เจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิโคลัส
ผู้สำเร็จราชการแห่งโรมาเนีย
ดำรงพระยศ20 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 - 8 มิถุนายน ค.ศ. 1930
กษัตริย์ไมเคิลที่ 1
ประสูติ3 สิงหาคม ค.ศ. 1903(1903-08-03)
ซินายอา ราชอาณาจักรโรมาเนีย
สิ้นพระชนม์9 มิถุนายน ค.ศ. 1978(1978-06-09) (74 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
ฝังพระศพสุสานคริสเตียน พิลี รัฐโว โลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
พระชายาโจแอนนา ดูมิทเทสคู-โดเลทติ
เทเรซา ลิสโบอา ฟิกกูเอรา เดอ เมโล
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน
พระบิดาเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
พระมารดาสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

เจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย (ภาษาโรมาเนีย:Nicolae de România, 3 สิงหาคม ค.ศ. 1903 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1978) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ของเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

พระประวัติ[แก้]

เจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย

เจ้าชายนิโคลัสทรงประสูติที่ปราสาทเปเรส, เมืองซินายอา, ประเทศโรมาเนีย พระองค์เป็นพระอนุชาของเจ้าชายคาโรล รัชทายาทผู้ซึ่งปฏิเสธการสืบราชสมบัติในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925 เพื่อจะอภิเษกสมรสกับซิซิ ลามบริโน สามัญชน (ต่อมาได้หย่าขาดกัน) เมื่อเฟอร์ดินานด์ พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1927 เจ้าชายไมเคิลพระโอรสของเจ้าชายคาโรลพระชนมายุ 5 พรรษาทรงครองราชสมบัติต่อ โดยเจ้าชายนิโคลัสทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ทรงละทิ้งงานในราชนาวีอังกฤษ ทรงถูกเรียกตัวกลับโรมาเนียเพื่อปฏิบัติราชการร่วมกับพระสังฆราช มิรอน คริสทีและจอร์เกอร์ บุซดูกัน ผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศ

อาจกล่าวได้ว่านี้เป็นการที่พระองค์ทรงได้พระยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นตำแหน่งแรก เจ้าชายนิโคลัสทรงไม่พอพระทัยที่ต้องสละงานด้านราชนาวีและพระองค์ทรงไม่ถนัดด้านการปกครอง พระองค์ทรงดำเนินการตามแบบของพระบิดาซึ่งทำงานร่วมกับพรรคเสรีนิยมชาติโรมาเนีย (PNL) และจำกัดพรรคฝ่ายค้านคือพรรคเกษตรกรชาติโรมาเนีย (PNŢ) พระองค์ประสงค์ตั้งคณะการปกครองชาติซึ่งตอนนั้นผู้นำรัฐบาลคือเอียน ไอ.ซี.บราเทียนูจากพรรคPNLปฏิเสธ เขาได้ร่วมเป็นพยานในการเปลี่ยนท่าทีของเจ้าชายคาโรลในกลางปี ค.ศ. 1927 เมื่อการโต้ตอบกันไปในทางรุนแรงขึ้นจนถึงการให้ยอมในราชบัลลังก์ การร่วมมือระหว่างเจ้าชายคาโรลกับพรรค PNŢ ได้ประกาศเป็นกลางโดยพรรค PNL แต่เมื่อบราเทียนูถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1927 เริ่มมีการฟื้นฟูสัญญาและการเพิ่มขึ้นของพรรค PNŢ ทำให้เห็นว่าเหล่าผู้สำเร็จราชการมีอำนาจแต่เพียงในนามเท่านั้น และหลังจากคอนสแตนติน ซาราเทียนู (ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากลูลิว มานิว หัวหน้าพรรค PNŢ) ดำรงตำแหน่งต่อจากบุซดูกันซึ่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1929 มันกลายเป็นรอยแตกร้าวจากความแตกต่างในอำนาจทางการเมือง มิรอน คริสทีได้กล่าวว่า:"เหล่าผู้สำเร็จราชการทำงานไม่ได้เพราะไม่มีผู้นำ เจ้าชายทรงสูบบุหรี่ ซาราเทียนูมองไปท่ามกลางกองหนังสือของเขาและฉันเป็นบาทหลวงเพียงทำไห้ปรองดองกัน"

เจ้าชายนิโคลัสทรงปิติยินดีครั้งแรกเมื่อพระเชษฐาเจ้าชายคาโรลเสด็จกลับโรมาเนียในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1930 เพื่อครองราชสมบัติ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติล้มเลิกกฎหมายปี ค.ศ. 1926 และได้ติดตามพระเชษฐาที่เพิ่งเสด็จกลับมาใหม่ๆ จากสนามบินนานาชาติเออร์เรล วไลคูจนถึงพระราชวังโคโทรเซนิ

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ที่เป็นกันเองของพระองค์กับพระเชษฐาคาโรลเป็นเพียงสายสั้นๆ เท่านั้น เจ้าชายนิโคลัสทรงต้องการอภิเษกสมรสกับโจแอนนา ดูมิทเทสคู-โดเลทติ สตรีที่ผ่านการสมรสมาแล้ว เป็นการลำบากที่กษัตริย์ต้องให้อำนาจในการอภิเษกสมรส พระเจ้าคาโรลได้แนะนำว่าคู่สมรสควรสมรสโดยปราศจากการหาคำยอมรับ พระองค์ได้ประกาศเหตุการณ์นี้จะยอมรับว่าการสมรสครั้งนี้ สิ่งที่ทำสำเร็จไปแล้ว หลังจากการสมรสพระเจ้าคาโรลได้ขับเจ้าชายนิโคลัสออกจากประเทศพร้อมกับถอนพระยศเพื่อจะได้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ เจ้าชายนิโคลัสจึงเสด็จไปพำนักที่สเปนและท้ายสุดตั้งรกรากที่สวิตเซอร์แลนด์ พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่มาดริด ประเทศสเปน พระชันษา 74 ปี

เจ้าชายนิโคลัสทรงอภิเษกสมรส 2 ครั้ง ครั้งแรกที่โตฮานิ โรมาเนีย ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 กับโจแอนนา ดูมิทเทสคู-โดเลทติ และครั้งที่ 2 ที่โลซานกับชาวบราซิลชื่อ เทเรซา ลิสโบอา ฟิกกูเอรา เดอ เมโล พระองค์ทรงไม่มีบุตรและธิดา

พระอิสริยยศ[แก้]

เจ้าชายนิโคลัสทรงได้รับพระอิศริยยศเป็นจอมพลอากาศของกองทัพอากาศโรมาเนีย, พลเรือโทกิตติมศักดิ์ของราชนาวีอังกฤษ, อัศวินแห่งพระบัญชาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย, ปลัดแห่งมอลตา และพระอิสริยยศอื่นๆ อีกมากมาย

พระองค์ทรงถูกถอนยศทั้งหมดและสิทธิพิเศษโดยคำตัดสินของสภากษัตริย์ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1937 และทรงได้รับพระนามว่า นิโคไล บรานา พระองค์รับเอา โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น เป็นนามสกุลและพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยราชวงศ์ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ได้ยอมรับพระองค์เป็น เจ้าชายแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น (H.R.H. Prince of Hohenzollern) และคู่สมรสของพระองค์ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น (H.R.H. Princess of Hohenzollern)

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เจ้าชายชาร์ลส์แห่งโฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน
 
 
 
 
 
 
 
8. ชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มารี แอนโตเน็ต มูรัต
 
 
 
 
 
 
 
4. ลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. แกรนด์ดยุคคาร์ลแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สเตฟานี เดอ โบอาเนส์
 
 
 
 
 
 
 
2. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อธธา
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมารี แอนโตเน็ตแห่งโคฮารี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
11. มาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. จักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. แอร์นส์ที่ 1 ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
6. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ออกุสตุส ดยุคแห่งเคนท์และสตราเธิร์น
 
 
 
 
 
 
 
13. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก-ซาร์ฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
14. ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
7. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. แกรนด์ดยุคหลุยส์ที่ 2 แห่งเฮสส์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงวิลเฮล์มมิเนแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]