เควซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดจินตนาการของศิลปินที่วาดเควซาร์ ULAS J1120+0641 ที่ส่องสว่างเมือ 12.9 พันล้านปีที่แล้ว

เควซาร์ หรือ เควเซอร์ (อังกฤษ: quasar; IPA: /ˈkweɪzɑr/) เป็นคำย่อของคำว่า Quasistellar Radio Sources หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุคล้ายกับดวงดาว ถูกค้นพบเมื่อทศวรรษที่ 1960 ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เริ่มแรกเควซาร์ไม่มีหลักฐานระบุแน่นอนว่าคืออะไร แต่จากที่นักดาราศาสตร์ได้สำรวจและค้นพบ เควซาร์คือวัตถุที่มีแสงสว่างเจิดจ้าเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่พวกมันจะอยู่ห่างไกลจากโลกด้วยระยะทางมากกว่า 100,000,000 ปีแสง ซี่งเคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็วสูงประมาณ 177,000 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเกือบเทียบเท่ากับแสง

เควซาร์อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นอย่างมาก จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นวัตถุที่ก่อกำเนิดขึ้นในห้วงอวกาศ ในยุคของการเริ่มแรกของประวัติศาสตร์เอกภพ ซึ่งแสงเจิดจ้าที่ได้รับจากเควซาร์นี้ ได้เดินทางมาในห้วงอวกาศด้วยระยะเวลาหลายสิบๆล้านปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก เควซาร์อาจจะเดินทางในห้วงอวกาศมายาวนานก่อนที่โลกจะถือกำเนิดขึ้น และจากการศึกษาล่าสุดของนักดาราศาสตร์ได้ระบุว่า เควซาร์คือวัตถุขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับดาวฤกษ์ คือมีแสงสว่างในตัวเอง แต่เควซาร์แตกต่างจากดาวฤกษ์ตรงที่มีแสงสว่างมากกว่าถึง 1,000 เท่า และไม่สามารถระบุตำแหน่งในห้วงอวกาศได้อย่างแน่นอน เควซาร์อาจจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารใกล้เคียงกับระบบสุริยะของโลกหรือใหญกว่าเป็นหลายร้อยเท่า และหมุนด้วยความเร็วราว 153,000 ไมล์/วินาที (250,000 กิโลเมตร/วินาที) เควซาร์ อาจจะเป็นแกนของดาราจักรที่กำลังเกิดการตื่นตัวอยู่ก็ได้.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]