เจ้าบุษบง ณ ลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงบุษบง ณ ลำปาง
ประสูติ27 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
พิราลัย14 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (89 ปี)
พระราชทานเพลิง25 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ฌาปนสถานพระบาท
สวามีเจ้ามงคล ณ ลำปาง
พระบุตรเจ้ามาลี จันทนา
เจ้าดวงตา ณ ลำปาง
เจ้านคร ณ ลำปาง
เจ้าเดือน ณ ลำปาง
เจ้านภดล ณ ลำปาง
เจ้านภา ตันตรานนท์
เจ้าอาคม ณ ลำปาง
เจ้าประดิษฐ์ ณ ลำปาง
เจ้านพพร ณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
พระบิดาเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
พระมารดาหม่อมเล็ก ณ ลำปาง
ศาสนาเถรวาท
อาชีพข้าราชบริพาร

เจ้าบุษบง ณ ลำปาง (พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2546) ราชธิดาองค์สุดท้ายในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต[1] เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 กับหม่อมเล็ก เป็นเจ้านายชั้นราชธิดาในเจ้าผู้ครองนครผู้มีอายุยืนนานที่สุด และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมพระราชทานหีบทองราชนิกูลลายก้านแย่ง ชั้น "หม่อมเจ้า"[2]

พระประวัติ[แก้]

เจ้าบุษบง ณ ลำปาง ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นราชธิดาของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 (องค์สุดท้าย) กับหม่อมเล็ก ณ ลำปาง จบการศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

สมรสกับเจ้ามงคล ณ ลำปาง มีบุตรธิดา 9 คน คือ

  • เจ้ามาลี จันทนา
  • เจ้าดวงตา ณ ลำปาง
  • เจ้านคร ณ ลำปาง
  • เจ้าเดือน ณ ลำปาง
  • เจ้านภดล ณ ลำปาง
  • เจ้านภา ตันตรานนท์
  • เจ้าอาคม ณ ลำปาง
  • เจ้าประดิษฐ์ ณ ลำปาง
  • เจ้านพพร ณ ลำปาง

เจ้าบุษบง ณ ลำปาง ได้เข้ารับราชการเป็นผู้ถวายงานในเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

เจ้าบุษบง ณ ลำปาง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบประกอบเกียรติยศ พวงมาลาจากพระบรมวงศานุวงศ์ ผ้าไตร ดอกไม้จัน และพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ณ ฌาปนสถานพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง[3]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙
  2. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติและ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-04.
  3. (2546). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าหญิงบุษบง ณ ลำปาง. จิตวัฒนาการพิมพ์.