เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส

อานา ดี ฌีซุช มารีอา ลูอิซ กอนซากา โจวควินา มิคาเอลา ราฟาเอลา ซาเวียร์ เดอ เปาลา เดอ บราแกนซา อี บูร์บง
เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส
มากรีสแห่งลูเล
ประสูติ23 ตุลาคม พ.ศ. 2349
มาฟรา ประเทศโปรตุเกส
สวรรคต22 มิถุนายน พ.ศ. 2400
โรม ประเทศอิตาลี
(พระชนมายุ 50 พรรษา)
พระราชสวามีนูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 1 แห่งลูเล
พระราชบุตรอนา คาร์ลอตา เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
มาเรีย โด คาร์โม เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
เปโดร โจเซ อกอสตินโฮ เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 2 แห่งลูเล
มาเรีย อเมเลีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
ออกุสโต เปโดร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เคานท์ที่ 3 แห่งอซัมบูยา
เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส
ราชวงศ์บราแกนซา
พระราชบิดาพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน

เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส (23 ตุลาคม พ.ศ. 2349 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2400) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส และเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน

พระประวัติ[แก้]

พระสาทิสลักษณ์เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส วาดโดย นิโคลัส อันโตน ทัวเนย์

เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส ประสูติในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2349 ณ มาฟรา ประเทศโปรตุเกส มีพระนางเต็มว่า อานา ดี ฌีซุช มารีอา ลูอิซ กอนซากา โจวควินา มิคาเอลา ราฟาเอลา ซาเวียร์ เดอ เปาลา เดอ บราแกนซา อี บูร์บง

ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2370 เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับนูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต มาควิสแห่งลูเลและเป็นเคานท์แห่งวาเล เดอ ราอิซ และในอนาคตได้เป็นดยุคแห่งลูเล ในเวลาต่อมาเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งโปรตุเกสหลายสมัย พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในห้องสวดมนต์ของพระราชวังหลวงอาจูดาและเป็นเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงมากในช่วงเวลานั้น ถึงแม้ว่าลูเลจะเป็นขุนนางและมีเชื้อสายห่างๆกับพระราชวงศ์โปรตุเกส เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกสทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกสพระองค์แรกนับตั้งแต่ยุคกลางโดยอภิเษกสมรสกับบุรุษซึ่งไม่ใช่เชื้อพระวงศ์

เหตุผลในการอภิเษกสมรสนั้นไม่น่าจะเป็นเรื่องการเมือง เนื่องจากพระธิดาองค์แรกประสูติในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2370 เพียง 22 วันหลังการอภิเษกสมรส ดังนั้นเจ้าหญิงทรงตั้งพระครรภ์ก่อนการอภิเษกสมรสเสียอีก การอภิเษกสมรสไม่ได้รับการเห็นชอบจากพระราชบิดาของเจ้าหญิง พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต (เป็นที่เคร่งครัดมาก เนื่องจากกฎหมายโปรตุเกสในเวลานั้นกำหนดว่าการอภิเษกสมรสของทายาทโดยสันนิษฐาน จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน ซึ่งเจ้าหญิงอนามิใช่ทายาทโดยสันนิษฐาน) ไม่มีพระเชษฐาของพระนางองค์หนึ่งองค์ใดเลยที่มาเข้าร่วมงานอภิเษกสมรส(ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากต่างประเทศ)

การอภิเษกสมรสได้รับการลงพระปรมาภิไธยรับรองโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในลิสบอนซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของพระนาง เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียแห่งโปรตุเกส การอภิเษกสมรสครั้งนี้มิใช่การหนีตามกัน ในฐานะของเชื้อพระวงศ์ทั้งคู่ต้องได้รับการรับรู้มีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะอภิเษกสมรส โดยพระราชมารดาของเจ้าหญิง สมเด็จพระราชินีคาร์ลอตา โจวควินาทรงอำนวยความสะดวกให้ทั้งคู่แทนที่จะทรงหาทางป้องกันมิให้การอภิเษกสมรสเกิดขึ้นหลังจากทั้งคู่ให้กำเนิดพระธิดา

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส พระราชบิดาขณะเสด็จกลับจากพระอารามเฮียโรนิไมท์ และทรงเข้าบรรทมที่พระราชวังเบ็มโปสตาด้วยพระอาการน่าเป็นห่วง พระองค์ทรงเจ็บปวดทรมานหลายวันจากพระอาการต่างๆรวมทั้งอาเจียนและการสั่นอย่างรุนแรง พระองค์ทรงปรากฏองค์ด้วยพระพลานามัยที่ดีขึ้นแต่ด้วยความรอบคอบ พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งให้ เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรีย พระราชธิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกลางคืนของวันที่ 9 มีนาคม พระอาการประชวรของพระองค์กลับแย่ลงและเสด็จสวรรคตในเวลาประมาณ 5 โมงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม สิริพระชนมายุ 58 พรรษา เจ้าหญิงผู้สำเร็จราชการทรงยอมรับในทันทีทันใดภายในรัฐบาลของโปรตุเกสและสมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรทรงได้รับการยอมรับในฐานะองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายในฐานะ พระเจ้าเปโดรที่ 4 แห่งโปรตุเกส จากการศึกษาวิจัยพบว่า การสวรรคตของพระราชบิดาเกิดจากการรับสารพิษจำพวกสารหนูในปริมาณมาก

อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 1 แห่งบราซิลหรือพระเจ้าเปโดรที่ 4 แห่งโปรตุเกส พระเชษฐาทรงสละราชบัลลังก์แก่เจ้าหญิงมาเรีย ดา กลอเรียให้ครองราชบัลลังก์โปรตุเกสในพระนาม สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส พระชนมายุ 7 พรรษา ผู้ซึ่งขณะนั้นทรงประทับอยู่ที่ลอนดอน ด้วยสถานะที่พระราชินีนาถมาเรียต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายมิเกล พระปิตุลา เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระราชนัดดาจนกระทั่งพ.ศ. 2371 เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเรียกว่า สงครามเสรีนิยม ระหว่างฝ่ายอัตตาธิปไตยซึ่งสนับสนุนให้เจ้าชายมิเกล พระเชษฐาครองราชสมบัติในพระนาม สมเด็จพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกสกับฝ่ายเสรีนิยมซึ่งสนับสนุนสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขั้นต้นพระเจ้ามิเกลด้วยการสนับสนุนจากเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งเบย์รา พระเชษฐภคินีพระองค์โตทำการถอดถอนสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ผู้เป็นพระนัดดาออกจากราชบัลลังก์และถอดถอนเจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ในท้ายที่สุดฝ่ายเสรีนิยมเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ผลที่ตามมาคือพระเจ้ามิเกลถูกเนรเทศออกจากประเทศอีกครั้ง และการครองราชบัลลังก์ครั้งที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2

ด้วยการฟื้นฟูของอัตตาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปีพ.ศ. 2374 ทั้งคู่ได้ถูกเนรเทศและเริ่มต้นเดินทางไปทั่วยุโรป โดยทรงมีทั้งโอรสธิดาและเด็กคนอื่นๆตามเสด็จไปด้วย การอภิเษกสมรสต้องยุติลงด้วยการแยกทางกันโดยพฤตินัยในปีพ.ศ. 2378 เจ้าหญิงอนาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2400 ณ โรม ประเทศอิตาลี สิริพระชนมายุ 50 พรรษา ก่อนที่พระสวามีจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ดยุค

ทายาทของเจ้าหญิงอนาเป็นประมุขแห่งตระกูลลูเล โดบเชื้อสายของพระนาง เปโดร ฟอลเก เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 6 แห่งลูเล เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นทายาทที่มีสิทธิอันชอบธรรมในราชบัลลังก์โปรตุเกสที่ถูกล้มล้างไปแล้ว ด้วยความบริสุทธิ์ของสายสืบราชสันตติวงศ์ที่มีภูมิลำเนาเดิมอย่างไม่ขาดสายเป็นสิทธิโดยแผ่นดินโปรตุเกส ถึงแม้ว่าดยุคจะไม่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ตามพระราชมรดกและทรงยอมรับการรับรองตำแหน่งดยุคจากประมุขแห่งราชวงศ์สายอื่นคือ ดูอาร์เต ปิโอ ดยุคแห่งบราแกนซา ซึ่งเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์คนปัจจุบัน

พระโอรสธิดา[แก้]

เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกสทรงอภิเษกสมรสกับนูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 1 แห่งลูเล มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 5 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
อนา คาร์ลอตา เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต 182727 ธันวาคม
พ.ศ. 2370
189331 ธันวาคม
พ.ศ. 2436
สมรสกับ
โรดริโก เดอ เซาซา โคทินโฮ เตซีรา เดอ อันดราดา บาร์บอซา เคานท์ที่ 3 แห่งลินฮาเรซ
มีบุตรธิดา 12 คน
อนา
นูโน
วิตโตริโอ
เฟอร์นันโด
คาทารีนา
นูโน เคานท์ที่ 4 แห่งลินฮาเรซ
มาเรีย คาร์ลอตา
โรดริโก
มาเรีย อนา
โจเซ
อกอสตินโฮ
อิซาเบล
มาเรีย โด คาร์โม เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต 1829พ.ศ. 2372 1907พ.ศ. 2450 สมรสกับ
เคานท์ที่ 3 แห่งเบลมองเต
มีบุตร
เปโดร โจเซ อกอสตินโฮ เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 2 แห่งลูเล 18307 ตุลาคม
พ.ศ. 2373
19092 มีนาคม
พ.ศ. 2452
สมรสกับ
คอนสแตนกา มาเรีย เดอ ฟิเกอเรโด คาบรัล ดา คามารา
มีบุตรหญิง 2 คน หนึ่งในนั้นคือ
มาเรีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดัสเชสแห่งลูเล
มาเรีย อเมเลีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต 183227 เมษายน
พ.ศ. 2375
1808พ.ศ. 2351 สมรสกับ
โจเอา ซาลาซาร์ เดอ เมสคาเรนฮาส
แต่ชีวิตการสมรสต้องจบลงเมื่อมาเรีย อเมเลียได้บวชเป็นแม่ชี
มีบุตรชาย 1 คน
ออกุสโต ซาลาซาร์ อี บราแกนซา
ออกุสโต เปโดร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เคานท์ที่ 3 แห่งอซัมบูยา 1835พ.ศ. 2378 1914พ.ศ. 2457 สมรส
มีบุตรธิดา

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
9. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส(=8)
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย(=9)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. สมเด็จพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าหญิงมารีอา ตีเรซาแห่งไบรา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
12. สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา(=23)
 
 
 
 
 
 
 
6. สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. สมเด็จพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อาร์คดัสเชสมาเรีย โจเซฟาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. สมเด็จพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา(=23)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงมารี เลสซ์ไซน์สกาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]