เจือทอง อุรัสยะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจือทอง อุรัสยะนันท์)

เจือทอง อุรัสยะนันทน์

เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463
จังหวัดสมุทรสาคร
เสียชีวิต17 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (78 ปี)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากภริยานักปกครอง
คู่สมรสนายจาด อุรัสยะนันทน์
บุตรท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
นายจิระเจตต์ อุรัสยะนันทน์
นายจารุจินต์ อุรัสยะนันทน์
นายจริมจิตต์ อุรัสยะนันทน์
บุพการี
  • เท้ง กรีทอง (บิดา)
  • จู กรีทอง (มารดา)

ประวัติ[แก้]

ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ เป็นบุตรีของนายเท้ง-นางจู กรีทอง คหบดีชาว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพี่คนโต ในจำนวนพี่น้อง 6 คน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2463 ณ บ้านเลขที่ 114 ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เริ่มการศึกษาชั้น ประถม ที่โรงเรียนสาครวิทยา ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยจนสำเร็จ ประโยคครู ประถมสามัญ จึงได้เข้ารับราชการเป้นครูในกรมสามัญศึกษา และออกไปเป็นครูที่โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดปัตตานี

ต้นปีการศึกษา พ.ศ. 2487 ท่านผู้หญิงเจือทอง ได้ลาออกจากราชการเพื่อสมรสกับนายจาด อุรัสยะนันทน์(2457-2549...92 ปี)นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และย้ายติดตาม สามีซึ่งไปรับราชการ ในหลายจังหวัด เช่นในการดำรงตำแหน่งนายอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลัด จังหวัดปัตตานี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น ระหว่างนี้ท่านผู้หญิงเจือทองได้ออกปฏิบัติงานในฐานะภรรยานักปกครอง นำหน่วยออก เยี่ยมเยียนช่วยเหลือราษฎร์อยู่เป็นประจำ ทั้งในยามปกติและสาธารณะภัย ยิ่งเมื่อดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดจังหวัด และนายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงประจำจังหวัด ก็ยิ่งได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ท่านได้จัดงานเผยแพร่กิจกรรมและ อนุรักษ์วัฒธรรมของท้องถิ่นและจัดงานประจำปีเพื่อหารายได้สะสมไว้ช่วยเหลือราษฎร์ที่ประสบภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา จนได้รับการยกย่องจากสภากาชาดไทย ว่าเป็นเหล่ากาชาดที่มีรายได้สะสมไว้ช่วยเหลือประชาชนสูงกว่า เหล่ากาชาดใด ๆ รวมทั้งยังดำเนินกิจการ ของกาชาด ได้ครบ ถ้วนและสม่ำเสมออีกด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2514 ท่านผู้หญิงเจือทอง เริ่มป่วยจากการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ก่อให้เกิด การอุดตันของเส้นโลหิต จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยเป็น คนไข้ใน พระบรมราชานุเคราะห์ และได้กลับมาพักผ่อนที่บ้านโดยไม่ได้ออกไปไหน ด้วยปัญหาสุขภาพไม่แข็งแรง แต่ก็พอเดินเหินและช่วยตัวเองทุกอย่างอยู่ในบ้านได้อย่างดี จนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2542 ท่านมีอาการปวดศีรษะ และบ่นว่าร้อน บุตรจึงพาส่งโรงพยาบาล จวบจนวาระสุดท้าย ท่านได้ถึงอนิจกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่อาทิตย์ ที 17 ตุลาคม 2542 รวมอายุท่านได้ 79 ปี

การถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท[แก้]

ท่านผู้หญิงเจือทองมีความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรีอย่างสูงสุด เมื่อท่านดำรง ตำแหน่ง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบุรี ท่านภูมิใจที่ได้มี โอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จแปร พระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวลหัวหิน อยู่เป็นระยะเวลานาน เพราะสามีของ ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีถึง 11 ปี เนื่องจากท่าน ผู้หญิงเจือทอง เป็น ผู้มีฝีมือทางการประกอบอาหารทั้งคาว และหวาน ท่านจึงประกอบเครื่องเสวยต่าง ๆ ส่งไป ทูลเกล้า ฯ ถวายเป็นประจำ ส่วนประกอบของเครื่องเสวยนั้น ท่านจะตระเตรียม ด้วยตน เองขั้นตอน ไม่ยอมให้บริวารเข้ามาช่วย ท่านระมัดระวังเรื่องความสะอาดอย่างยิ่งยวด เพราะสิ่งที่จะทูลเกล้า ฯ ถวายจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ

วันสำคัญของพระบรมวงศ์ เช่น วันพระราชสมภพ ท่านจะไปลงนามถวายพระพร และทำ บุญถวายเป็นพระราชกุศล ท่านมีความสุขที่จะได้ติดตามข่าว ในพระราชสำนัก และรับ ฟังข่าวคราวของพระบรมวงศานุวงศ์ ท่านภูมิใจที่ทายาทของท่านได้รับราชการ และได้ ปฏิบัติงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งจะอบรมบุตรหลานของท่านเสมอ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเทิดทูนสถาบันนี้ไว้เหนือสิ่งอื่นใด

ท่านผู้หญิงเจือทอง เป็นภริยาผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกที่ได้รับพระราชทายตราจุลจอมเกล้าในขณะที่สามียังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด และยิ่งกว่านั้นคือสตรี ทั่วไปที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าครั้งแรก มักจะได้รับพระราชทาน ชั้นที่ 4 คือจตุตถจุลจอมเกล้า แต่ท่านได้รับพระราชทานครั้งแรกก็เป็นตราชั้นที่ 3 คือ ตติยจุลจอมเกล้า ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัตอันงาม ยังความภาคภูใจ ความปลาบปลื้ม และความซาบซึ้ง ในพระมหา กรุณาธิคุณ แก่ท่าน ผู้ หญิงเจือทองอยู่ตลอดเวลา ต่อมาสามีของท่าน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองปลัด กระทรวงมหาดไทย จนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2518 และได้รับพระราชทาน พระ มหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และนายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ตามลำดับ ท่านผู้หญิงเจือทองก็ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากภริยานักปกครองมาทำงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท เช่นเดียวกัน โดยท่านได้อาสาเยี่ยมคน ไข้ในพระบรมราชนุเคราะห์ และเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานประจำอยู่ที่ศาลาเทวานุกูล สวนจิตรลดาโดยตลอด

ครอบครัว[แก้]

ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ สมรสกับนายจาด อุรัสยะนันทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, อดีตเลขาธิการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และอดีตนายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ

  1. ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  2. นายจิระเจตต์ อุรัสยะนันทน์ นักวิชาการป่าไม้ 8 สำนักวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  3. นายจารุจินต์ อุรัสยะนันทน์ ผู้เชี่ยวชาญและผู้อำนวยการโครงการฯ การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย
  4. นายจริมจิตต์ อุรัสยะนันทน์ ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาคลองตัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ท่านผู้หญิงเจือทองได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๘๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษหน้า ๖๔๑, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๗๖๕, ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๔๘, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒