เชาวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิทินฮิจเราะห์

  1. มุฮัรร็อม
  2. เศาะฟัร
  3. เราะบีอุลเอาวัล
  4. เราะบีอุษษานี
  5. ญุมาดัลอูลา
  6. ญุมาดัษษานี
  7. เราะญับ
  8. ชะอ์บาน
  9. เราะมะฎอน
  10. เชาวาล
  11. ษุลเกาะอ์ดะฮ์
  12. ษุลฮิจญ์ญะฮ์

เชาวาล (อาหรับ: شَوَّال) คือเดือนที่ 10 ของปฏิทินฮิจเราะห์หรือปฏิทินอิสลาม

วันสำคัญในเดือนเชาวาล[แก้]

การกำหนดวันที่ 1 ของเดือน[แก้]

การเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้น ๆ

ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่าง ๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงกำหนดไว้

อาจเป็นเพราะการเข้าใจเป้าหมายของการดูเดือนไม่ถูกต้อง การหยิบยกเฉพาะหลักฐานหนึ่งหลักฐานใด การตีความตามตัวอักษร หรือบางเหตุการณ์ในมุมมองแคบ ๆ ขาดการมองในองค์รวม หรือจุดประสงค์ของการกำหนดให้ดูเดือน และมักมองว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอื่นมาประกอบ หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดแย้งมานานแล้ว จึงทำให้ความขัดแย้งนี้ยังคงอยู่ ซึ่ง ณ ที่นี้เชื่อว่าหลายคนยอบรับว่าความขัดแย้งที่มีอยู่ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติแตกต่างกันนั้น มีหลักฐานรองรับด้วยกันทั้งนั้น จึงจะไม่ขอนำหลักฐานเหล่านั้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างกันไปหักล้างกันมาอีก

เรามักเข้าใจผิด ถึงคำว่า ตรงกัน ว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน (การเริ่มต้นวันของอิสลามนั้นเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าประกอบกับการนับเดือนและเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนใช้ระบบจันทรคติ จึงไม่ยึดติดกับเส้นแบ่งวันที่ถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง) ความจริงมีอยู่ว่า การเริ่มเดือนใหม่ของแต่ละเดือนนั้นมีจุดเริ่มต้นของเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน เป็นความเป็นธรรมอย่างยิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ให้การเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนได้หมุนผลัดเปลี่ยนเวียนไปตามพื้นที่หรือประเทศต่าง ๆ โดยไม่ยึดติดกับที่หนึ่งที่ใดโดยเฉพาะ (เรื่องนี้มีรายละเอียดมากที่สามารถอธิบายได้สำหรับผู้ที่สนใจ) ดังนั้นถ้าเราได้ให้ความสำคัญกับการดูเดือนจริง ๆ และรู้เป้าหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อน หรือไม่ตรงตามสภาพความจริงบนท้องฟ้า (ดวงจันทร์หมุนรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 1 เดือนตามจันทรคติ) และ คำว่า ตามกัน ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน หรือรอว่ามีที่ไหนเห็นเดือนโดยไม่คำนึงว่าเวลาเริ่มดูเดือน (เวลาเข้ามัฆริบ) จะมาที่หลังก็ตาม กลายเป็นยึดเส้นแบ่งวันไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเส้นแบ่งวันนั้นถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง ดังนั้นควรต้องตามความเป็นจริงที่เป็นไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่ามีการเห็นเดือนแล้ว (ดวงจันทร์หมุนรอบโลกครบรอบแล้ว และกลับมาอยู่เหนือแนวระนาบอีกครั้ง) คือเริ่มเดือนใหม่แล้ว หรือ วันที่ 1 ของเดือนใหม่เริ่มมาแล้ว จะเป็นที่ใดก็ตาม ก่อนจะถึงเวลาหรือขณะที่เราเริ่มดูเดือน (เวลาเข้ามัฆริบ) ก็ต้องถือว่าเดือนใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว (ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้) สามารถจะตามการเห็นเดือนของประเทศที่เห็นมาก่อนหน้านี้ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นวันที่ผ่านมาก็ตาม ดังนั้นบางครั้งการออกบวชของแต่ละประเทศจะเป็นคนละวันกันจึงไม่ได้หมายความว่าออกบวชไม่ตรงกัน เพราะจะเริ่มมาจากประเทศแรกที่เห็นเดือนในเดือนนั้น ๆ ก่อน แล้วเป็นประเทศต่อไปเรื่อย ๆ วนไปตามเวลามัฆริบของแต่ละประเทศที่ย่างเข้ามา

จะสังเกตได้ว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่นั้น จะประกาศผลการดูเดือน (ดวงจันทร์) ได้ทันทีเมื่อพ้นมัฆริบเพียงเล็กน้อยหรือสอบสวนแน่ใจว่ามีการเห็นเดือนจริงหรือไม่แล้ว โดยอาศัยข้อเท็จจริงบนท้องฟ้ามาเป็นข้อมูลประกอบ หรือจะตามประเทศที่ดูและเห็นเดือนมาก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่เห็นหรือไม่มีที่ใดเห็นมาก่อนก็รอประเทศที่ดูเดือนที่หลัง ในเมื่อเวลามัฆริบของวันนั้นหรือการเริ่มต้นของวันที่ดูดวงจันทร์นั้นเกิดก่อนเวลาเริ่มเกิดเดือนใหม่ (ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้) กรณีเช่นนี้ต้องนับว่าเป็นวันของเดือนเก่า

ก็น่าสงสัยอีกว่าเมื่อไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในกลุ่มประเทศอาหรับคนไทยส่วนหนึ่งที่อ้างว่าตามการเห็นเดือนทั่วโลกก็จะชิงประกาศตาม ซึ่งตามความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไปอีกการเกิดเดือนใหม่หรือจันทร์เสี้ยวก็จะต้องมีประเทศหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเดือนใหม่ (เห็นจันทร์เสี้ยว) อยู่ดี เลยไม่รู้ว่าอะไรคือจุดยืนที่แท้จริง

ดังนั้น ความขัดแย้ง แบ่งกลุ่มแบ่งคณะ และการตามแบบไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงใด ๆ อ้างว่าท่านร่อซูลทำแค่นี้ ไม่เคยถามว่าเดือนคว่ำหรือหงาย เห็นที่ไหน และอ้างว่าเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก ซึ่งจริงแล้วประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้หลักการตามโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลย (ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) หรือบางครั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ใช้หลักการตามหรือปฏิบัติอย่างไร ก็จะอ้างว่าศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคนส่วนมาก แล้วอะไรคือจุดยืนที่แน่นอน … ถึงตอนนี้น่าจะยอมรับความจริง หันหน้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน เพื่อสังคมจะได้ไม่แตกแยก ร่วมกันทำงานเพื่ออิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจ ความไม่ตรงกันที่มีอยู่ในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้เราเข้าใจไปว่า ที่ไหน ๆ ก็ไม่ตรงกัน[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือการกำหนดเดือนในอิสลาม ของ วิทยา เลาะวิถี หน้า 7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]