เงิน เงิน เงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เงินเงินเงิน)
เงิน เงิน เงิน
กำกับพ.ศ 2508
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พ.ศ. 2526
ยุทธนา มุกดาสนิท
บทภาพยนตร์พระนิพนธ์ของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
บทภาพยนตร์ :
พ.ศ 2508
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พ.ศ. 2526
ยุทธนา มุกดาสนิท
อำนวยการสร้างพ.ศ 2508
หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา
พ.ศ. 2526
นักแสดงนำพ.ศ 2508
มิตร ชัยบัญชา
เพชรา เชาวราษฎร์
ชรินทร์ นันทนาคร
สุมาลี ทองหล่อ
สุเทพ วงศ์กำแหง
อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
วิไลวรรณ วัฒนพานิช
ล้อต๊อก
ชูศรี มีสมมนต์
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
อดุลย์ กรีน
อบ บุญติด
ท้วม ทรนง
สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต
มีศักดิ์ นาครัตน์
พร ภิรมย์
พ.ศ. 2526
เกรียงไกร อุณหะนันทน์
อภิรดี ภวภูตานนท์
อโนเชาว์ ยอดบุตร
ปาหนัน ณ พัทลุง
เศรษฐา ศิระฉายา
มยุรา ธนะบุตร
ล้อต๊อก
พิศมัย วิไลศักดิ์
อมรา อัศวนนท์
ถ่ายภาพพ.ศ 2508
โสภณ จงเสถียร
พ.ศ. 2526
ลำดับภาพพ.ศ 2508
จุรัย เกษมสุวรรณ
พ.ศ. 2526
ดนตรีประกอบพ.ศ 2508
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริจักรพันธุ์
คณะสามศักดิ์
ชรินทร์ นันทนาคร
เอื้อ สุนทรสนาน
แก้ว อัจฉริยะกุล
สง่า อารัมภีร์
สมาน กาญจนผลิน
ชาลี อินทรวิจิตร
สุรพล โทณะวณิก
พร ภิรมย์
พ.ศ. 2526
บริษัทผู้สร้าง
พ.ศ 2508
ละโว้ภาพยนตร์
พ.ศ. 2526
ผู้จัดจำหน่ายพ.ศ 2508
ละโว้ภาพยนตร์
เอวันฟิล์ม
พ.ศ. 2526
ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
วันฉายพ.ศ 2508
28 ธันวาคม พ.ศ. 2508
พ.ศ. 2526
7 กันยายน พ.ศ. 2526
ความยาวพ.ศ 2508
196 นาที
พ.ศ. 2526
139 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
เงิน เงิน เงิน
สร้างโดยพ.ศ. 2540
ดาราวิดีโอ
เขียนโดยพระนิพนธ์ของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
บทโทรทัศน์ :
พ.ศ. 2540
ปราณประมูล
กำกับโดยพ.ศ. 2540
วีระชัย รุ่งเรือง
แสดงนำพ.ศ. 2540
เอกรัตน์ สารสุข
ฌัชฌา รุจินานนท์
ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
เกวลิน คอตแลนด์
รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์
ลินดา ครอส
สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์
ดวงดาว จารุจินดา
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดพ.ศ. 2540
เงิน เงิน เงิน
ดนตรีแก่นเรื่องปิดพ.ศ. 2540
เงิน เงิน เงิน
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอนพ.ศ. 2540
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตพ.ศ. 2540
ผู้อำนวยการสร้างพ.ศ. 2540
สุรางค์ เปรมปรีดิ์
ความยาวตอนพ.ศ. 2540
ออกอากาศ
เครือข่ายพ.ศ. 2540
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศพ.ศ. 2540

เงิน เงิน เงิน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2508 สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, ชรินทร์ นันทนาคร, สุมาลี ทองหล่อ, สุเทพ วงศ์กำแหง และ อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ในระบบซูเปอร์ซีเนสโคป สีอีสต์แมนและเสียงพากย์ในฟิล์ม นับเป็นเรื่องแรกที่มิตรและเพชราได้แสดงภาพยนตร์ไทยมาตรฐานสากลตลอดเรื่อง มีความยาวถึงสามชั่วโมงเศษ รวมทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทยด้วยการรวมนักแสดงในยุคนั้นไว้มากมายถึง 60 กว่าคน โดยมีใช้คำโฆษณาว่า เพลงพราว ดาวพรู ดูเพลิน และยังมีเพลงประกอบ 14 เพลงจาก 15 นักเพลง[1] สามารถทำรายได้มากเป็นประวัติการณ์ [2] นอกจากนี้ครูเอื้อ สุนทรสนาน ยังได้ให้เกียรติร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวในชีวิตของครูเอื้อ โดยได้ขับร้องเพลง ร่มเกล้า ซึ่งเป็นเพลงพระนิพนธ์ประกอบภาพยนตร์เพลงแรกของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ในงานมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ประจำ พ.ศ. 2508 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ได้แก่ โล่เกียรตินิยมในฐานะดารานำชาย-หญิง ที่ทำเงินรายได้มากที่สุด (มิตร ชัยบัญชา-เพชรา เชาวราษฎร์) และรางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม (เพลง "หยาดเพชร") [3] และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี พ.ศ. 2555 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทยของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)[4]

เรื่องย่อ[แก้]

ขุนหิรัญ (อบ บุญติด) นายทุนเงินกู้ วัตโกเศรษฐกิจ มอบหมายให้หลานชาย ตุ๊ อรรคพล (มิตร ชัยบัญชา) เอาสัญญาเงินกู้ไปขู่บังคับชาวบางรื่นสุข ให้ย้ายออกด่วนเพื่อเอาที่ดินไปทำธุรกิจตึกแถวร่วมกับ คุณนายเม้า (สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต) หุ้นส่วน

ซึ่งอรรคพลไม่ชอบวิธีการเช่นนี้ และเมื่อได้พบกับชุมชนที่สุขสงบ เรียบง่าย รวมทั้งกลุ่มวงดนตรีแก๊งค์เด็กวัดอารามบอย ทำให้ความหวังที่จะทำธุรกิจบันเทิงอย่างที่ตนเองฝันไว้ผุดขึ้นมาอีกครั้ง จึงรวมกลุ่มกับแก๊งค์เด็กวัดเพื่อเปิดกิจการไนท์คลับ แต่ก็ถูกกลั่นแกล้งจากท่านขุน

ขณะเดียวกัน ภารดี (สุมาลี ทองหล่อ) น้องสาวแอบรักชอบกับ รังสรรค์ (ชรินทร์ นันทนาคร) ครูสอนเปียโนฐานะยากจน เมื่อหลานชายกับหลานสาวไม่ได้ดังใจ เศรษฐีหน้าเลือดอย่างท่านขุน จึงไล่ทั้งคู่ออกจากบ้าน โดยยื่นเงื่อนไขให้เอาเงินมาไถ่ที่ราคาหนึ่งล้านบาท

เหตุการณ์พลิกผันให้อรรคพลพบกับแม่ที่พลัดพรากกัน (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) และได้ กิ่งแก้ว (เพชรา เชาวราษฎร์) เด็กขอทานผู้เป็นเสมือนพลังใจ จนทำให้ความสัมพันธ์พัฒนาเป็นความรัก และช่วยกันหาทางนำเงินมาไถ่ถอนที่ได้สำเร็จ

การนำมาสร้างใหม่[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำมาสร้างใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 ในรูปแบบภาพยนตร์เพลง กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท นำแสดงโดย เกรียงไกร อุณหะนันท์-อภิรดี ภวภูตานนท์, อโนเชาว์ ยอดบุตร-ปาหนัน ณ พัทลุง, เศรษฐา ศิระฉายา-มยุรา ธนะบุตร และล้อต๊อก-อมรา อัศวนนท์-พิศมัย วิไลศักดิ์ ออกฉายเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2526 ที่โรงหนังเอเธนส์-แกรนด์-พาราไดซ์-ศรีย่าน-พระโขนงรามา-นครหลวงรามา-ลาดพร้าวสะพาน 2 [5] ปกวีซีดีภาพยนตร์ เงิน เงิน เงิน (2526) โดยโซล่าร์ มาร์เก็ตติ้ง และปัจจุบันเรื่องนี้ทางบีเคพีนำมารีมาสเตอร์ใหม่ภายใต้โปรเจกต์ The Legend Collection ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นภาพยนตร์ในตำนานอีกเรื่องหนึ่งที่ควรค่าแก่การเก็บสะสมเช่นกัน

เมื่อ พ.ศ. 2540 นำกลับมาสร้างใหม่เป็นละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำทางช่อง 7 นำแสดงโดย เอกรัตน์ สารสุข-ฌัชฌา รุจินานนท์,ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี-เกวลิน คอตแลนด์,รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์-ลินดา ครอส,สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์,ดวงดาว จารุจินดา,ปนัดดา โกมารทัต ,รัญญา ศิยานนท์,สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์,ทองขาว ภัทรโชคชัย,บู๊ วิบูลย์นันท์,เกียรติศักดิ์ อุดมนาค,หนู คลองเตย,สุเทพ วงศ์กำแหง,มีศักดิ์ นาครัตน์,พูนสวัสดิ์ ธีมากร

เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ได้มีการนำเรื่อง เงิน เงิน เงิน มาแสดงเป็นละครเวที "AF The Musical ตอน เงิน เงิน เงิน" จำนวน 12 รอบ โดยบริษัททรู แฟนเทเชีย ซึ่งมีนักแสดงจาก ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย นำแสดงโดย พิษณุ นิ่มสกุล (อรรคพล), พัดชา เอนกอายุวัฒน์ (กิ่งแก้ว), เกียรติกมล ล่าทา (ครูรังสรรค์) และ มิณฑิตา วัฒนกุล (ภารดี)

นักแสดง[แก้]

ปี พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550
รูปแบบการนำเสนอ ภาพยนตร์ 35 ม.ม ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 7 ละครเวที AF The Musical
ผู้สร้าง ละโว้ภาพยนตร์ ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ดาราวีดีโอ ทรู แฟนเทเชีย
ผู้กำกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ยุทธนา มุกดาสนิท วีระชัย รุ่งเรือง สุวรรณดี จักราวรวุธ
บทการแสดง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ยุทธนา มุกดาสนิท ปราณประมูล ดารกา วงศ์ศิริ
ตุ๊ อรรคพล มิตร ชัยบัญชา เกรียงไกร อุณหะนันท์ เอกรัตน์ สารสุข พิษณุ นิ่มสกุล
กิ่งแก้ว เพชรา เชาวราษฎร์ อภิรดี ภวภูตานนท์ ฌัชฌา รุจินานนท์ พัดชา เอนกอายุวัฒน์
รังสรรค์ ชรินทร์ นันทนาคร อโนเชาว์ ยอดบุตร ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี เกียรติกมล ล่าทา
ภารดี สุมาลี ทองหล่อ ปาหนัน ณ พัทลุง เกวลิน คอตแลนด์ มิณฑิตา วัฒนกุล
สัปเหร่อยุทธ สุเทพ วงศ์กำแหง เศรษฐา ศิระฉายา รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์ ธนกฤต พานิชวิทย์
นัตตี้ อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา มยุรา ธนะบุตร ลินดา ครอส นลิน โฮเลอร์
ขุนหิรัญ อบ บุญติด ล้อต๊อก สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ไพโรจน์ สังวริบุตร
คุณนายเม้า สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต พิศมัย วิไลศักดิ์ ดวงดาว จารุจินดา ดารณีนุช ปสุตนาวิน
วิมลวัลย์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช อมรา อัศวนนท์ ปนัดดา โกมารทัต -
หมวย ชูศรี มีสมมนต์ - สิทธิวดี กิตติสิทโธ อนุสรา วันทองทักษ์
ราเชนทร์ พร ภิรมย์ พีรพล จันทรากาศ ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ
เกสร หม่อมชั้น พวงวัน - รัญญา ศิยานนท์ พุทธชาด พงศ์สุชาติ
เด่น ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เด๋อ ดอกสะเดา โบ๊ท วิบูลย์นันท์ ธัชพล ชุมดวง
ดำ มีศักดิ์ นาครัตน์ ดู๋ ดอกกระโดน เกียรติศักดิ์ อุดมนาค ภาณุพล เอกเพชร
แดง อดุลย์ กรีน ดี๋ ดอกมะดัน หนู คลองเตย ปานเวทย์ ไสยคล้าย

เพลงประกอบ[แก้]

เพลงเหล่านี้นำมาใช้ประกอบภาพยนตร์หรือละครเรื่องนี้เสมอทุกครั้งที่นำมาสร้างใหม่

ปี ชื่อเพลง ทำนอง คำร้อง เรียบเรียง ขับร้อง
2508 หยาดเพชร สมาน กาญจนผลิน ชาลี อินทรวิจิตร ธีรศักดิ์ กีรติเตชากร ชรินทร์ นันทนาคร
2526 สุรสีห์ อิทธิกุล
2540 ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
2550 เกียรติกมล ล่าทา
2508 แค่คืบ สง่า อารัมภีร์ สง่า อารัมภีร์ ธีรศักดิ์ กีตรเตชากร ชรินทร์ นันทนาคร
2526
2540 ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
2550
2508 เงิน เงิน เงิน ตัวอย่าง ตัวอย่าง สุดชาย ธมศิวพัฒน์ คณะสามศักดิ์
2526
2540 เอกรัตน์ สารสุข
ฌัชฌา รุจินานนท์
ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
เกวลิน คอตแลนด์
รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์
ลินดา ครอส
2550
2508 อารามบอย แก้ว อัจฉริยะกุล เวส สุนทรจามร วิวัฒน์ อินทะกนก คณะสามศักดิ์
2526
2540 เสนาหอย
หนู เชิญยิ้ม
ปฏิญญา วิบูลย์นันท์
2550
2508 มาร์ชลูกหนี้ ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง สุเทพ วงศ์กำแหง-คณะสามศักดิ์
2526 ตัวอย่าง ตัวอย่าง
2540 ตัวอย่าง ตัวอย่าง
2550 ตัวอย่าง ตัวอย่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. “เงิน เงิน เงิน” (พ.ศ. 2508) เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ประวิทย์ แต่งอักษร
  2. "thaifilm.com - ชุมทางหนังไทยในอดีต (ตอนที่ 2)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2013-09-04.
  4. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 4 ต.ค.2555
  5. วันนี้ในอดีต 10 กันยายน 2526.. เงิน เงิน เงิน กลับมา... โดย มนัส กิ่งจันทร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]