เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา
เจ้าหญิงพระชายา
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา เมื่อ พ.ศ. 2555
ประสูติ10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
แฟ็ส ประเทศโมร็อกโก
พระภัสดาสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 (พ.ศ. 2545–2561)
พระบุตรเจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก
เจ้าหญิงลัลลา เคาะดีญะฮ์
ราชวงศ์อะลาวีย์ (เสกสมรส)
พระบิดาอับเดลฮามิด เบนนานี
พระมารดาไนมา เบนเซาดา

เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา (อาหรับ: الأميرة للا سلمى; เบอร์เบอร์: ⵍⴰⵍⵍⴰ ⵙⵍⵎⴰ) หรือพระนามเดิมว่า ซัลมา เบนนานี (อาหรับ: سلمى بنّاني; ประสูติ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521) เป็นอดีตเจ้าหญิงพระชายา[1]พระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งโมร็อกโกพระองค์ปัจจุบัน ถือเป็นเจ้าหญิงพระชายาพระองค์แรกของประวัติศาสตร์โมร็อกโกที่รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายชั้นรอยัลไฮนิส[2][3][4][5][6] แต่หลังเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ไม่ปรากฏพระองค์อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา[7][8] ทำให้การคาดเดากันว่าสมเด็จพระราชาธิบดีกับเจ้าหญิงพระชายาทรงหย่าร้างกัน[9][10]

พระประวัติ[แก้]

พระประวัติตอนต้นและการศึกษา[แก้]

เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา มีพระนามเดิมว่า ซัลมา เบนนานี ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ณ เมืองแฟ็ส ประเทศโมร็อกโก[11] ในครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูง[12] เป็นธิดาของเอลฮัจญ์ อับเดลฮามิด เบนนานี กับไนมา เบนเซาดา[13] พระชนกเป็นครูระดับมัธยมศึกษาในเมืองแฟ็ส[14] [15] ส่วนพระชนนีเสียชีวิตไปเมื่อพระองค์มีพระชันษาได้สามปี เจ้าหญิงจึงอยู่การดูแลของยาย ขณะพระองค์ประทับอยู่ในกรุงราบัต ทรงอาศัยร่วมกับพระญาติชื่อ ไซรอ โดยทั้งสองจะออกไปไหนด้วยกันเสมอ[2][16]

เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ทรงเข้ารับการศึกษาจากลีเซฮะซันที่ 2 (ฝรั่งเศส: Lycée Hassan II) และลีเซมูลัยยูซุฟ (ฝรั่งเศส: Lycée Moulay Youssef) ซึ่งทั้งสองต่างเป็นโรงเรียนเอกชน ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยสารสนเทศและการวิเคราะห์ระบบแห่งชาติ (ฝรั่งเศส: l'École Nationale Supérieure d'Informatique et d'Analyse de Systèmes)[13][17] จนสำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) ในปี พ.ศ. 2543 โดยพระองค์มีคะแนนสูงสุดในปีนั้น[3]

อภิเษกสมรส[แก้]

พระองค์พบกับสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ครั้งแรกในงานเลี้ยงเมื่อปี พ.ศ. 2542 ขณะที่พระองค์ทำงานบริการสารสนเทศด้านวิศวกรรมในโอเอ็นเอกรุป (ONA Group) ที่พระราชวงศ์โมร็อกโกถือหุ้นส่วนใหญ่ สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ทรงหมั้นหมายกับซัลมาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544[18] ต่อมาได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2545 และพระราชพิธีฉลองราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 12–13 กรกฎาคม พ.ศ. 2545[17][19] ณ พระราชวังในราบัต[20] ซัลมาได้รับการสถาปนาให้พระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา พระชายา ในปีเดียวกัน มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ

  1. เจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)[21][22]
  2. เจ้าหญิงลัลลา เคาะดีญะฮ์ (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)[23]

สื่อบางแหล่งให้ข้อมูลว่า สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 กับเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ทรงหย่าร้างกันใน พ.ศ. 2561[24][25] โดยเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ปรากฏพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายในการประกอบพระกรณียกิจที่ศูนย์เนื้องอกวิทยาในฐานะองค์ประธานมูลนิธิลัลลา ซัลมา เพื่อต่อต้านโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562[26] และเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ปรากฏพระองค์อีกครั้งร่วมกับพระราชโอรส-ธิดาบริเวณเซ็นทรัลพาร์ก นิวยอร์ก ท่ามกลางการอารักขาของเหล่าบอดีการ์ดหลายนาย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562[27] จากการที่พระองค์ห่างหายไปจากสายตาของสาธารณชน สื่อบางแห่งตั้งฉายาให้เจ้าพระองค์ว่า "เจ้าหญิงผี" (Ghost Princess)[28]

พระกรณียกิจ[แก้]

เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา (กลาง) ทรงฉายพร้อมกับมาร์กาเรต ชาน (ซ้าย) และโยนัส กาหร์ สเตอเร (ขวา) ขณะร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 65

แม้ว่าเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา จะเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์แรก ๆ ที่มีบทบาทต่อสาธารณชนมากกว่าฝ่ายในรุ่นก่อน ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ที่สนับสนุนบทบาทของสตรี และยกย่องพระชายายิ่งกว่ากษัตริย์รุ่นก่อน[29] แต่กระนั้นข้อมูลส่วนพระองค์กลับไม่เป็นที่ทราบมากนัก ทั้งนี้พระองค์ทรงออกมาประกอบพระกรณียกิจแบ่งเบาพระราชภาระของพระราชสวามีอยู่เนืองนิจ เช่น การสนับสนุนมูลนิธิต่อต้านมะเร็ง และงานเทศกาลดนตรีศักดิ์สิทธิ์เมืองแฟ็ส เป็นต้น[30]

ในปี พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของไทย[3][31] และในปี พ.ศ. 2554 ได้เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน ของสหราชอาณาจักร[32]

นอกจากนี้ทรงก่อตั้งมูลนิธิต่อต้านโรคมะเร็งภายในประเทศ[33]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พ.ศ. 2521–2546 : นางสาวซัลมา เบนนานี
  • พ.ศ. 2546–2561 : เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา พระชายา
  • พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน : เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ต่างประเทศ
  • เบลเยียม เบลเยียม : เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ที่ 2 ชั้นสายสะพาย (5 ตุลาคม 2547)[13]
  • สเปน สเปน : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีซาเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นสายสะพาย (14 มกราคม 2548)[34]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชอาณาจักรโมร็อกโก : การเยือนที่สำคัญ เก็บถาวร 2011-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)
  2. 2.0 2.1 Profile เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, nettyroyal.nl; accessed 20 September 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ชื่นชมพระสิริโฉม 2 พระราชอาคันตุกะวัยเยาว์". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 14 มิถุนายน 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Saad719 (2018-05-10). "Princess Lalla Salma of Morocco". The Royal Watcher (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  5. "First Lady of Morocco | Current Leader". Current Heads of State & Dictators | Photos and bios of the current Heads of State, Dictators and First Ladies. 2009-05-25. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  6. McLaughlin, Chelsea (2019-02-25). "As Meghan and Harry tour Morocco, the mystery of its missing Princess looms in the background". Mamamia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  7. "'Vanished without a trace': Mystery of Morocco's 'ghost princess'". NZ Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  8. "Where is Morocco's Princess Lalla Salma now?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  9. Brittani Barger (14 April 2018). "What's next for Princess Lalla Salma after rumoured divorce from the Moroccan King?".
  10. "'The Ghost Princess': Where has the First Lady of Morocco Disappeared?". Al Bawaba (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  11. "Princess Lalla Salma of Morocco turns 36: facts about the royal". Hello! (ภาษาอังกฤษ). 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
  12. "RWB" (ภาษาฝรั่งเศส). Reporters sans frontières (Morocco)/VSD. 7 March 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-25. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015. Tout le royaume bruisse de l’événement à venir. Courant mars, sa majesté Mohammed VI se mariera. L’heureuse élue, Salma Bennani, est une jeune femme de 25 ans, native de Fès et issue de la haute bourgeoisie.
  13. 13.0 13.1 13.2 The Alawi Dynasty – Genealogy – website The Royal Ark
  14. "Maroc : Lalla Salma, la princesse aux pieds nus – Jeune Afrique". JeuneAfrique.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2022-06-10.
  15. "ราชวงศ์และสามัญชน: เทพนิยายที่กลายเป็นจริง". มติชนออนไลน์. 21 เมษายน 2554. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "Who is Princess Lalla Salma of Morocco?". Royal Central (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  17. 17.0 17.1 "Who is Princess Lalla Salma of Morocco?". Royal Central (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
  18. "L'annonce du prochain mariage de Mohammed VI lève une hypothèque au Maroc". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2001-10-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
  19. "King Mohamed VI of Morocco sits with his wife Princess Lalla Salma at..." Getty Images (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
  20. "King Mohammed VI of Morocco and Princess Lalla Salma divorce". HELLO! (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  21. "La Famille Royale et le peuple marocain célèbrent la naissance de S.A.R le Prince Héritier Moulay Al Hassan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-01-16.
  22. "สดใสน่ารักเกินห้ามใจ!! พระราชวงศ์จิ๋วยุคใหม่". ไทยรัฐออนไลน์. 3 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "พระชายากษัตริย์โมร็อกโกมีพระประสูติกาลพระราชธิดา". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. Owen-Jones, Juliette (21 July 2019). "King Mohammed VI, Ex-Wife Lalla Salma Deny Rumors of Custody Conflict". Morocco World News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
  25. "คนของโลก : สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 กษัตริย์ผู้เปิดรับความเปลี่ยนแปลง". มติชนสุดสัปดาห์. 6 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. Diallo, Abubakr (22 June 2022). "Les Marocains condamnés à définitivement oublier Lalla Salma ?" [Are Moroccans condemnned to forget Lalla Salma for good?]. Afrik (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
  27. "เจ้าหญิงหายไปไหน?!". ไทยรัฐออนไลน์. 7 พฤษภาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. Sophie Mccabe (21 สิงหาคม 2565). "Royal mystery: Moroccan King's missing wife who became the 'ghost princess'". Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. ศศิภัทรา ศิริวาโท (พฤษภาคม 2554). "ความรุนแรงต่อผู้หญิงในโมร็อกโก". นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. The Royal Order of Sartorial Splendor: Princess Lalla Salma Gets Ethereal. Orderofsplendor.blogspot.co.uk (4 June 2010); retrieved 9 April 2012.
  31. "คาซาบลังกา". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา. 7 มิถุนายน 2554. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. The Royal Order of Sartorial Splendor: Royal Fashion Awards: Foreign Royals at the Duke & Duchess of Cambridge's Wedding. Orderofsplendor.blogspot.co.uk (29 April 2011); retrieved 9 April 2012.
  33. Lalla Salma Association Against Cancer เก็บถาวร 2012-05-29 ที่ archive.today – website UICC
  34. Boletín Oficial del Estado

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]