เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาสาย
ในรัชกาลที่ ๕
เกิดสาย สุกุมลจันทร์
พ.ศ. 2400
เสียชีวิตพ.ศ. 2498
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรพระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนาม
บุพการีพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์)
คุณหญิงสุรินทรราชเสนี (กลิ่น)

เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์) กับ คุณหญิงกลิ่น สุรินทรราชเสนี (สกุลเดิม รักตประจิต)[1] ท่านมีพี่น้องที่ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน ดังนี้

ท่านได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ให้ประสูติกาลพระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนามหนึ่งพระองค์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2424 และสิ้นพระชนม์ในวันต่อมา[2]

เจ้าจอมมารดาสาย ขึ้นชื่อว่าเป็น "นางเอกละครแถวหน้า" อีกท่านหนึ่งในราชสำนักรัชกาลที่ ๔-๕ ด้วยเพราะรูปร่างหน้าตาสะสวย และมีความสามารถในการรำที่โดดเด่น เมื่อมีการประดิษฐ์ท่ารำ ชุด ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาสาย ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดท่ารำ และคาดว่าน่าจะเป็นตัวแสดงฉุยฉายนี้คู่กับเจ้าจอมละม้าย สุวรรณทัต ด้วยเพราะท่านทั้งสองเป็นนางละครรุ่นเดียวกัน มีความสามารถโดดเด่นเหมือนกัน และเป็นที่ร่ำลือเรื่องความงามของหน้าตา

เจ้าจอมมารดาสายเป็นนางละครหลวงรุ่นเล็ก ในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลที่ 5 และคณะละครวังสวนกุหลาบอีกด้วย มีความสามารถสูงในการรำบทบาทตัวละครเอกในเรื่องต่างๆ วิชาความรู้จากเจ้าจอมมารดาสาย ที่ตกทอดมายังกรมศิลปากร และวิทยาลัยนาฏศิลป ตลอดจนสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์อื่น ๆ และยึดเป็นรูปแบบมาถึงปัจจุบัน มีดังนี้ ๑ รำที่มีกิ่งไม้เงินทองประดับ เช่น รำกลมกิ่งไม้เงินทอง รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ๒ รำฝรั่งคู่ ทั้งตัวพระ และตัวนาง ๓ ท่ารำอวดฝีมือของตัวละครเอกต่าง ๆ เช่นพระอุณรุท และนางอุษา จากละครใน เรื่อง อุณรุท , พระอรชุน และนางเมขลา จากละครใน เรื่อง รามเกียรติ์

เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2498 อัฐิของท่านบรรจุไว้ที่เจดีย์หน้าศาลาวรลักษณาวดี วัดพระยายัง กรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เจฟฟี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ:พิษณุโลกการพิมพ์. 2532
  2. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 89. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/035/374_1.PDF
  4. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1154. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5332.0

  • ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580