เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน
ไฟล์:คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน.jpg
ประสูติ14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 (80 ปี)
ราชสกุลณ ลำพูน
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
พระมารดาคุณหญิงเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ประธานมูลนิธิจักรคำขจรศักดิ์ ทายาทเจ้าผู้ครองนครลำพูน[1] และทายาทเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ที่ปรึกษามูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ที่ปรึกษาสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ศูนย์ฝึกภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่)[2] คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ ที่มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ

ประวัติ[แก้]

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ เป็นธิดาคนโตใน เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน (ราชโอรสในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์สุดท้าย และราชนัดดาในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9) กับ คุณหญิงเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน (ธิดาในเจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) กับ เจ้าหญิงภัทรา และเป็นปนัดดาใน พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย) คุณหญิง เจ้าดารารัตน์ มีน้องชาย 3 คน คือ เจ้าพัฒนพงศ์ ณ ลำพูน เจ้าวงศ์จักร ณ ลำพูน และเจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น 24)

บทบาทในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ[แก้]

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ สาย ณ ลำพูน และสาย ณ เชียงใหม่ ที่มีบทบาทสำคัญทางสังคมเป็นที่เคารพนับถือ[3] และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิจักรคำขจรศักดิ์[4] เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์การสร้างสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนชาวนครลำพูน และเป็นกรรมการมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[5] อันเป็นมูลนิธิพระราชดำริในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ความเป็นล้านนาสืบสานฝ่ายเหนือ และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)[6]

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ[7]กับส่วนราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในการแสดงความกตัญญูต่อราชสกุลแห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และความจงรักภักดีต่อราชจักรีวงศ์[8]

ด้านการศาสนา[แก้]

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ มีบทบาทในการทะนุบำรุงศาสนา อาทิ การถวายที่ดินเพื่อสร้างวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน[9] และสร้างวัด ที่พักสงฆ์ สถานปฏิบัติธรรมหลายแห่ง[10]

ด้านการศิลปหัตถกรรม[แก้]

คุณหญิงเจ้าดารารัตน์ ได้มอบที่ดินจำนวนหนึ่ง สำหรับจัดตั้งสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย[11] เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดหัตถกรรมผ้าทอมือของจังหวัดลำพูนให้คงอยู่ต่อไป รวมทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้จุดประกายผ้าชาวไทยภูเขาสู่ความนิยม" จากนิตยสาร HELLO เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2548 – รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[14]
  • พ.ศ. 2553 – คนดีศรีลำพูน สาขาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาขาศาสนา จากจังหวัดลำพูน[15]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี และถวายธรรม ศาลา แด่วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย
  2. "คณะกรรมการสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  3. สะเก็ดล้านนา : 19 เมษายน 2557
  4. แนะนำคณะกรรมการมูลนิธิจักรคำขจรศักดิ์[ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ"
  6. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)"
  7. วันครบรอบ 111 ปี โรงเรียนสตรีเจ้าหลวงเชียงใหม่ “วัฒโนทัยพายัพ”
  8. สักการะองค์เจ้าหลวง[ลิงก์เสีย]
  9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  10. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการบำเพ็ญพระกุศลถวายผ้าพระกฐิน ประจำปี 2565 ณ วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ)ในพระราชูปถัมภ์ จ.ลำพูน
  11. สถาบันผ้าทอมือหริภุชัย[ลิงก์เสีย]
  12. นิตยสาร HELLO! ปีที่ 9 ฉบับที่ 16 สิงหาคม 2557[ลิงก์เสีย]
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  14. นิสิตเก่าดีเด่น ปี 2548[ลิงก์เสีย]
  15. พิธีมอบรางวัลคนดีศรีลำพูนปี53 ยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม[ลิงก์เสีย]