เจ้าหญิงแห่งเวลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงแห่งเวลส์
แคเธอริน
เจ้าหญิงแห่งเวลส์พระองค์ปัจจุบัน
สถาปนา10 ตุลาคม 1361
องค์แรกโจนแห่งเคนต์
องค์ปัจจุบันแคเธอริน
คู่สมรสเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Princess of Wales, เวลส์: Tywysoges Cymru) เป็นพระอิสริยยศกิตติมศักดิ์ (courtesy title) สำหรับพระวรชายาของเจ้าชายแห่งเวลส์ อันเป็นพระอิสริยยศของรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่เจ้าชายแห่งเวลส์ชาวอังกฤษพระองค์แรกเมื่อปี ค.ศ. 1302 ด้วยหลักศีลธรรมและข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าชายแห่งเวลส์บางพระองค์ไม่ได้เสกสมรสก่อนการเสวยราชสมบัติ จึงทำให้แท้จริงแล้วมีเจ้าหญิงแห่งเวลส์เพียงแค่ 11 พระองค์

รายพระนามเจ้าหญิงแห่งเวลส์[แก้]

เจ้าหญิงที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 11 พระองค์ ดังนี้

ลำดับ พระรูป พระนาม
ประสูติ
ดำรงตำแหน่ง
จาก (ปี) ถึง (ปี)
ปีที่เสกสมรส พระสวามี
ชาตะ
หมายเหตุ
1 โจนแห่งเคนต์
1328–1385
1361–1376 1361 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ
1330–1376
2 แอนน์ เนวิลล์
1456–1485
1470–1471 1470 เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
1453–1471
3 เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งอารากอน
1485–1536
1501–1502 1501 เจ้าชายอาเธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
1486–1502
4 เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งอันสบาค
1683–1737
1714–1727 1705 พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่
1683–1760
5 เจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา
1719–1772
1736–1751 1736 เจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์
1707–1751
6 เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเบราน์ชไวก์
1768–1821
1795–1820 1795 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
1762–1830
7 เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก
1844–1925
1863–1901 1863 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
1841–1910
8 เจ้าหญิงวิกตอเรีย แมรีแห่งเท็ก
1867–1953
1901–1910 1893 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
1865–1936
9 เลดีไดอานา สเปนเซอร์
1961–1997
1981–1996 1981 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
1948–ปัจจุบัน
ทรงหย่ากับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1996
10 คามิลลา แชนด์
1947–ปัจจุบัน
2005–2022 2005 ทรงใช้พระอิสริยยศหลักเป็น "ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์"[1]
11 แคเธอริน มิดเดิลตัน
1982–ปัจจุบัน
2022–ปัจจุบัน 2011 เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์
1982–ปัจจุบัน

เจ้าหญิงแห่งเวลส์องค์ก่อนหน้านั้นคือ สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร (พระนามเดิม คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์) ซึ่งทรงเลือกที่จะไม่ใช้พระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์[2] แต่ทรงใช้พระอิสริยยศหลักเป็น "ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์" อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่ยังคงรู้สึกผูกพันกับผู้ที่ครองอิสริยยศนี้มาก่อน ได้แก่ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์หลายพระองค์ทรงเถลิงพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) นอกนั้นมีพระอิสริยยศเป็น "เจ้าหญิงม่ายแห่งเวลส์" หรือ Dowager Princess of Wales หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี (ภายหลังการสมรสของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และ เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอารากอน เป็นโมฆะ เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนกลับไปเป็น เจ้าหญิงม่ายแห่งเวลส์ ซึ่งเป็นพระอิสริยยศเดิม ในฐานะที่เป็นพระชายาม่ายของเจ้าชายอาร์เธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระเชษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เพราะพระองค์ไม่ทรงต้องการยอมรับว่าได้เคยทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย)

ตามรูปแบบของการให้สิทธิพระราชโอรสสืบสันตติวงศ์ก่อนพระราชธิดาที่ใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร การดำรงพระอิสริยยศเป็น รัชทายาทโดยนิตินัย (heiress apparent) สำหรับพระราชธิดานั้นเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัย เนื่องจากว่าในทางทฤษฎีแล้วเป็นไปได้ที่พระมหากษัตริย์ที่ทรงราชย์จะมีพระราชโอรสมาแทนที่พระราชธิดา โดยมากเป็นเพียง รัชทายาทโดยพฤตินัย (heiress presumptive) มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือ ถ้ารัชทายาทโดยนิติของพระมหากษัตริย์ทรงมีแต่พระธิดา และสิ้นพระชนม์ไปก่อน พระธิดาพระองค์ใหญ่จะทรงเป็นรัชทายาทโดยนิตินัยทันที

ในความเป็นจริงแล้ว มีอยู่หลายครั้งที่เห็นชัดว่ารัชทายาทโดยพฤตินัยที่เป็นผู้หญิงได้สืบราชบัลลังก์ (ที่เด่นชัดที่สุดคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อยังมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงรัชทายาท) แต่ก็ไม่ทรงเคยได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์"

เจ้าหญิงแห่งเวลส์มิใช่เจ้าหญิงตามสิทธิของตนเอง[แก้]

อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ยาวนานที่สุด

ในทางตรงข้ามกับความเชื่อทั่วไป พระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์มิใช่เจ้าหญิงตามราชสิทธิของเจ้าหญิงองค์นั้น ในขณะที่เจ้าหญิงบางพระองค์ในอดีต เช่น เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอารากอน และ เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ยังคงทรงใช้ชื่อเรียกว่า เจ้าหญิงแคทเธอรีน และ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา เมื่อทรงอภิเษกสมรสและได้ดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นเพราะว่าทั้งสองพระองค์ประสูติเป็นเจ้าหญิงมาแต่เดิม (แห่งสเปนและเดนมาร์ก ตามลำดับ) แม้ว่าประชาชนเรียกขานไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นเจ้าหญิงไดอานา ภายหลังจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ แต่นั่นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังที่ไดอานาเองเคยกล่าวไว้ เพราะว่าไม่ได้เป็นเจ้าหญิงตามสิทธิของตนเองดังเช่นเดียวกับ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอนวอลล์ จะไม่ใช่ เจ้าหญิงคามิลลา

เมื่อมีการเลือกเฟ้นพระอิสริยยศสำหรับอนาคตสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ความเป็นไปได้ในการแต่งตั้งพระองค์เป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ตามพระราชสิทธิของพระองค์เองได้ถูกหยิบยกเป็นประเด็นขึ้นมา แต่ต่อมาได้ถูกคัดค้าน เพราะว่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์เป็นพระอิสริยยศกิตติมศักดิ์ (courtesy titile) ซึงถือครองโดยพระชายาในเจ้าชายแห่งเวลส์ ถ้านำพระอิสริยยศมาใช้กับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ จะทำให้ลดพระราชสิทธิในฐานะเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร หากไม่มีพระราชหัตถเลขาแต่งตั้งหรือการออกพระราชบัญญัติให้เป็นในทางตรงกันข้าม

พระอิสริยยศอื่นของเจ้าหญิงแห่งเวลส์[แก้]

ราชินีแมรี เป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระองค์สุดท้ายที่มีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้าหญิง

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ซึ่งมาจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ ยังทรงดำรงพระอิสริยยศรองอื่นทั้งหมดของเจ้าชายแห่งเวลส์อีกด้วย ดังต่อไปนี้

  • ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์
  • ดัชเชสแห่งโรธเซย์ (ซึ่งเป็นพระอิสริยยศที่รู้จักในสก็อตแลนด์)
  • เคาน์เตสแห่งเชสเตอร์
  • เคาน์เตสแห่งคาร์ริค
  • บารอนเนสแห่งเรนฟรูว์
  • เลดี้แห่งไอเอิลส์
  • เจ้าหญิงและจอมทัพหญิงแห่งสก็อตแลนด์

ในบรรดาพระอิสริยยศทั้งหมด เจ้าหญิงแห่งเวลส์เป็นพระอิสริยยศที่ใช้อย่างเป็นทางการ โดยจะมีลำดับขั้นที่สูงกว่าบรรดาศักดิ์ขุนนางต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไว้ในตัวอย่างของคามิลลา เจ้าหญิงแห่งเวลส์องค์ปัจจุบัน พระอิสริยยศรองอันใดอันหนึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างง่ายดายและถูกต้องตามกฎหมาย ดังตัวอย่างเช่น เมื่อไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้เปิดแผนกใหม่ของสวนสัตว์เชสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2527 ทรงได้รับการเรียกขานว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแห่งเวลส์ เคาน์เตสแห่งเชสเตอร์" (HRH The Princess of Wales, Countess of Chester)

ในบางกรณี รัชทายาทในราชบัลลังก์ยังไม่ได้ทรงรับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ดังนั้นพระชายาจะดำรงพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์จนกว่าจะมีการประกาศสถาปนา เจ้าหญิงแมรีแห่งเท็คทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งยอร์ค หลังจากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2436 กับ เจ้าชายจอร์จ (ขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งยอร์ค และต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5) และทรงเป็น ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์และยอร์ค ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2444 (ในการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และการเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7) จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 (เมื่อเจ้าชายจอร์จทรงได้รับการสถาปนาให้เป็น เจ้าชายแห่งเวลส์)

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักว่า ดัชเชสแห่งโรธเซย์ ในประเทศสก็อตแลนด์ เช่นเดียวกับที่เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะดยุคแห่งโรธเซย์ ตำแหน่งดยุคนี้เป็นพระอิสริยยศที่มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับรัชทายาทของราชบัลลังก์สก็อตแลนด์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ชาวเวลส์[แก้]

ในบรรดาเจ้าหญิงช่วงสมัยก่อนการยึดครองของชาวนอร์มัน ดังเช่น เจ้าหญิงเกวนเลียนแห่งเวลส์ บางครั้งทรงได้รับการเรียกขานว่าเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ แต่มิได้ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้ นอกจากนี้ยังคนอื่นอีกมากมายซึ่งอาจอ้างสิทธิ๋ในการดำรงพระอิสริยยศ อันเนื่องมาจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายชาวพื้นเมือง ซึ่งทรงดำรงหรือปรารถนาพระอิสริยยศ "เจ้าชายแห่งเวลส์" ดังต่อไปนี้

เชิงอรรถ[แก้]

  1. สิทธิของคามิลลาในพระอิสริยยศ "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" ได้เป็นที่ถกเถียงกันก่อนการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ ประธานวุฒิสภาซึ่งได้ทบทวนประเด็นดังกล่าวเห็นว่าคามิลลา พระชายาจะดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงได้"โดยอัติโนมัติ" หากไม่มีกฎหมายหรือพระบรมราชโองการโดยคำแนะนำขององคมนตรีออกมาให้เป็นอย่างอื่น ไม่มีพระราชบัญญัติหรือพระบรมราชโองการตามคำแนะนำขององคมนตรีใดออกมาเพื่อคัดการการดำรงพระอิสริยยศของคามิลลา อย่างไรก็ดี เธอเลือกที่จะไม่ใช้พระอิสริยยศนี้ และใช้หนึ่งในพระอิสริยยศอื่นของเจ้าหญิงแห่งเวลส์แทน ดังเช่นเดียวกันเมื่อเป็นพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นสมเด็จพระราชินีโดยอัติโนมัติ แต่เธอตั้งใจที่จะใช้พระอิสริยยศอื่นแทนคือ เจ้าหญิงพระราชชายา (Princess Consort)
  2. "House of Commons – Royal Marriage". parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.

ดูเพิ่ม[แก้]