เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก
สมเด็จพระจักรพรรดินีชาร์ลอต (คาร์ลอต้า) แห่งเม็กซิโก
สมเด็จพระจักรพรรดินีชาร์ลอต (คาร์ลอต้า) แห่งเม็กซิโก


พระราชสมภพ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2383
(ค.ศ. 1840)
สวรรคต 19 มกราคม พ.ศ. 2470
(ค.ศ. 1927) (86 พรรษา)
พระราชสวามี สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโก
พระราชบุตร ไม่มี
ราชวงศ์ ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา
พระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
พระราชมารดา เจ้าหญิงหลุยส์-มารีแห่งฝรั่งเศส

คาร์ลอตาแห่งเบลเยียม สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก หรือ เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม (ภาษาอังกฤษ: Princess Charlotte of Belgium, ภาษาเยอรมัน: Prinzessin Charlotte von Belgien) (พระนามเต็ม: มารี ชาร์ลอต อเมลี่ ออกัสตีน วิคโตร์ คลีเมนตีน ลีโอโพลดีน, Marie Charlotte Amélie Augustine Victoire Clémentine Léopoldine von Habsburg-Lorraine (de Saxe-Coburg and Gotha)) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งเบลเยียม และสมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโกอีกด้วย

พระราชประวัติ[แก้]

เจ้าหญิงชาร์ลอตเมื่อทรงพระเยาว์

สมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์ลอตา พระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2383พระราชวังลาเค็น กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ เจ้าหญิงหลุยส์-มารีแห่งฝรั่งเศส พระองค์ทรงได้พระราชทานพระนามจากพระบิดา โดยนำพระนามจากพระมเหสีพระองค์แรกของพระองค์ เจ้าหญิงชาร์ลอต ออกัสต้าแห่งเวลส์ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร) ที่ทรงสวรรคตกะทันหัน พระองค์เป็นพระญาติกับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียอีกด้วย

เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงมีความสนิทสนมกับสมเด็จพระอัยกีของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย อมาเลียแห่งทู ซิชิลีส์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เมื่อทรงทุกข์ หรือทุกข์พระทัยอันใด ก็เสด็จพระราชดำเนินไปหาสมเด็จพระอัยกีอยู่เสมอ

เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชันษา 10 ชันษา สมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารีทรงสวรรคตกะทันหันด้วยโรควัณโรค สมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์จึงทรงนำพระองค์ไปฝากเลี้ยงกับท่านเคาน์เตสแห่งเฮาสต์ ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชบิดา และ 1 ปีต่อมา พระองค์ก็ทรงย้ายมาประทับที่พระตำหนักแคลร์มอนต์ เซอร์เรย์ สหราชอาณาจักร พระองค์ทรงย้ายมาประทับกับสมเด็จพระราชินีมาเรีย อมาเลีย พระอัยกี ซึ่งขณะนั้น พระราชวงศ์ฝรั่งเศสทรงอยู่ในการลี้ภัย เนื่องจากมีการปฏิวัติ รัฐประหารปฏิรูปการปกครอง

อภิเษกสมรส และอาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย[แก้]

อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน และเจ้าหญิงชาร์ลอตเมื่อทรงอภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2400 ขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 17 ชันษา พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียนแห่งออสเตรีย พระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว พระองค์ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็น อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย และด้วยความที่เป็นพระชายาของอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน พระองค์จึงทรงเป็นที่พึงพอพระทัยของอาร์คดัชเชสโซฟี พระสัสสุเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อทรงมีเวลาว่าง อาร์คดัชเชสโซฟีจะทรงเรียกพระองค์ไปเข้าเฝ้าเสมอ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงไม่ชอบสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธ พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟเป็นอย่างยิ่ง เหตุผลเนื่องจากที่สมเด็จพระจักรพรรดินีทรงมีความสนิทสนมกับพระสวามีของพระองค์มากเกินไป และนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเห็นว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีมีพระพักตร์สิริโฉมงดงามกว่าพระองค์ ต่อมา พระองค์และพระสวามีทรงย้ายที่ประทับไปอยู่ที่ประเทศอิตาลี เพราะเนื่องจากพระสวามีทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอุปราชแห่งราชอาณาจักรลอมบาร์ดีและเวเนเทีย ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย

สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก[แก้]

ในช่วงปีพ.ศ. 2403 สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้เข้าไปรุกรานเม็กซิโก เป็นเหตุให้มีการแทรกแซงระบอบการเมืองการปกครองของเม็กซิโก ฝรั่งเศสได้ทีอยากฟื้นฟูระบอบจักรวรรดินิยมเสียใหม่ แทนที่พระองค์จะทรงปกครองเม็กซิโกเอง กลับทรงมอบราชบัลลังก์อิมพีเรียลเม็กซิโกให้กับอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน พระองค์และพระชายาจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศเม็กซิโก โดยทรงเถลิงวัลย์ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก ส่วนอาร์คดัชเชสชอร์ลอต ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก โดยทรงใช้พระนามของพระองค์เป็นภาษาสเปนว่า คาร์ลอตา (Carlota) และนอกจากนี้ พระองค์และพระสวามีของพระองค์ทรงย้ายที่ประทับมาที่ปราสาทชาพัลเตเพ็ค ชานกรุงเม็กซิโก ซิตี้อีกด้วย

เพียงไม่กี่เดือน หลังจากได้ทรงครองราชย์ สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน และสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนทรงตกลงกันถอนกำลังออกจากเม็กซิโก ทำให้นักสาธารณรัฐนิยมได้ที ทำการก่อปฏิวัติ รัฐประการปฏิรูปการเมืองการปกครองทันที การก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุน โดยส่งหน่วยรบปิดกั้นทางเข้าประเทศ ทำให้กองทัพฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาช่วยเหลือ ไม่สามารถเข้าไปได้ เป็นเหตุทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนทรงถูกจับกุม ส่วนตัวพระองค์เองทรงหลบหนีรอดไปได้ โดยก่อนหน้านั้น พระราชสวามีทรงให้พระองค์หลบหนีออกไปก่อนพร้อมด้วยผู้ติดตาม โดยพระองค์ทรงอพยพกลับไปยังยุโรป และไม่เสด็จพระราชดำเนินกลับเม็กซิโกอีกเลย

เบนิโต ยัวเรซ แกนนำกลุ่มปฏิวัติ (ภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) ได้ให้ศาลตัดสินประหารชีวิตสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน เป็นเหตุให้ต้องล้มล้างจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้น ส่วนสมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์ลอต้า เจ้าฟ้าชายฟิลลิปป์แห่งเบลเยียม เค้านท์แห่งแฟลนเดอร์ส พระเชษฐาทรงส่งกองทัพบกไปรับพระองค์กลับมาที่ประเทศเบลเยียม มาตุภูมิ พระองค์จึงทรงประทับอยู่ที่ปราสาทโบรชเอาต์ เมืองเมยส์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เบลเยียมได้ถูกล้อมโดยกองทัพของเยอรมนี แต่ปราสาทโบรชเอาต์ที่พระองค์ทรงประทับอยู่ไม่ถูกล้อม และกองทัพเยอรมันไม่กล้ารุกล้ำเขตพระราชฐานได้ เพราะเนื่องจากออสเตรียได้ขอยกเว้นไว้ เพราะพระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียเช่นกัน

สวรรคต[แก้]

ในช่วงเวลาสุดท้ายของพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น พระองค์ทรงเริ่มมีพระอาการประชวร ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่พระองค์ทรงหวาดระแวง โดยพระองค์ยังทรงรอการกลับมาของพระราชสวามี โดยพระองค์ยังทรงไม่รู้ว่าพระราชสวามีถูกประหารชีวิตแล้ว โดยทรงหวังว่า พระราชสวามีจะต้องทรงกลับมาหาพระองค์ ซึ่งระหว่างการรอคอยนั้น พระองค์ทรงอยู่กับตุ๊กตาคู่พระทัยของพระองค์ โดยพระองค์ตั้งชื่อว่า แม็กซ์ โดยทรงถือว่าตุ๊กตาเป็นตัวแทนของพระสวามีของพระองค์

สมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์ลอตาเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2470 สิริพระชนมพรรษาได้ 86 พรรษา

พระราชอิสริยยศ[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

พระราชตระกูลในสามรุ่นของเจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม
เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม พระชนก:
พระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
ฟรันซ์ ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
ดยุคเอิร์นส์ ฟรีดริชแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงโซเฟีย แอนโตเนียแห่งบรันสวิค-โวลเฟนบืทเทล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงออกัสต้าแห่งรอยส์-เอเบอร์สดอร์ฟ
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เค้านท์เฮ็นริคที่ 24 แห่งรอยส์-เอเบอร์สดอร์ฟ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงแคโรไลน์ เออร์เนสตีนแห่งเออร์แบช-เชินเบิร์ก
พระชนนี:
หลุยส์-มารีแห่งออร์เลอ็อง
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หลุยส์ มารี อาเดลาอีด เดอ บูร์บง
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
มารีอา อะเมเลียแห่งเนเปิลส์และซิซิลี
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทู ซิชิลีส์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
อาร์คดัชเดสมารี แคโรไลน์แห่งออสเตรีย

อ้างอิง[แก้]

  • del Paso,Fernando: Noticias del Imperio. México 1987
  • Bibesco, Princesse Marthe: Charlotte et Maximilien. París 1962.
  • Castelot, André: Maximiliano y Carlota. La Tragedia de la Ambición. México 1985.
  • Corti, Conte Egon Caesar: Maximilian und Charlotte von Mexiko. Nach dem bisher unveröffentlichten Geheimarchive des Kaisers Maximilian und sonstigen unbekannten Quellen. 2 Vols. Zurich, Leipzig, Viena 1924.
  • Corti, Conte Egon Caesar: Maximilian von Mexiko. Die Tragödie eines Kaisers. Francfort del Meno 1953.
  • Desternes, Suzanne; Chandet, Henriette: Maximilien et Charlotte. París 1964.
  • Gómez Tepexicuapan, Amparo: “Carlota en México.” En: Igler, Susanne; Spiller, Roland (eds.) : Más nuevas del imperio. Estudios interdisciplinarios acerca de Carlota de México. Francfort del Meno 2001. (=Erlanger Lateinamerika-Studien. 45). p. 27-40.
  • Miguel de Grecia: La Emperatriz del Adiós. El trágico destino del emperador Maximiliano y su mujer Carlota. Barcelona 2000.
  • Harding, Bertita: Phantom Crown. The story of Maximilian and Carlota of Mexico. 3a edición. México 1967 [1935].
  • Haslip, Joan: The Crown of Mexico: Maximilian and his Empress Carlota. 2a edición. Nueva York 1972.
  • Hyde, Montgomery H.: Mexican Empire. The history of Maximilian and Carlota of Mexico. Londres 1946.
  • Igler, Susanne: Carlota de México. México 2002. (=Grandes Protagonistas de la Historia Mexicana) [segunda edición: 2006].
  • Igler, Susanne: De la intrusa infame a la loca del castillo: Carlota de México en la literatura de su 'patria adoptiva'. Frankfurt: Peter Lang 2007 (Studien und Dokumente zur Geschichte der Romanischen Literaturen, 58).
  • Kerckvoorde, Mia: Charlotte. La passion et la fatalité. París 1981.
  • Maria y Campos, Armando: Carlota de Bélgica. La infortunada Emperatriz de México. México 1944.
  • Praviel, Armand: La vida trágica de la emperatriz Carlota. Buenos Aires 1937.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]