เจ้าอินทยงยศโชติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าอินทยงยศโชติ
เจ้าผู้ครองนครลำพูน
ครองราชย์3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2454
รัชกาล16 ปี
ก่อนหน้าเจ้าเหมพินธุไพจิตร
ถัดไปเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
พิราลัย18 มีนาคม พ.ศ. 2454
พระชายาแม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้ว
พระราชบุตร5 พระองค์
ราชสกุลณ ลำพูน
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
พระมารดาแม่เจ้าปิมปาราชเทวี

เจ้าอินทยงยศโชติ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

พระประวัติ[แก้]

เจ้าอินทยงยศโชติ มีพระนามเดิมว่าเจ้าอินทยศ เป็นราชโอรสในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้านครลำพูนองค์ที่ 7 โดยเป็นองค์เดียวที่เกิดแต่แม่เจ้าปิมปาราชเทวี ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าอุปราชนครลำพูน จนวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2441) จึงเลื่อนเป็นเจ้าอินทยงค์ยศโชติ์ วรโฆษกิตติโสภณ วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ์ ตทรรคเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน[1]

เจ้าอินทยงยศโชติ ป่วยเป็นโรคภายใน อาการทรงกับทรุดเรื่อยมา จนถึงแก่พิราลัยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2454[2] (พ.ศ. 2453 หากนับวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่) รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 16 ปี

ราชโอรส ราชธิดา[แก้]

เจ้าอินทยงยศโชติ มีราชโอรสและราชธิดา รวม 5 พระองค์ ณ ลำพูน มีนามตามลำดับ ดังนี้

  1. เจ้ามุกดา ณ ลำพูน - สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยเมืองไทย, เจ้าราชภาคินัยนครลำพูน"
  2. มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10
  3. เจ้าหล้า ณ ลำพูน - สมรสกับ "เจ้าน้อยจิตตะ ณ ลำพูน" ภายหลังสมรสกับ "เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ น้อยพุทธวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำพูน"
  • ใน หม่อมคำเที่ยง (มีราชธิดา 1)
    • เจ้าทิพนวล ณ ลำพูน
  • ใน หม่อมบัวจีน (มีราชธิดา 1)
    • เจ้าสายเขียว ณ ลำพูน
  • ใน หม่อมขันคำ (ไม่มีราชโอรส ราชธิดา)

พระกรณียกิจ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ในระหว่างรัชสมัยของเจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เป็นเจ้าหลวงนครลำพูน นับว่าเป็นยุคของการพัฒนานครลำพูน มีการตัดถนนจากเมืองลำพูนไปเมืองเชียงใหม่ และจากเมืองลำพูนไปเวียงป่าซาง การสร้างเหมืองฝาย ซึ่งเห็นได้จากหลักฐานแผนที่ของกระทรวงมหาดไทย ระหว่าง ปี พ.ศ. 2440-2450 แสดงให้เห็นถึงการตัดถนนสายสำคัญ ๆ ในเมืองลำพูน[4]

การสื่อสาร[แก้]

เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสาร จึงได้โปรดให้สร้างที่ทำการไปรษณีย์ขึ้นที่นครลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2449 ด้วยทรัพย์สินส่วนพระองค์ (ประมาณ 1,567 บาท) โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2449[5] และในปี พ.ศ. 2451 ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสาร จึงได้ช่วยอุดหนุนราชการของรัฐบาล โดยบริจาคเสาโทรเลข จำนวน 234 ต้น[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "พระราชทานหิรัญบัตรและสัญญาบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 14 (41): 701. 9 มกราคม ร.ศ. 116. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "ข่าวพิราไลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27: 3124. 26 มีนาคม ร.ศ. 129. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. ภาพล้านนาในอดีต แม่เจ้ารถแก้ว ณ ลำพูน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. เจ้าอินทยงยศโชติ...เจ้าหลวงลำพูนผู้มีบทบาทในการสร้างถนน[ลิงก์เสีย]
  5. แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ (เรื่อง เจ้าอินทยงยศโชติเจ้านครลำพูนสร้างที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 หลัง ทูลเกล้า ฯ ถวายเป็นของรัฐบาล)
  6. ประกาศกระทรวงโยธาธิการ (เรื่อง เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ให้เสาโทรเลขไว้ใช้ราชการ)
  7. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  8. ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน
บรรณานุกรม
ก่อนหน้า เจ้าอินทยงยศโชติ ถัดไป
เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้านครลำพูน
(พ.ศ. 2439-2454)
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์