สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก
พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน
ดรุก กยาลโป (ราชามังกร)
พระบรมฉายาลักษณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562
พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน
ครองราชย์16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน
ราชาภิเษก1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก
รัชทายาทเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน[1]
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 (44 ปี)
กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[2][3]
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก
พระราชบุตรเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน
เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก
เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก
ภาษาทิเบตའཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག
ราชวงศ์ราชวงศ์วังชุก
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีเชอริง ยางดน วังชุก
ศาสนาพุทธวัชรยาน
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (ภาษาซองคา : འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་[4]) (สื่อไทยออกพระนามว่า จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน รัชกาลที่ 5 แห่ง ราชวงศ์วังชุก[5] ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่ามีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน[ต้องการอ้างอิง]

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า[ต้องการอ้างอิง] จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง[ต้องการอ้างอิง] ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ[ต้องการอ้างอิง] ในประเทศที่มีประชากรเพียง 753,947 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ

พระราชประวัติ[แก้]

เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ที่โรงพยาบาลสูติกรรมและสตรีปโรปการ กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล พระองค์เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินีเชอริง ยางดน วังชุก พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่สามในบรรดาพระมเหสีทั้งสี่พระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม และพระอนุชามีพระนามว่า เจ้าชาย ดาโช ชิกเม ดอร์จิ วังชุก[6]

การศึกษา[แก้]

เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อะคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ Magdalen College School สหราชอาณาจักร[7]

นอกจากนี้ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง

การทูลเกล้าถวายปริญญา[แก้]

  • มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549[8][9]
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร แด่สมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประจำ

เสด็จขึ้นครองราชย์[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย นัมชุก พระบรมชนกนาถ ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าชายชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก รัชทายาท พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย[10] และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พระองค์ได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพู

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก[แก้]

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกภายในพระราชวังทาชิโชซอง ในเมืองทิมพู โดยสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้พระองค์ได้สืบบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุกด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ประทับบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในตอนบ่ายของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา ชิกเม ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"

นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน[11][12]

ซีเอ็นเอ็น ได้รายงานข่าวการเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ โดยระบุว่า มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มีกษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกะทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน[13]

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้ทรงประกาศหมั้นกับ เจตซุน เพมา ซึ่งเป็นหญิงสาวสามัญชน โดยทั้งสองอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน จัดขึ้น ณ มณฑลพูนาคา ประเทศภูฏาน[14] ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 1 พระองค์คือ เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก , เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก และ เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก

ถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9[แก้]

15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก และเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมาร เพื่อทรงร่วมพระราชพิพีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จพระราชดำเนินมาถวายความอาลัยในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะ หน้าพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระราชสาส์นถวายความอาลัยมีใจความตอนหนึ่งว่า

ทรงเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม ทรงเป็นต้นแบบ และทรงยํ้าถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ภูฏาน การเสด็จสวรรคต จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวภูฏานทั่วประเทศ เสียใจอย่างยิ่ง

— สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก

นับตั้งแต่วันแรกของการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้ทรงนำพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการระดับสูง ร่วมสวดมนต์และจุดเทียนหนึ่งพันเล่ม ณ พระมหาวิหารเกนราแห่งทาชิโชซอง ในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน และ 7 วันต่อเนื่อง ที่วัดทั่วประเทศในภูฏาน จัดพิธีสวดมนต์ บำเพ็ญพระราชกุศล และจุดเทียน ตามขนบธรรมเนียมเพื่อร่วมถวายความอาลัย บรรยากาศในพิธีสะท้อนถึงความตั้งใจของชาวภูฏาน ทั้งเด็กนักเรียน ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน Jitzen นักเรียนชาวภูฏาน กล่าวว่า

เธอรับรู้ตลอดมาว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักเพื่อคนไทยด้วยความรัก เธอจึกรักพระองค์ เช่นเดียวกับการรักพระมหากษัตริย์ของภูฏาน

— Jitzen

พีธีนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ชาวภูฏานได้ร่วมแสดงความอาลัย ยังกลายเป็นพิธีที่มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับชาวไทยในภูฏาน บรรยากาศและผู้คนในพิธี เต็มไปด้วยความอบอุ่น เสมือนการปลอบประโลม โอบกอดหัวใจของชาวไทยในภูฏาน ในห่วงเวลาแห่งความสูญเสีย คนไทยในภูฏานบางคนได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนิน ไปร่วมสวดมนต์และบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระมหาวิหารเกนราแห่งทาชิโชซอง นอกจากภาพคุ้นตาของชาวไทยที่ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ยังเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาแนวทางพระราชดำริ การพัฒนาบนยอดดอยอินทนนท์และยอดดอยอางขาง ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำกลับไปปรับใช้บนพื้นที่ภูเขาสูง และทำการเกษตรของชาวภูฏาน นี้จึงเป็นคำตอบที่พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน ตลอดพสกนิกรของพระองค์ มีความรักความผูกพัน และอยู่เคียงข้างปวงชนชาวไทย ทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ตลอดมา[15] [16]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน[17]

  • เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นในเชียงใหม่ และทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในช่วงเวลาต่อมา[18][19]
  • ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 2492 [20]

พระราชอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก
ตราแผ่นดิน
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
  • เจ้าชาย ดาโช ชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (พ.ศ. 25232547)
  • เจ้าชาย โชเซ เพนลป ชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน (พ.ศ. 25472549)
  • สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (พ.ศ. 2549 — ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rspnbhutan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2016.
  2. "I was born in Nepal: HM the King of Bhutan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  3. "Bhutanese king keen to visit Nepal". My Republica (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Nepal Republic Media Pvt. Ltd. 16 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  4. "A Legacy of Two Kings". Bhutan Department of Information Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  5. Das, Biswajyoti (2006-12-18). "Bhutan's new king committed to democracy". Boston Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  6. Lawson, Alistair (2008-11-04). "Profile: Jigme Khesar Namgyel Wangchung". BBC News.
  7. "His Royal Highness Crown Prince Dasho Jigme Khesar Namgyel Wangchuck". RAOnline. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  8. Chang, Mai (2006-11-25). "Bhutan prince charms fans at floral expo". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  9. Pungkanon, Kupluthai (2006-11-27). "Prince, Thailand have mutual adoration". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  10. "Last National Assembly session begins". Bhutan Observer. 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  11. "Lavish coronation for Bhutan king". BBC. 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  12. "Coronation fever in Bhutan as people's king bonds with subjects". 208-11-10. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. "Himalayan nation of Bhutan crowns new king". CNN. 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.[ลิงก์เสีย]
  14. ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์ชิกเมอภิเษกวันนี้[ลิงก์เสีย]
  15. [1] "กษัตริย์ภูฏาน - ในหลวง ร.9" ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ แสงจากพ่อ น้อมศิระกราน เสด็จสู่สวรรคาลัย ออกอากาศ 15 ส.ค 2560 จากthai pbs
  16. [2] “กษัตริย์ภูฏาน – ในหลวง ร.9” ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ จากsiammanussati
  17. Denyer, Simon (2008-11-05). "Bhutan's charming king emerges from father's shadow". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  18. Chang, Mai (2006-11-25). "Bhutan prince charms fans at floral expo". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  19. Pungkanon, Kupluthai (2006-11-27). "Prince, Thailand have mutual adoration". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  20. "Bhutan and India sign new treaty". BBC. 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  21. [3] เก็บถาวร 2016-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “กษัตริย์ชิกเม” ประกอบพิธีจุดเทียนอุทิศแด่ “ในหลวง” พร้อมรับสั่งไว้ทุกข์ทั่วภูฏาน เหล่าผู้นำโลกร่วมอาลัย จากMGR Online
  22. "The 2nd Annual Report of the Honorable Prime Minister to the Fifth session of the First Parliament on the State of the Nation" (PDF).
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
  • หนังสือเจ้าชายในดวงใจ (Precious Prince of Hearts). มหาวิทยาลัยรังสิต.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก
พระมหากษัตริย์ภูฏาน
(16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ