เจมส์ บูชานัน ดุ๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก)
เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก
James Buchanan Duke
เกิด23 ธันวาคม ค.ศ. 1856(1856-12-23)
เมืองเดอแรม รัฐนอร์ทแคโรไลนา
เสียชีวิต10 ตุลาคม ค.ศ. 1925(1925-10-10) (68 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
สุสานมหาวิทยาลัยดุ๊ก
บุตรดอริส ดุ๊ก
บุพการีวอชิงตัน ดุ๊ก

เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก (อังกฤษ: James Buchanan Duke) (23 ธันวาคม ค.ศ. 1856 – 10 ตุลาคม 1925) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันและเป็นผู้ใจบุญผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยดุ๊ก ในปีค.ศ. 1890 ดุ๊กเป็นประธานบริษัทอเมริกัน โทแบคโค คอมปานี (American Tobacco Company) ซึ่งควบคุมตลาดผูกขาด ผู้ผลติ มีอำนาจในการกำหนดราคาแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งในปีค.ศ. 1911 โดนกฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Law) บังคับให้แบ่งบริษัทอเมริกัน โทแบคโค คอมปานี ออกเป็นบริษัทเล็กๆ จำนวนหลายบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่สวัสดิการสูงสุดของสังคม โดยควบคุมมิให้หน่วยผลิตใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เหมาะสม หรือเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันที่จะสร้างผลเสียต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเมื่อดุ๊กร่ำรวยอย่างมหาศาลเขาตัดสินใจสร้างมูลนิธิ The Duke Endowment ขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคม

ประวัติ[แก้]

เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1856 ที่ไร่นาเล็กๆแห่งหนึ่งไกล้กับเมืองเดอแรม รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในปีที่ดุ๊กเกิดเป็นช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไร่นาของครอบครัวเขาจึงถูกทหารฝั่งเหนือหรือสหรัฐอเมริกา (Union Army) เผาทำลาย หลังจบสงครามพ่อของเขา วอชิงตัน ดุ๊ก (Washington Duke) ผู้ซึ่งกลับมาจากการเป็นทหารของฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) ได้ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจครอบครัวใหม่ด้วยเงินเพียง 50 เซนต์ ครอบครัวดุ๊กได้เริ่มทำธุรกิจขายโทแบคโค(บุหรี่) ในปีค.ศ. 1872 ครอบครัวดุ๊กสามารถขายบุหรี่ได้ถึง 125,000 ปอนด์ต่อปีสร้างความร่ำรวยให้แก่ตระกูลดุ๊กเป็นอย่างมาก

ใน ปี.ค.ศ. 1881 เจมส์ บอนแสค (James Bonsack) สามารถประดิษฐ์เครื่องมวนใบยาด้วยกระดาษอัตโนมัติ บอนแสคได้ผลิตใบยาที่ห่อด้วยกระดาษออกมาอย่างรวดเร็วและมากมาย โดยเรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่าซิกาแรต (บุหรี่) แต่ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อบอนแสคไม่ทราบว่าจะเอาบุหรี่ที่ผลิตออกมานี้ไปขายให้ใครจึงตัดสินใจนำเครื่องจักรไปขายต่อให้แก่ เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องมวนใบยาอัตโนมัติ ดุ๊ก ได้ตั้งบริษัทผลิตใบยาใหญ่โตขึ้นที่รัฐนิวยอร์ก ใช้วิธีการโฆษณาเจาะตลาดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ในเวลา 3 ปีให้หลังดุ๊กก็สามารถควบคุมธุรกิจโทแบคโคไว้ได้ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

ในปี ค.ศ. 1940 บริษัทอเมริกัน โทแบคโค คอมปานี สามารถควบคุม 90 เปอร์เซ็นของตลาดบุหรี่ในสหรัฐอเมริกาและประมาณ 50 เปอร์เซ็นของตลาดโลก เมื่อบริษัทอเมริกัน โทแบคโค คอมปานี มีมูลค่า 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาก็บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Law) และบังคับให้แบ่งบริษัทอเมริกัน โทแบคโค คอมปานี ออกเป็นบริษัทเล็กๆ จำนวนหลายบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่สวัสดิการสูงสุดของสังคม โดยควบคุมมิให้หน่วยผลิตใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เหมาะสม หรือเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันที่จะสร้างผลเสียต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ

นอกจากดุ๊กจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมหาศาลแล้วขายังเป็นผู้ใจบุญอีกด้วย ดุ๊กบริจาคเงินมหาศาลให้แก่โรงพยบาลและโบสถ์ และในที่สุดจึงตัดสินใจสร้างมูลนิธิ The Duke Endowment ขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคม เงินบริจาคก้อนหนึ่งได้ถูกจัดเก็บไว้เพื่อช่วยเหลือวิทยาลัยไทรนิทีในเมื่องบ้านเกิดของเขา เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ตระกูลดุ๊ก วิลเลียม ฟิวส์ เพรสตัน อาจาร์ใหญ่ของวิทยาลัยไทรนิทีในเวลานั้นได้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยไทรนิทีเป็นมหาวิทยาลัยดุ๊ก

อ้างอิง[แก้]

  1. Klepper, Michael; Gunther, Michael (1996), The Wealthy 100: From Benjamin Franklin to Bill Gates—A Ranking of the Richest Americans, Past and Present, Secaucus, New Jersey: Carol Publishing Group, p. xiii, ISBN 9780806518008, OCLC 33818143
  • Robert Sobel The Entrepreneurs: Explorations Within the American Business Tradition
  • (Weybright & Talley 1974), Chapter 5, James Buchanan Duke: Opportunism Is the Spur
  • Robert F. Durden Bold Entrepreneur: A Life of James B. Duke (Carolina Academic Press, 2003)
  • John Wilber Jenkins James B. Duke: Master Builder (George H. Doran Company 1927)