เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
อังกฤษIron Chef Thailand
ประเภทเกมโชว์แข่งขันการทำอาหาร
สร้างโดยบริษัท ฟูจิ ครีเอทีฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)
พัฒนาโดยบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด
เสนอโดยประธานสถาบัน
สันติ เศวตวิมล (25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2563)
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
รองประธานสถาบัน
สมศักดิ์ รารองคํา (18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
พิธีกร
ชาคริต แย้มนาม (25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ 2560 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
ไดอาน่า จงจินตนาการ
(2 มิถุนายน พ.ศ. 2561[1] และ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
พิธีกรภาคสนาม
ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี
ชัชชัย จำเนียรกุล
ไดอาน่า จงจินตนาการ
แสดงนำเชฟกระทะเหล็ก
พงศ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
ธนรักษ์ ชูโต (เชฟป้อม)
ธนัญญา วิลคินซัน (เชฟไก่)
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ)
พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร (เชฟพฤกษ์)
ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ (เชฟอาร์)
มาร์ติน บลูโนส (เชฟมาร์ติน)
เสียงของณัฐพงษ์ สมรรคเสวี
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนฤดูกาล9
จำนวนตอน231 (รายชื่อตอน)
การผลิต
กล้องกล้องหลายตัว
ความยาวตอน1 ชั่วโมง 50 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ25 มกราคม 2555 (2555-01-25) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ยุทธการกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก ศึกวันล้างตา
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย โรงเรียนกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเด็ก เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
สุดยอดเซเลบริตี้เชฟ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก

เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) เป็นรายการเกมโชว์แข่งขันการทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์รายการ ยุทธการกระทะเหล็ก (อังกฤษ: Iron Chef ญี่ปุ่น: 料理の鉄人) จากบริษัท ฟูจิ ครีเอทีฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เริ่มอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ต่อมามีการต่อยอดรายการมาเป็นรายการเรียลลิตีเต็มรูปแบบ โดยการนำเชฟมืออาชีพมาแข่งขันกันเพื่อค้นหาเชฟกระทะเหล็กคนใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (อังกฤษ: The Next Iron Chef)

ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับรูปแบบการแข่งขันเป็นรูปแบบ One-On-One Battle โดยในการแข่งขันรอบปกติจะมีการตัดเชฟผู้ช่วยออกทุก ๆ 20 นาที จำนวน 2 ครั้ง และในรอบ One-On-One Battle จะเหลือเพียงเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กที่ต้องทำอาหารแข่งขันกันแบบตัวต่อตัวตามชื่อการแข่งขัน

พิธีกร[แก้]

รายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนพิธีกรดังนี้

ผู้ดำเนินรายการปัจจุบัน[แก้]

ผู้ดำเนินรายการอดีต[แก้]

ระยะเวลาในการออกอากาศ[แก้]

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 พุธ 23:00 - 01:00 น. 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
23:15 - 01:15 น. 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2558
เสาร์ 12:00 - 13:00 น. 4 เมษายน พ.ศ. 2558 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558
11:45 - 12:45 น. 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
11:45 - 13:00 น. 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
12:00 - 13:15 น. 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561
สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
18.00 - 19.50 น. 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
20.30 - 22.20 น. ในบางโอกาส

ในช่วงปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ทางรายการจึงมีการยุติการออกอากาศชั่วคราว โดยออกอากาศเทปสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 และตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ทางรายการได้นำตอนที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2564 นำมารีรันใหม่ในเวลาเดียวกัน (อาจมีของปี พ.ศ. 2563 มาออกอากาศบ้าง) และเริ่มออกอากาศตอนใหม่ตามปกติตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

รูปแบบของรายการ[แก้]

อดีต[แก้]

รูปแบบที่ 1[แก้]

ใช้ในวันที่ 25 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ช่วงประลองยุทธ์[แก้]

3 ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับการคัดเลือกจากประธานสรรหาทั้ง 3 ท่าน จะต้องทำการประลองยุทธ์กับทีม เชฟกระทะแหลก (ดารารับเชิญ 6 ท่าน) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นแสดงภาพผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ท่าน เวลาแข่งขัน โดยตัดภาพทีม เชฟกระทะแหลก ออกไป เนื่องจากมีผู้ชมจำนวนมากไม่พอใจเกี่ยวกับท่าทางในการทำอาหารด้าน เชฟกระทะแหลก ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับวัตถุดิบหลักในการทำอาหารคนละ 1 อย่างตามจำนวนที่จำกัดไว้ โดยทำการจับฉลากล่วงหน้า ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน ก็ไม่สามารถทราบว่า ได้วัตถุดิบคืออะไร และจะทำอย่างไร ให้วัตถุดิบปริศนาถูกแปลงสภาพมาเป็นอาหารชั้นเลิศตามเวลาที่กำหนดให้ (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 15 นาที)

ช่วงนักชิมปริศนา[แก้]

3 ผู้เข้าแข่งขัน จะได้รับโจทย์การทำอาหาร ให้กลุ่มผู้ชิมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น “ทำอาหารแคลลอร์รี่ต่ำ” ให้สาวงาม 20 คน หรือ นักมวย 30 คน เป็นต้น ผู้แข่งขันเพียง 1 คน จะได้รับการคัดเลือกเข้าไปเป็น ผู้ท้าชิง กับ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 20 นาที)

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน จะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้

รูปแบบที่ 2[แก้]

ช่วงสรรหาผู้ท้าชิงและเมนูพิเศษเฉพาะตัว[แก้]

ประธานสรรหาทั้ง 3 คน จะทำการคัดสรรเชฟที่มีฝีมือจากทั่วสารทิศ มาเป็น เชฟผู้ท้าชิง พร้อมกับดารารับเชิญ 3 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งเชฟผู้ท้าชิงจะมาทำอาหารเมนูพิเศษตามความถนัดของตนเอง จากแบบทดสอบพิเศษ ซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ เวลาที่กำหนดในการทำอาหาร คือ 30 นาที โดยจะมีรูปแบบแบบทดสอบพิเศษต่างๆ กันไป ดังนี้

  • แบบเมนูประจำตัว (Signature Dish) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารด้วยวัตถุดิบที่เชฟจัดเตรียมมาสำหรับการนำเสนอเมนูของตัวเองโดยเฉพาะ
  • แบบอาหารตามสั่ง (Made To Order) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบหลักและโจทย์รูปแบบการทำอาหาร ในไตล์ต่างๆ อาทิเช่น ไทย, จีน, ยุโรป และอื่นๆ ที่ทางรายการกำหนดมาให้ ซึ่งเปรียบเสมือนการรับรายการจากลูกค้าในรูปแบบอาหารตามสั่ง ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
  • แบบ 3 วัตถุดิบปริศนา (Secret Ingredient) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 3 อย่าง โดยจะต้องชูรสชาติ ของวัตถุดิบลับทั้ง 3 อย่างให้ได้มากที่สุด ในบางครั้งทางรายการจะบอกวัตถุดิบปริศนามาก่อน 1 อย่าง โดยวัตถุดิบปริศนา 2 อย่างที่เหลือ จะถูกเลือกผ่านมาจาก นักช็อปปริศนา ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
  • แบบบอกคำปริศนา (Story Telling) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์ปริศนา 1 ประโยคจากบุคคลพิเศษ เพื่อสื่อถึงปริศนานั้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวศิลปะต่างๆ ผ่านจานอาหารนั้นๆ ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
  • แบบเครื่องมือปริศนา (Secret Equipment) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์อุปกรณ์ปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 1 ชิ้น โดยเชฟผู้ท้าชิงต้องใช้อุปกรณ์ปริศนานั้น เป็นอุปกรณ์หลักในการทำอาหาร ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
  • แบบนักชิมปริศนา (Mystery Judges) เชฟผู้ท้าชิง จะต้องทำอาหารจานพิเศษ สำหรับกลุ่มนักชิมปริศนา โดยตอบโจทย์ความต้องการของนักชิมปริศนา ให้เสร็จทันเวลาที่กำหนดและครบตามจำนวนนักชิม
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน จะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้

ช่วงโรงเรียนกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟกระทะเหล็ก จะมาสาธิตการทำอาหารให้แก่ดารารับเชิญและผู้ชมทางบ้านที่สมัครเข้ารวมรายการ รวม 6 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น และทุกวันพุธสุดท้ายของแต่ละเดือน เชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ จะมาสาธิตการทำอาหารแทนเชฟกระทะเหล็ก หลังจากนั้นจะเลือกผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน มาทำอาหารตามเชฟกระทะเหล็กหรือเชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ ซึ่งผู้ร่วมรายการที่เหลือ 4 คน จะทำการชิมและให้คะแนนว่าอาหารที่คนไหนทำ อร่อยกว่ากัน คนที่ได้คะแนนมากกว่า จะได้เป็น นักเรียนดีเด่น และได้รับประกาศนียบัตรเป็นของที่ระลึก

รูปแบบที่ 3[แก้]

ประชันวัตถุดิบ[แก้]

จะมีวัตถุดิบ 2 ชนิดออกมาให้ได้ชมกัน โดยหนึ่งในนั้นจะเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้แข่งในวันนั้นจริงๆ หรือบางครั้งอาจจะไม่เกี่ยวกับวัตถุดิบเลย แต่จะเป็นการทำอาหารให้แขกรับเชิญได้รับประทานกัน โดยจะมีเชฟประสพโชค ตระกูลแพทย์ (เชฟอาร์ต), เชฟบรรณ บริบูรณ์ (เชฟอิ๊ค), เชฟธัชพล ชุมดวง (เชฟตูน) สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา สัปดาห์ละ 2 คนเพื่อเป็นตัวแทนและนำเสนอวัตถุดิบอย่างละฝ่าย พร้อมทั้งทำอาหารจากวัตถุดิบนั้นๆ ให้กับแขกรับเชิญได้รับประทานด้วย

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน อาจจะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้ หรืออาจจะไม่มีการต่อเวลา และคงผลเสมอไว้เช่นเดิม

รูปแบบที่ 4[แก้]

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

รูปแบบจะคล้ายคลึงกับ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: Iron Chef America) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เหมือนเดิม โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน โดยคณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมพร้อมกับแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนกันแบบระบบเวลาจริงเลย มีคะแนนส่วนนี้ให้ 5 คะแนน ถ้าทำไม่ทัน คะแนนส่วนนี้จะเป็น 0 คะแนนโดยทันที จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา ที่มากไปกว่านั้นเพื่อเพิ่มความท้าทายและความกดดันให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย ท่านประธานสันติได้เพิ่ม โจทย์พิเศษ (Culinary Curve Ball) ที่สามารถเป็นได้ทั้งวัตถุดิบหรืออุปกรณ์เสริม ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องใช้โจทย์พิเศษนี้เป็นองค์ประกอบในเมนูใดเมนูหนึ่งให้ได้นั้นเอง ซึ่งเราจะได้ประหลาดใจไปกับวิธีการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าของเชฟแต่ละท่าน แถมยังได้เห็นถึงจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา มีคะแนนส่วนนี้ให้ 5 คะแนน และคณะกรรมการ 3 คน ทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านรสชาติความอร่อย 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลัก 5 คะแนน

ช่วงโรงเรียนกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟกระทะเหล็ก จะมาสาธิตการทำอาหารให้แก่ดารารับเชิญและผู้ชมทางบ้านที่สมัครเข้ารวมรายการ รวม 6 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น และทุกวันพุธสุดท้ายของแต่ละเดือน เชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ จะมาสาธิตการทำอาหารแทนเชฟกระทะเหล็ก หลังจากนั้นจะเลือกผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน มาทำอาหารตามเชฟกระทะเหล็กหรือเชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ ซึ่งผู้ร่วมรายการที่เหลือ 4 คน จะทำการชิมและให้คะแนนว่าอาหารที่คนไหนทำ อร่อยกว่ากัน คนที่ได้คะแนนมากกว่า จะได้เป็น นักเรียนดีเด่น และได้รับประกาศนียบัตรเป็นของที่ระลึก

รูปแบบที่ 5[แก้]

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนทวิสต์คิวชีน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรป) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน โดยคณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมพร้อมกับแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนกันแบบระบบเวลาจริงเลย มีคะแนนส่วนนี้ให้คนละ 5 คะแนน ถ้าทำไม่ทัน คะแนนส่วนนี้จะเป็น 0 คะแนนโดยทันที จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา

การตัดสิน[แก้]

คณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมอาหารและแสดงความคิดเห็นให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย จากนั้นคณะกรรมการ 3 คน จะทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านจานแรกคนละ 5 คะแนน, รสชาติความอร่อยคนละ 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์คนละ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลักคนละ 5 คะแนน รวม 75 คะแนน

รูปแบบที่ 6[แก้]

ใช้ในวันที่ 8 กรกฎาคม – 9 กันยายน พ.ศ. 2560

ช่วง World Ingredient ภารกิจตามล่าวัตถุดิบสุดขอบโลก[แก้]

ในช่วงนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับช่วงประชันวัตถุดิบในรูปแบบที่ 3 แต่จะเป็นการให้พิธีกรร่วม 2 ท่านคือ เบญจพล เชยอรุณ (กอล์ฟ) และ ชล วจนานนท์ (ชลลี่) มานำเสนอวัตถุดิบที่จะให้ประธานสันติเป็นผู้คัดเลือก เพื่อนำมาใช้ในการแข่งขัน และผู้ชมทางบ้านจะสามารถร่วมสนุกว่าประธานสันติจะเลือกวัตถุดิบชนิดใด เพื่อชิงบัตรกำนัลมูลค่า 10,000 บาท

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนทวิสต์คิวชีน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรป) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา

การตัดสิน[แก้]

คณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมอาหารและแสดงความคิดเห็นให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย จากนั้นคณะกรรมการ 3 คน จะทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านจานแรกคนละ 5 คะแนน, รสชาติความอร่อยคนละ 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์คนละ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลักคนละ 5 คะแนน รวม 75 คะแนน

แบบที่ 7[แก้]

ใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวผสมผสาน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องรังสรรค์ 5 เมนู ให้เสร็จทันเวลา จากนั้นเมื่อผ่านไป 45 นาที จะมีวัตถุดิบปริศนา (Culinary Curve Ball) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนามาใช้ทำอาหารเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูสุดท้ายจาก 5 เมนู (มีเพียงเทปวันที่ 11 และ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ใช้กติกาจากรูปแบบรายการแบบที่ 4 คือเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนานำมาประกอบการรังสรรค์อย่างน้อย 1 เมนูจาก 5 เมนู)

การตัดสิน[แก้]

จะมีคณะกรรมการ 3 และ 4 คน จะทำการให้คะแนน ซึ่งเกณฑ์การตัดสินคะแนนจะพิจารณาด้านความอร่อย 50 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์เมนู 25 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์ตกแต่งจาน 25 คะแนน และการชูวัตถุดิบหลัก 50 คะแนน รวม 150 คะแนน (ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จะใช้เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาด้านความอร่อย 10 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์และตกแต่งจาน 5 คะแนน, การชูวัตถุดิบหลัก 5 คะแนน และวัตถุดิบปริศนา 5 คะแนน (ในเทปวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีคะแนนพิเศษซึ่งก็คือ โจทย์พิเศษ 2 อีกคนละ 5 คะแนน))

รูปแบบที่ 1 Blind Tasting[แก้]

ในรูปแบบ Blind Tasting คณะกรรมการจะไม่ทราบมาก่อนว่าเมนูอาหารแต่ละจานที่จะได้รับประทานนั้นเป็นของเชฟท่านใด เพื่อป้องกันปัญหาการล็อกผล โดยกรรมการทั้งสี่จะเก็บตัวในระหว่างที่เชฟทั้งสองทำการรังสรรค์เมนู และเมื่อเข้าสู่ช่วงการตัดสิน เชฟทั้งสองจะถูกนำไปเก็บตัวและดูการตัดสินผ่านทางจอมอนิเตอร์ และอาหารของเชฟทั้งสองจะถูกเสิร์ฟให้แก่คณะกรรมการทำการตัดสิน โดยคณะกรรมการจะทำการตัดสินหน้าเวทีของ Kitchen Stadium (ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563) ต่อมาเปลี่ยนเป็นห้อง Bidding Battle ของ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) โดยจะใช้อักษรย่อว่าเป็นเชฟ A หรือ B ในการแทนตัวเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก เริ่มใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จะสลับจานเสิร์ฟในแต่ละเมนู ทำให้กรรมการคาดเดาแนวทางการทำอาหารของเชฟได้ยากขึ้น

รูปแบบที่ 2 เปิดเผย[แก้]

ในรูปแบบเปิดเผย จะให้ทั้งเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงเข้าไปในห้อง Bidding Battle ของ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก โดยจะมีคณะกรรมการมานั่งชิมอาหารของเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงพร้อมกัน โดยมีการเปิดเผยหน้าเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงแบบให้เห็นแบบต่อหน้าต่อตา แต่จะยังมีการวิจารณ์คล้าย ๆ กับรูปแบบ Blind Tasting เดิม เริ่มใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปัจจุบัน (แบบที่ 8)[แก้]

ใช้ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

ช่วงแนะนำผู้ท้าชิง[แก้]

ในช่วงเริ่มรายการ กอล์ฟ - สัญญา ธาดาธนวงศ์ และกระติ๊บ - ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล ซึ่งเป็นพิธีกรภาคสนาม จะเดินทางไปยังร้านอาหารของเชฟผู้ท้าชิง เพื่อแนะนำและทำความรู้จักกับเชฟผู้ท้าชิง โดยเชฟผู้ท้าชิงยังมีการทำเมนูเอกลักษณ์ (Signature Dish) ให้พิธีกรภาคสนามได้รับประทานก่อนจะเข้าสู่การแข่งขันจริง โดยช่วงนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 1 เมษายน พ.ศ. 2566

ช่วงเชฟกระทะเหล็ก[แก้]

เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชียนแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส, เชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรปแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรปร่วมสมัย) โดยผู้ท้าชิงสามารถกำหนดโจทย์เพื่อทดสอบเชฟกระทะเหล็กได้ด้วย โดยจะต้องแข่งขันทั้งหมด 2 รอบ ดังนี้

รอบแรก[แก้]

ทั้งสองเชฟจะมีวัตถุดิบหลักอย่างแรกซึ่งจะใช้ในการทำเมนูที่ 1 และเมนูที่ 2 ไปก่อน และจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย และต้องเสิร์ฟเมนูแรกให้คณะกรรมการชิมไปก่อนภายใน 15 นาทีแรก จึงจะกลับมาแข่งขันต่อได้ จากนั้นอีก 5 นาทีต่อมา จะต้องตัดเชฟผู้ช่วยออก 1 คน (จะเหลือ 3 คน) และจะมีวัตถุดิบที่ 2 ซึ่งจะใช้ในการทำเมนูที่ 3 และเมนูที่ 4 และเมื่อเหลือ 20 นาทีสุดท้าย จะต้องตัดเชฟผู้ช่วยออกอีก 1 คน (จะเหลือ 2 คน) และจะมีวัตถุดิบปริศนา (Culinary Curve Ball) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนามาใช้ทำอาหารเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูที่ 5 และเมื่อหมดเวลา ทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟทั้ง 4 เมนูที่เหลือให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป เมื่อคณะกรรมการชิมอาหารทั้ง 4 เมนูเสร็จสิ้น จะต้องไปแข่งขันต่อในรอบ One-On-One Battle หรือการแข่งขันแบบตัวต่อตัวต่อไป

ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยเมื่อเปิดตัววัตถุดิบที่ 2 ไปแล้ว จะมีเวลาเหลืออีก 15 นาทีที่เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารและเสิร์ฟเมนูจากวัตถุดิบที่ 2 อีก 1 เมนูให้คณะกรรมการชิม และเมื่อหมดเวลา 60 นาที ทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟทั้ง 3 เมนูที่เหลือให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป

รอบ One-On-One Battle (การแข่งขันแบบตัวต่อตัว)[แก้]

ทั้งสองเชฟจะต้องแข่งขันกันแบบตัวต่อตัว โดยไม่มีเชฟผู้ช่วยเลย โดยจะต้องรังสรรค์อาหารจากวัตถุดิบหลัก 1 อย่าง และเมื่อประตู Supermaket เปิด ทั้งสองเชฟจะต้องไปช็อปปิ้งวัตถุดิบเพิ่มเติมใน Supermaket ภายใน 3 นาที เมื่อหมดเวลาประตูจะปิด ถ้าออกมาไม่ทันจะถูกขังไว้ใน Supermaket เป็นเวลา 5 นาที และจะต้องทำอาหารเมนูที่ 6 เมนูสุดท้ายภายในเวลา 30 นาที หลังเปิดตัววัตถุดิบ เมื่อหมดเวลาทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟเมนูที่ 6 เมนูสุดท้าย ให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป

ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน ได้มีการปรับกติกาการช็อปปิ้งวัตถุดิบใน Supermarket เล็กน้อย โดยอิงจากการเปลี่ยนสีของไฟฉากเป็นสีแดง ซึ่งยังคงมีเวลาในการช็อปปิ้งเพียง 3 นาทีนับตั้งแต่ไฟเปลี่ยนสี แต่จะไม่มีการขัง โดยหลังหมดเวลา ไฟฉากจะเปลี่ยนสีจากสีแดงกลับไปเป็นสีขาว และเชฟทั้งคู่จะต้องออกจาก Supermarket ทันที โดยไม่สามารถเข้าไปได้อีก

รูปแบบพิเศษ Fast & Delicious[แก้]

ใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เชฟทั้งสองฝ่ายจะมีเวลาทั้งหมด 75 นาที สำหรับการทำอาหารทั้ง 6 เมนู โดยทั้งสองฝ่ายจะไม่ทราบว่าโจทย์วัตถุดิบจะออกมาในเวลาใด และต้องเสิร์ฟภายในเวลาใด ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องบริหารเวลาด้วยตนเอง[2]

การตัดสิน[แก้]

ให้ทั้งเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงนำอาหารเข้าไปที่ห้อง Bidding Battle ของศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ในวันที่ 18 มิถุนายน - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565) หรือโต๊ะกรรมการด้านหลังของ Kitchen Stadium (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน) และอธิบายอาหารด้วยตัวเองเพื่อเสิร์ฟให้คณะกรรมการ 4 คน ที่มานั่งชิมอาหารพร้อมกัน โดยยังคงมีการวิจารณ์อาหารคล้าย ๆ กับรูปแบบก่อนหน้า ซึ่งมีเกณฑ์การตัดสินคะแนนคือ รสชาติ, ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก ส่วนลำดับเวลาการเสิร์ฟและคะแนนการตัดสินเป็นดังนี้

วันที่ใช้ \ เวลาเสิร์ฟ รอบแรก รอบ One-on-One Battle คะแนนสูงสุดต่อจาน
นาทีที่ 15 นาทีที่ 35 หลังจบรอบ หลังจบรอบ เมนูที่ 1-5 เมนูที่ 6 รวม
18 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เสิร์ฟ 1 เมนูจากวัตถุดิบที่ 1 ไม่ต้องเสิร์ฟ เสิร์ฟ 4 เมนูที่เหลือ เสิร์ฟเมนูที่ 6 15 คะแนน 30 คะแนน 105 คะแนน
6 สิงหาคม - 10 กันยายน พ.ศ. 2565 10 คะแนน 50 คะแนน 100 คะแนน
17 กันยายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน เสิร์ฟ 1 เมนูจากวัตถุดิบที่ 2 เสิร์ฟ 3 เมนูที่เหลือ

สำหรับรูปแบบ Fast & Delicious มีเกณฑ์การตัดสินคะแนนคือ รสชาติ, ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก ซึ่งจะให้คะแนนสูงสุด 10 คะแนนต่อจาน รวมคะแนนสูงสุด 60 คะแนน[3]

ทั้งนี้ หากเชฟผู้ท้าชิงสามารถชนะเชฟกระทะเหล็กได้ จะได้รับถ้วยรางวัลเชฟกระทะเหล็ก (Iron Chef Trophy) ไปครอบครองด้วย

เชฟกระทะเหล็ก[แก้]

รายชื่อเชฟกระทะเหล็กที่ปรากฏในรายการ ซึ่งแสดงสถิติการแข่งขันผลชนะ เสมอ แพ้ ของเชฟกระทะเหล็กแต่ละคน โดยกล่องสีจะแทนแถบสีของชุดเชฟกระทะเหล็ก

เชฟกระทะเหล็ก ความเชี่ยวชาญด้านอาหาร ชนะ เสมอ แพ้ ทั้งหมด % ชนะ สถานะ
  ชัยเทพ ภัทรพรไพศาล อาหารจีน (Chinese Cuisine) 1 0 1 2 50.0%
  พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย อาหารตะวันตก (Western Cuisine) 68 4 12 84 84.3%
  บุญธรรม ภาคโพธิ์ อาหารญี่ปุ่น (Japanese Cuisine) 43 4 16 63 73.8%
  ชุมพล แจ้งไพร อาหารไทย (Thai Cuisine) 45 4 5 54 87.0%
  เฮง ชุง ไล อาหารจีน (Chinese Cuisine) 1 1 5 7 21.4%
  ธนรักษ์ ชูโต อาหารจีน (Chinese Cuisine) 64 4 9 77 85.7%
  ธนัญญา วิลคินซัน อาหารหวาน (Dessert) 49 3 34 86 58.3%
  ธนินธร จันทรวรรณ อาหารอิตาเลียน (Italian Cuisine) 6 2 4 12 58.3%
  ประสพโชค ตระกูลแพทย์ อาหารเอเชียน (Asian Cuisine) 40 0 16 56 77.1%
  ธรรมศักดิ์ ชูทอง อาหารยุโรป (European Cuisine) 5 0 3 8 62.5%
  ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ อาหารฟิวชั่น (Fusion Cuisine) 21 0 9 30 70.0%
  พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร อาหารฝรั่งเศส (French Cuisine) 10 1 10 21 50.0%
  ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ อาหารยุโรป (European Cuisine) 16 0 6 22 72.7%
  มาร์ติน บลูโนส อาหารตะวันตก (Western Cuisine) 4 1 1 6 75.0%

การแข่งขัน[แก้]

วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้รายการบางครั้งก็จะมีราคาแพงและแปลกใหม่ เช่น ปลาเก๋ามังกร, ปลาแซลมอน, ปลาหมึกยักษ์, ปูทาราบะ แต่บางครั้งก็จะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายโดยทั่วไป เช่น กุ้งแม่น้ำ, กะหล่ำปลี เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็แสดงถึงความเป็นพื้นบ้านในประเทศไทย เช่น ปลาร้า, ไก่บ้าน โดยวัตถุดิบหลักในแต่ละสัปดาห์ทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะต้องนำมาทำอาหาร 5 เมนู ซึ่งจำนวนจานของอาหารแต่ละอย่างที่ต้องเตรียมในการตัดสินนั้นจะมีอย่างน้อย 6 จาน กล่าวคือ เตรียมให้ประธาน 1 จาน และคณะกรรมการตามจำนวนคณะกรรมการในแต่ละสัปดาห์ และต้องเตรียม 1 จาน ของอาหารแต่ละอย่างออกมาต่างหากสำหรับการถ่ายภาพและการนำเสนอ โดยอาหารทั้งหมดจะทำด้วยเชฟกระทะเหล็กและมีผู้ช่วย ปกติแล้วทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะเตรียมผู้ช่วยเชฟมาเองจำนวน 2 คน (ปัจจุบันต้องเตรียมผู้ช่วยเชฟ 3 คน เนื่องจากในการแข่งขันรอบปกติ จะต้องมีเชฟผู้ช่วยตลอดการแข่งขัน และมีการตัดผู้ช่วยเชฟออก 2 ครั้ง) และอุปกรณ์เครื่องครัว นอกเหนือจากทางรายการที่มีอยู่นำมาใช้ในรายการได้

กรรมการตัดสินในรายการ[แก้]

ในการตัดสินแต่ละครั้งจะมีกรรมการ 5 คน แต่บางครั้งอาจมี 4-6 คน ทั้งนี้อาจมีแขกรับเชิญเป็นดารา นักแสดงหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง 1-2 คนรวมอยู่ด้วย ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงจนเหลือกรรมการเพียง 4 ท่าน โดยกรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวงการอาหาร และมีชาวต่างชาติด้วยเป็นบางครั้ง เนื่องจากเป็นเชฟที่ประจำอยู่ตามภัคตาคารต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง

กรรมการประจำรายการ[แก้]

ตัวอย่างเช่น

  • สมศักดิ์ รารองคำ (เชฟสมศักดิ์) นายกสมาคมเชฟประเทศไทย กรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันทำอาหารเวทีโลก
  • หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) สุดยอดนักชิมและนักวิจารณ์อาหาร ผู้รอบรู้เรื่องวัตถุดิบ เดินทางชิมอาหารมาแล้วทั่วทุกมุมโลก
  • ลลนา พานิช (แมว) นักเดินทาง และนักชิมอาหารทั่วโลก
  • วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ (กุ้ง) บรรณาธิการบริหาร ไทยคลาส มีเดียกรุป
  • พีระพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์ (พีท) Food Blogger ชื่อดัง เจ้าของแฟนเพจ และยูทูปช่อง กินกับพีท (Eat with Pete)
  • สิริวธู รักษาเกียรติ (ตั๊ก) เค้กดีไซน์เนอร์ และ Food And Bakery คอนเซาท์แท่น ที่ปรึกษาด้านอาหารคาวหวาน นักชิมและนักวิจารณ์อาหาร
  • เนตรอำไพ สาระโกเศศ (เชฟเนตร) Executive Chef แถวหน้าของประเทศไทย ที่ดูแลร้านอาหารมากกว่า 20 สาขา
  • ชลทิพย์ ระยามาศ (โบว์ลิ่ง) บล็อกเกอร์ชื่อดัง จาก Eat and Shout กูรูนักชิมระดับประเทศ และคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ฟู้ดอินฟอเรนเซอร์ จากสิงคโปร์
  • แมทธิว เบลเล็ค (เชฟแมทธิว) ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและเครื่องดืม โรงแรมรอยัลออคิดเชอราตัน กรุงเทพมหานคร และโรงแรมรอยัลออคิดเชอราตัน หัวหินรีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • Olivier Castella (เชฟโอลิวิเย่ร์) Co-owner ร้าน 31 Degree Bistro และ President of Bocuse D’or Thailand
  • กิตติเดช วิมลรัตน์ (แทน) นักวิจารณ์อาหารและ Blogger เจ้าของเพจ ITan - แทนไร้เทียมทาน
  • อุบลรัตน์ ช่อธีระพฤกษ์ (มาดามตวง) Food Celeb แถวหน้าของประเทศไทย พิธีกรรายการอาหาร ที่ปรึกษาธุรกิจด้านอาหาร
  • จำนงค์ นิรังสรรค์ (เชฟจำนงค์) ที่ปรึกษาสมาคมเชฟประเทศไทย
  • ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์ (เชฟอาร์ต) เจ้าของ Chef’s table by Chef Art และคณะกรรมการตัดสินรายการอาหาร TOP CHEF Thailand
  • ภาคภูมิ สุวรรณเตมีย์ (คุณอาร์ต) คณะกรรมการเชลล์ชวนชิม และเจ้าของเพจเจริญพุงพเนจร ตามรอยตำนานร้านดัง
  • ชัชชญา รักตะกนิษฐ (อาจารย์บิ๊บ) เชฟ อาจารย์ และกรรมการผู้เชี่ยวชาญอาหารนานาชาติ

ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]