้วยตัวควบคุมระดับของของเหลวและวาล์วที่ทางออกของน้ำมัน

5. วาล์วกันการไหลกลับของความดันที่ทางออกของแก๊สเพื่อทำให้ความดันภายในถังคงที่

6. อุปกรณ์ปล่อยความดัน

เซปพาเรเตอร์ทำงานโดยหลักการที่ว่าส่วนประกอบทั้งสามในเซปพาเรเตอร์มีความหนาแน่นที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้พวกมันแบ่งเป็นชั้นๆเมื่อเคลื่อนที่อย่างช้าๆคือ แก๊สอยู่ด้านบน น้ำอยู่ด้านล่าง และน้ำมันอยู่ตรงกลาง ส่วนพวกของแข็ง เช่นอนุภาคของทรายจะตกอยู่ที่ด้านล่างของเซปพาเรเตอร์

อ้างอิง[แก้]