เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่
เจ้านายฝ่ายเหนือ
เกิด28 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
จังหวัดเชียงใหม่
อนิจกรรม2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (91 ปี)
คุ้มห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
คู่อภิเษกเต็ม ณ เชียงใหม่
ราชสกุลณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าบิดาเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)
มารดาหม่อมคำใส ณ เชียงใหม่

เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 — 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ

ประวัติ[แก้]

เจ้าไชยสุริวงศ์ เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของหม่อมคำใสกับเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)[1] ผู้กำกับการตำรวจมณฑลพายัพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบที่เหี้ยมหาญ มีวิชาคาถาอาคม และมีความใกล้ชิดกับเจ้าแก้วนวรัฐ ในฐานะนายตำรวจคนสนิทที่เจ้าแก้วนวรัฐมอบความไว้วางไว้ใจให้ทำหน้าที่เป็นควาญช้างพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลพายัพในปี พ.ศ. 2469

เจ้าไชยสุริวงศ์ มีศักดิ์เป็นราชปนัดดาในพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 มีเจ้านายพี่น้องร่วมกัน 10 คน ดังนี้

กำเนิดกับเจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่

  • เจ้าน้อยหน่อคำ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงจันทรโสภา ณ เชียงใหม่

กำเนิดกับ หม่อมคำใส ณ เชียงใหม่

กำเนิดกับ หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่

  • เจ้าน้อยอินทร์ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าน้อยหมอก ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (เป็นเจ้ายายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)

เจ้าไชยสุริวงศ์ มีบุตร 2 คน คือ ช่อแก้ว วิสุทธิ์เสรีวงศ์ และธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ

การดำรงชีวิต[แก้]

เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ โปรดการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เป็นนักเรียน และได้ยึดถือเป็นกิจวัตรประจำวัน ท่านได้ตั้งวงดนตรีขึ้นเล่นที่บ้าน และได้รับพระราชทานวโรกาสร่วมวงดนตรีกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมเจ้าไชยสุริวงศ์ที่คุ้มเชิงดอย และได้รับพระราชทานช่อดอกไม้จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อยู่บ่อยครั้ง

แม้ว่าเจ้าไชยสุริวงศ์ จะเป็นโอรสในเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่โปรดที่จะเรียกตัวเองว่า "เจ้า" และสั่งสอนลูกหลานมิให้เรียกตนเองว่าเจ้าด้วยเช่นกัน จึงมักจะพบเห็นได้ว่าในเอกสารต่างๆ ท่านมักจะใช้คำว่า "นาย" เป็นคำนำหน้านามเสมอ รวมแม้กระทั่งวาระสุดท้ายในหนังสือขอกราบบังคมทูลลาตาย ก็ใช้คำว่า "นายไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่"

การศึกษา[แก้]

เจ้าไชยสุริวงศ์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาโรงเรียนปิดกิจการลง จึงต้องเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ขณะนั้นมีอายุ 10 ขวบเท่านั้น (ประมาณปี พ.ศ. 2466) โดยเข้าเรียนรุ่นเดียวกันกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่[2] จนสำเร็จการศึกษา

บุกเบิกธุรกิจในเชียงใหม่[แก้]

ขบวนส่งสการเจ้าไชยสุริวงศ์

เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจโรงแรม โรงภาพยนตร์ และโรงพิมพ์ของเชียงใหม่ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ คือ โรงแรมสุริวงศ์ ถนนช้างคลาน พร้อมกับโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยแห่งแรกของเชียงใหม่ ด้วยระบบจอซีนีมาสโคป 70 มิลลิเมตร เสียงเซ็นเซอร์ราวนด์ ติดเครื่องปรับอากาศ

เมื่อธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้รับความนิยม ก็ได้สร้างโรงภาพยนตร์ในเครือสุริวงศ์ขึ้นอีกหลายแห่ง เพื่อสนองความต้องการของคนเชียงใหม่และคนในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ โรงภายนตร์สุริยา สุริยง รามา และแสงตะวัน อีกทั้งยังร่วมลงทุนสร้างภาพยนตร์ด้วย ขณะเดียวกับที่กิจการภาพยนตร์เฟื่องฟู ท่านได้เปิดธุรกิจโรงพิมพ์เพิ่มขึ้น คือ สุริวงศ์การพิมพ์ ซึ่งเป็นโรงพิมพ์แรก ๆ ของเชียงใหม่ ต่อมายังได้สร้างโรงแรมแม่ปิง และได้ริเริ่มก่อตั้งกิจการโรงแรมมีชื่อว่า "โรงแรมดวงตะวัน" (ปัจจุบันคือ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน) ร่วมกับบุตร ธิดา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาได้ขยายกิจการให้นายวัฒนา อัศวเหม ในปี พ.ศ. 2539[3] และเมื่อธุรกิจโรงแรม โรงภาพยนตร์ มีการแข่งขันสูง ประกอบกับความชรา เจ้าไชยสุริวงศ์ จึงขายกิจการทั้งหมด

งานการเมือง[แก้]

เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ เคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่หลายสมัย และเคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากลุ่มพัฒนาเวียงพิงค์[4][5]

ส่งสการเจ้าไชยสุริวงศ์[แก้]

เจ้าไชยสุริวงศ์ เป็นเจ้านายฝ่ายเหนืออีกท่านหนึ่งที่มีอายุยืนถึง 91 ปี ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[6] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ทรงพระราชทานพวงมาลาไว้อาลัยแก่เจ้าไชยสุริวงศ์

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือพิธีส่งสการตามแบบล้านนา ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547[7]วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้คุณพลอยไพลิน เจนเซน และคุณสิริกิติยา เจนเซน ได้โดยเสด็จด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่. 2547.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน