เจ้าพิริยเทพวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์)
เจ้าพิริยเทพวงษ์

เจ้าน้อยเทพวงษ์
เจ้าผู้ครองนครแพร่
ครองราชย์5 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445
ก่อนหน้าพระยาพิมพิสารราชา
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379
เจ้าน้อยเทพวงษ์
พิราลัยพ.ศ. 2455
หลวงพระบาง ประเทศลาว
พระชายาแม่เจ้าบัวถามหาเทวี (หย่า)
แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี
แม่เจ้าบัวแก้วเทวี
เจ้านางจันหอม
หม่อมบัวคำ
หม่อมไม่ทราบนาม
หม่อมคำป้อ
หม่อมเที่ยง
พระนามเต็ม
เจ้าพิริยเทพวงษ์ ดำรงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่
พระบุตร14 องค์
ราชวงศ์แสนซ้าย
พระบิดาพระยาพิมพิสารราชา
พระมารดาแม่เจ้าธิดาเทวี
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง
ราชวงศ์แสนซ้าย
*พระยาแสนซ้าย
*พระยาเทพวงศ์
*พระยาอินทวิไชย
พระยาพิมพิสารราชา
เจ้าพิริยเทพวงษ์

น้อยเทพวงษ์ หรืออดีตเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นต้นราชตระกูลเทพวงศ์

ราชประวัติ[แก้]

น้อยเทพวงษ์ประสูติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379 เป็นราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา และแม่เจ้าธิดาเทวี[1] มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดา 3 องค์ คือ

  1. แม่เจ้าไข
  2. แม่เจ้าเบาะ
  3. แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา

ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอุปราชเมื่อปี พ.ศ. 2421 เมื่อบิดาป่วย ท่านก็ได้ว่าราชการแทน จนได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแพร่เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2433 มีราชทินนามว่า "พระยาพิริยวิไชย อุดรพิไสยวิผารเดช บรมนฤเบศร์สยามมิศร์ สุจริตภักดี เจ้าเมืองแพร่"[2] และเลื่อนเป็นเจ้านครเมืองแพร่ในปี พ.ศ. 2443 มีราชทินนามว่า "เจ้าพิริยเทพวงษ์ ดำรงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่"[3]

ราชโอรส-ธิดา[แก้]

เจ้าพิริยเทพวงษ์มีพระชายา และหม่อมทั้งหมด 8 องค์ ดังนี้[4]

ไม่มีราชบุตรด้วยกัน ได้รับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดาเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) กับแม่เจ้าคำ มาเป็นธิดาบุญธรรม) สมรสกับ หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง)

  • แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี (แม่เจ้าหลวง) ต.จ.[5] ธิดาเจ้าไชยสงคราม(เจ้าคำลือ) (เชื้อสายเจ้านายเมืองพะเยา) เจ้าไชยสงครามนครแพร่ กับเจ้านางอิ่นแก้ว (เชื้อสายเจ้านายเมืองยอง)
    • เจ้ากาบคำ วราราช สมรสกับเจ้าอุปราช (น้อยเสาร์ วราราช) เจ้าอุราปราชนครแพร่ มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าอินทวงศ์ (อินต๊ะวงศ์) วราราช สมรสกับ เจ้าลูน วราราช (สกุลเดิม;อิ่นคำลือ) มีธิดา ดังนี้
        • เจ้ามาลีนี ประชาบาล (ชื่อเดิม;เม่น วราราช) สมรสกับ นายห้วน ประชาบาล
        • เจ้ายุพา วิจิตร (ชื่อเดิม;ลิ่น วราราช) สมรสกับ นายนวล วิจิตร
        • เจ้าลาวัณย์ บรรณโสภิต (ชื่อเดิม;ล่อน วราราช) สมรสกับ นายวิชาญ บรรณโสภิต
      • เจ้าพลอยแก้ว อุตรพงศ์ สมรสกับ เจ้าน้อยชื่น อุตรพงศ์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • เจ้าคำเมา อุตรพงศ์
        • จ่าสิบตรี เจ้าชาญ (ชื่อเดิม;บุญยืน) อุตรพงศ์
      • เจ้าทิพย์เนตร อารีราษฏร์ สมรสกับ พันตำรวจตรีหลวงอารีราษฏร์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นายสฤษฐ์ อารีราษฏร์ สมรสกับ นางสมคิด
        • นางน้อมศรี เนาวังวราห์ สมรสกับ นายปิยะ เนาวังวราห์
        • นางสาวจิราภรณ์ อารีราษฏร์
        • นางสาวนิตยา อารีราษฏร์
        • นางปราณีต อารีราษฏร์
        • นางสุวรรณา สันติกุล สมรสกับ นายพงษ์กฤช สันติกุล
        • นางลิจฉวี บุญญพันธุ์ สมรสกับ นาวาอากาศเอก (พิเศษ)อ่อน บุญญพันธุ์
        • พลตรี นคร อารีราษฏร์ สมรสกับ นางพวงแก้ว
    • เจ้าเวียงชื่น (หรือ เมืองชื่น บุตรรัตน์) สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (น้อยบุญศรี บุตรรัตน์ ) เจ้าราชวงศ์นครแพร่ (โอรสเจ้าราชบุตร(หนานขัติยะ) เจ้าราชบุตรนครแพร่ กับแม่เจ้าพิมพา) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าอินทร์คุ้ม บุตรรัตน์ สมรสกับ เจ้าน้อยไชยวงศ์ ศรีจันทร์แดง มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • เจ้าศรีมุ หัวเมืองแก้ว
        • จ่าสิบตรี เจ้าบุญปั๋น ศรีจันทร์แดง
        • เจ้าปิ่นแก้ว ศรีจันทร์แดง
        • เจ้าตั๋น ศรีจันทร์แดง
      • เจ้าอินทร์สม บุตรรัตน์
      • เจ้าตาวคำ ศรุตานนท์ สมรสกับ หลวงนุภาณศิษยานุสรรค์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
    • เจ้าสุพรรณวดี ณ น่าน สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยยอดฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรนครแพร่ (ราชโอรสพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน กับแม่เจ้ายอดหล้าราชเทวี) ภายหลังถูกลดไปเป็นเจ้าราชดนัยนครน่าน มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าสร้อยฟ้า โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับ รองอำมาตย์โทขุนโลหะพจน์พิลาศ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นายสมพงษ์ โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับ นางแสงเดือน (ชื่อเดิม;นางผ่องใส กันทาธรรม) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นางสุภาพ แวงศิริ
        • นางวรรณแวว ไชยวงศ์
        • นายโสภณ แสงศิริ
      • เจ้าวิลาวัณย์ ณ น่าน
    • เจ้ายวงคำ เตมียานนท์ สมรสกับเจ้าไชยสงคราม (จอน เตมียานนท์) เจ้าไชยสงครามนครแพร่ มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าทิพย์เกษร เตมียานนท์ สมรสกับ พระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาศ) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นายแพทย์ เกริก ผลนิวาศ สมรสกับ แพทย์หญิง จรูญ ผลนิวาศ (สกุลเดิม;ธีรเนตร)
        • นายเดชไกร ผลนิวาศ นางนาภิช (สกุลเดิม;ไกรฤกษ์)
        • นางผ่องศรี กาสล่าร์ สมรสกับ นายอเล็กซานเตอร์ กาสล่าร์
        • นางปรียา สีบุญเรือง สมรสกับ นายจิตติน สีบุญเรือง
        • นายกฤช ผลนิวาศ
        • นายเกรน ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;วงศ์บุรี) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นางธัญญา สุรัสวดี สมรสกับ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี มีบุตร ดังนี้
            • นายปิ่นสาย สุรัสวดี
            • ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี
          • นายสาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางวัชรี ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;ลักษณาศัย)
          • นายอรรณพ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางนลินี ประชาศรัยสรเดช
          • เด็กหญิงกรรณิกา ประชาศรัยสรเดช (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
          • นางมาลินี ศรีสมวงศ์ สมรสกับ นายประเสริฐ ศรีสมวงศ์
        • นางศรีวรรณ สุนทรเนตร สมรสกับ นายสนอง สุนทรเนตร มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายเทอดกุล สุนทรเนตร สมรสกับ นางจูเลียต
          • นางสุนทรา สวัสดิเกียรติ์ สมรสกับ นายศีริชัย สวัสดิเกียรติ์
          • นายชยาวุธ เล็กประยูร สมรสกับ นางจริยา
        • นางมัณฑนา นนทสุต สมรสกับ ดร.โชติแสง นนทสุต มีบุตร ดังนี้
          • นายไชยยงค์ นนทสุต สมรสกับ นางสุวรรณา ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;เลิศกิจจา)
        • นายกรีน ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางสุเดช ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อัศวเสนา) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายทวิรส ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางจิตนา ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;ปลอดโปร่ง)
          • นางรศนา สิทธิคู สมรสกับ นายพงษ์ไพบูลย์ สิทธิดู
        • นายสุเมธ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางประพิศ (สกุลเดิม;บุญเรือง) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายชัชวาลย์ ประชาศรัยสรเดช
          • นายธราธาร ประชาศรัยสรเดช
          • นางประไพพรรณ พิสัยนนทฤทธิ์ สมรสกับ พันตำรวจตรี เกรียงไกร พิสัยนนฤทธิ์
        • นางประภาส ว่องปรีชา สมรสกับ นายเชี่ยว ว่องปรีชา มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นางทรรศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา สมรสกับ นายอนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
          • นายศิระ ว่องปรีชา
          • นางสาวอรนุช ว่องปรีชา
          • นายชาญ ว่องปรีชา
        • นางฉวีวรรณ พิพัฒนโภคา สมรสกับ นายชวลิต พิพัฒนโภคา มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายจิระ พิพัฒนโภคา สมรสกับ นางกาญจนีย์ พิพัฒนโภคา (สกุลเดิม;สระแก้ว)
          • นางกรันยา โชติสรยุทธ์ สมรสกับ นายเฉลิมชัย โชติสรยุทธ์
          • นางสาวพิชชา พิพัฒนโภคา
          • นายพงศธร พิพัฒนโภคา
        • นายเกียรติ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางอรพรรณ (สกุลเดิม;อเนกกานนท์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายก้องเกียรติ ประชาศรัยสรเดช
          • นางเก็จกรรณ เดอร์ (ประชาศรัยสรเดช) สมรสกับ นายธยานิธิ เดอร์
          • นายเกียรติ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางเพทาย ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อินทรทัต) มีธิดา ดังนี้
            • นางสาววิศรา ประชาศรัยสรเดช
        • นายศักดิ์ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางอานะวรรณ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อเนกานนท์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
          • นายอเล็ก ประชาศรัยสรเดช
          • นายอาจ ประชาศรัยสรเดช
          • นางสาวปิยวดี ประชาศรัยสรเดช
        • นายโชคชัย ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางเจริญรัตน์ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;สุขุม) มีธิดา ดังนี้
          • นางสาวกษมา ประชาศรัยสรเดช
          • นางสาวกรกฎา ประชาศรัยสรเดช
      • เจ้าดารารัศมี เตมียานนท์
      • เจ้ามณีนพรัตน์ เตมียานนท์
    • เจ้ายวงแก้ว เทพวงศ์ สมรสกับพระยามานิตย์ราชมนัส และนายมาร์ติน มีโอรสคือ
      • เจ้าชาลี เทพวงศ์ (เกิดจากนายมาร์ติน) สมรสกับนางบัวเหลียว ทิพย์จักร มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นายชรินทร์ เทพวงศ์
        • นายชลอ เทพวงศ์ สมรสกับ นางสุพิน
        • นางอารมณ์ เทพวงศ์
        • พันตำรวจโท ชัชวาลย์ เทพวงศ์
        • นางอรุณี เทพวงศ์ สมรสกับ นายพิเชษฐ สุขเจริญ
        • นายชวลิต เทพวงศ์
        • นางอุไรวรรณ เทพวงศ์
        • นางอมรา เทพวงศ์ สมรสกับ นายนริทธิ์ เสมรสุทต
    • เจ้าหอมนวล ศรุตานนท์ สมรสกับพระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • คุณผลิ ศรุตานนท์ สมรสกับ คุณสุดสวาท ศรุตานนท์ (สกุลเดิม;กุสุมารทัต) มีธิดา ดังนี้
        • นางพนอ นิลกำแหง (ศรุตานนท์) สมรสกับ พันเอก (พิเศษ) ประเวศ นิลกำแหง
      • คุณหวลกลิ่น เดชาติวงศ์ สมรสกับ หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นางกุศลิน ศรียาภัย สมรสกับ นายนิตย์ ศรียาภัย
        • นายสุธีร์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ แพทย์หญิงขวัญฤดี เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
        • นางสาวกีรติ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
      • คุณเผด็ต ศรุตานนท์ สมรสกับ เจ้าศรีพรรณ หัวเมืองแก้ว (ธิดาเจ้าน้อยสิงห์แก้ว หัวเมืองแก้ว กับเจ้าธิดา มหายศปัญญา) มีบุตร ดังนี้
        • นายเผดิมพันธุ์ ศรุตานนท์
    • เจ้าอินทร์แปลง หรืออินทร์แปง เทพวงศ์ เสกสมรสกับนางจ้อย (ข้าหลวงในวังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ), เจ้าคำเกี้ยว วงศ์พระถาง (ธิดาเจ้าน้อยสวน กับเจ้าฟองแก้ว วงศ์พระถาง) และเจ้าเทพเกสร ณ น่าน (ราชธิดาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน กับแม่เจ้ายอดหล้า) มีโอรสดังนี้
      • เจ้าอินทร์เดช เทพวงศ์ หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) สมรสกับ นางจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตรดังนี้
      • เจ้าอินทร์ศร เทพวงศ์ สมรสกับ นางคำป้อ เทพวงศ์ มีธิดาดังนี้
        • นางมาลี ถนอมคุณ สมรสกับ พันเอก(พิเศษ) บุญชื่น ถนอมคุณ
        • นางมาลัย รูปวิเชตร สมรสกับ นายอดุลย์ รูปวิเชตร
      • เจ้าอินทร์ทรงรัศมี เทพวงศ์ สมรสกับ นางอุไร เทพวงศ์ มีบุตรดังนี้
        • นายจงรักษ์ เทพวงศ์ ปัจจุบันคือหลวงพ่อจงรักษ์ วรญาโณ
  • แม่เจ้าบัวแก้วเทวี
    • เจ้าคำมูล เทพวงศ์ เสกสมรสกับ พระยาพิทักษ์ทวยหาญ และสามีฝรั่ง มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • คุณสร้อยมาลี ณ ป้อมเพชร (เกิดจาก พระยาพิทักษ์ทวยหาญ) สมรสกับ นายแพทย์บุญชัย ณ ป้อมเพชร
      • คุณวัลลภ วีระวัฒนพันธุ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
      • คุณโกศล เทพวงศ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
      • คุณโอยุทธ วีระวัฒนพันธุ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
  • หม่อมบัวคำ
    • เจ้าหนานอินทร์สม แก่นจันทร์หอม เสกสมรสกับ นางคำมูล มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าอินทร์ตา แก่นจันทร์หอม
      • เจ้าต่อง แก่นจันทร์หอม
      • เจ้าธรรมดา แก่นจันทร์หอม
  • หม่อมไม่ทราบนาม
    • เจ้าหนานอินทร์ตั๋น แก่นหอม เสกสมรสกับนางคำปิ๋ว และเจ้าคำเม็ด วงศ์พระถาง (ธิดาเจ้าวงศ์ กับเจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
      • เจ้าน้อยปุ๋ม แก่นหอม (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
      • เจ้าน้อยน่วม แก่นหอม(เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
      • เจ้าเขียว วังซ้าย (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยตัน วังซ้าย (บุตรเจ้าวังซ้าย(หนานมหาจักร) กับเจ้าคำค่าย วังซ้าย) มีบุตรดังนี้
        • เจ้าแก้วเมืองมา วังซ้าย
        • เจ้าศิริ(ศรีนวล) วังซ้าย
      • เจ้าเปี้ย วงศ์คำ (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
      • เจ้าน้อยจู แก่นหอม (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับ เจ้าจ๋อย บุตรรัตน์ (ธิดาเจ้าน้อยจุ๋งแก้ว กับแม่นายมา บุตรรัตน์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • เจ้าบุญส่ง แก่นหอม
        • เจ้าบุญศรี แก่นหอม
        • เจ้าบุญปั๋น แก่นหอม
        • เจ้าบุญสม แก่นหอม
        • เจ้าบุญดี แก่นหอม
        • เจ้าบุญเสริม แก่นหอม
        • เจ้าบุญช่วย บุญราศรี
        • เจ้าวิบูลย์ แก่นหอม
      • เจ้าบัวเตียว ทุ่งมีผล (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยเป็ก ทุ่งมีผล (บุตรเจ้าน้อยทอง กับเจ้ากุย ทุ่งมีผล) ไม่มีบุตร
      • เจ้าแก้วไหลมา วงศ์พระถาง (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยสิงหล วงศ์พระถาง (บุตรเจ้าน้อยเสาร์ วงศ์พระถาง กับเจ้าพลอย ใยญาณ) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • เจ้าศรีเมฆ บุนนาค
        • เจ้าวัลลภ วงศ์พระถาง
        • เจ้าประสิทธิ์ วงศ์พระถาง
  • หม่อมคำป้อ
    • เจ้าบุญปั๋น เทพวงศ์ เสกสมรสกับพ่อเลี้ยงอองคำ มีธิดาดังนี้
      • แม่นายบัวเทพ วิจิตร สมรสกับ พ่อเลี้ยงส่างนวล วิจิตร (บุตรส่างอินถา กับเจ้าคำปวน มหายศปัญญา) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
        • นายอรรถ วิจิตร (บิดาพระครูวิจิตรธรรมาภรณ์)
        • นางบัวคำ วิจตร
        • นางบัวสร้อย สุวรรณกนิค
  • หม่อมเที่ยง
    • เจ้าปิ้น อุตรพงศ์ เสกสมรสกับ เจ้าน้อยคำ อุตรพงศ์ (บุตรเจ้าคำแสน กับเจ้าเลี่ยม อุตรพงศ์) มีบุตรดังนี้
      • เจ้าบุญนำ อุตรพงศ์ สมรสกับนาง(เจ้า)ชื่น วังซ้าย (ธิดาเจ้าน้อยหมวก กับเจ้าแสงแก้ว วังซ้าย) มีบุตรคือ
        • นายศุภชัย อุตรพงศ์
      • เจ้าจันทร์ หรือเจ้าน้อย (เทพวงศ์) สมรสกับ นายคมูล สิกขะมณฑล  มีบุตรดังนี้
        • นายบำรุ่ง สิกขะมณฑล

เจ้านางจันหอม พระนัดเจ้าอุปราช (เจ้าบุญคง) เมืองหลวงพระบาง ขณะลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบาง

  • เจ้าคำมั่น เทพวงศ์ หรือ เจ้าอินทร์ประสงค์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดบวม ขณะอายุได้ 18 ปี ที่นครแพร่

ราชสกุลของทายาทสายเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ คือ เทพวงศ์ แพร่พันธุ์ แก่นจันทร์หอม แก่นหอม ส่วนนามสกุลของธิดาเจ้าหลวงที่ต้องใช้ของฝ่ายสามีคือ เตมียานนท์ ศรุตานนท์ วรราช บุตรรัตน์ และ ณ น่าน[6]

บั้นปลายชีวิต[แก้]

ภายหลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวสยามได้ปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ออกจากการเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ และถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ให้เรียกว่า น้อยเทพวงษ์ ท่านได้ลี้การเมืองไปประทับยังหลวงพระบาง ประเทศลาว[7] โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชีวิตวังหน้าแห่งหลวงพระบาง โดยมอบตำแหน่งกำนันบ้านเชียงแมน ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบางให้ท่าน และยกหลานสาวชื่อนางจันหอมให้เป็นชายาเพื่อปรนนิบัติ พร้อมกับบ่าวไพร่ชาวลาว จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2455 สิริอายุ 76 ปี ซึ่งมีการรายงานเข้ามายังกรุงเทพฯ ถึงการเสียชีวิตของน้อยเทพวงษ์ ซึ่งทางราชการสยามเพียงแต่รับทราบโดยไม่มีความคิดเห็นใด ๆ

กรณียกิจ[แก้]

  • ในด้านการปกครอง ท่านได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาลส่วนกลางในการแก้ไขปฏิรูปการปกครองจากระบบหัวเมืองประเทศราชมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งนำมาใช้ในเมืองแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2439
  • ในด้านการศึกษา เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ให้การส่งเสริมการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อสนองพระบรมราโชบายการจัดตั้งโรงเรียนหนังสือไทยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นและเปิดสอนเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชหฤทัยยินดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนเทพวงษ์" ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 และปี พ.ศ. 2445 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยตัวอย่างตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงให้จัดตั้งโรงเรียนตัวอย่างขึ้นตามหัวเมืองสำคัญต่างๆ ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 โดยมีชื่อว่า "โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 พระยานิกรกิตติการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนที่ 4 ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่)ในปัจจุบัน ซึ่งได้อาศัยที่ดินของคุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่) โดยสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนขึ้นใหม่ มีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากมหาชนชาวเมืองแพร่ทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดี มีพระยาบุรีรัตน์ คุ้มวงศ์บุรี กรมที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ มอบไม้สัก 100 ท่อนในการสร้างอาคารไม้ขึ้น ในกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" เมื่อวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าพิริยเทพวงษ์และเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยได้รับพระราชทานอนุญาตให้ประดิษฐานพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ประดับไว้หน้ามุขอาคารไม้สัก และได้รับป้ายนามโรงเรียนที่มีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้" ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ (ปัจจุบันอาคารไม้สักและที่ดินเดิมเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
  • ในด้านสาธารณะประโยชน์ เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ซ่อมถนนพร้อมทำสะพานข้ามห้วยและลำเหมือง จำนวน 24 แห่ง ทำวยไม้สักทุกๆสะพานเป็นถาวรแน่นหนามั่นคง ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อสะพานจากรัชกาลที่ 5 ทั้ง 24 สะพาน
  • ในด้านพระพุทธศาสนา เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดหลวงหรือ วัดหลวงสมเด็จ วัดพระนอนจุฑามาศ วัดสวรรคนิเวศน์ วัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันคือวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) และปูชนียสถานที่สำคัญของบ้านเมืองคือ วัดพระธาตุช่อแฮ และเป็นผู้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้กับวัดศรีชุม ในปีพ.ศ. 2445

ยุคสมัยของเจ้าพิริยเทพวงศ์ครองเมืองแพร่ อาชีพที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่ ผู้ประกอบการคือ การทำป่าไม้ จึงเป็นที่สนใจของบริษัททำไม้ทั้งของชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งเจ้านายพื้นเมือง ตั้งแต่เจ้าผู้ครองเมืองลงมาถึงเจ้านาย บุตรหลานต่างมีอาชีพในการทำ ป่าไม้ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลบริษัทต่างประเทศ มีบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าของอังกฤษ และประชาชนในบังคับของอังกฤษ มีชาวพม่าและไทใหญ่หรือเงี้ยวเข้ามาทำกิจการทำไม้ในแพร่ รวมทั้งบริษัทอีสต์เอเชียติกของเดนมาร์กด้วยที่มีสัมปทานในการทำป่าไม้สักในเมืองแพร่

เหตุการณ์กบฎเงี้ยวเมืองแพร่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าเมืองแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดจากยศตำแหน่ง[8] ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน[9] แม้จนสุดท้ายแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พ.ศ. 2379 - 2421 เจ้าน้อยเทพวงษ์
  • พ.ศ. 2421 - 2432 พระยาอุปราชนครแพร่
  • พ.ศ. 2432 - 2443 พระยานครแพร่
  • พ.ศ. 2443 - 2445 เจ้านครแพร่
  • พ.ศ. 2445 น้อยเทพวงษ์

สิ่งอันเนื่องนาม[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อำเภอเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์, เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 7, ตอน 2, 13 เมษายน ร.ศ. 109, หน้า 21
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 17, ตอน 42, 13 มกราคม ร.ศ. 119, หน้า 604
  4. อำเภอเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท), เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 17, 23 ธันวาคม 2443, หน้า 557
  6. เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท) .หมู่บ้าน วัง ฟ่อน สืบค้น 21 ตุลาคม 2559
  7. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประวัติเจ้าพิริยเทพวงศ์ (เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ ออกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่, 5 ตุลาคม ร.ศ. 121, เล่ม 19, หน้า 536
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้านครแพร่ ออกจากสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์, 12 ตุลาคม ร.ศ. 121, เล่ม 19, หน้า 566
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๗, ตอน ๔๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๔๓, หน้า ๖๑๘
  11. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า เจ้าพิริยเทพวงษ์ ถัดไป
พระยาพิมพิสารราชา
เจ้าผู้ครองนครแพร่
เจ้าผู้ครองนครแพร่
(5 เมษายน พ.ศ. 2432 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445)
ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่

(พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2455)
สิ้นสุดตำแหน่ง
เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์
ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่