เครื่องแบบนักเรียนไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องแบบนักเรียนชายแบบหนึ่ง ซึ่งในภาพประกอบด้วยเสื้อคอปกสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงเท้าสีขาวและรองเท้าสีดำ

เครื่องแบบนักเรียนไทย หมายถึง รูปแบบการแต่งกายของผู้เข้าศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

เครื่องแบบ[แก้]

นักเรียนชาย[แก้]

  • เสื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวคอตั้ง ไม่มีสาบหลัง มีกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านซ้าย ปักอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่หน้าอกซ้ายและชื่อหรือตัวเลขประจำตัวนักเรียนที่หน้าอกขวา ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินหรือสีแดงในการปัก
  • กางเกงและเข็มขัด มี 3 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากี คู่กับเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กางเกงขาสั้นสีดำคู่กับเข็มขัดหนังสีดำหรือน้ำตาล สีน้ำเงินคู่กับเข็มขัดสีดำหรือสีน้ำตาล ในปัจจุบัน โรงเรียนที่ใช้กางเกงนักเรียนสีกากีส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โรงเรียนรัฐบาลมักให้ใส่กางเกงนักเรียนสีดำ และโรงเรียนเอกชนจะใช้กางเกงนักเรียนสีน้ำเงิน โดยความยาวของกางเกงจะแตกต่างกันตามโรงเรียน โดยจะมีส่วนคล้ายกันคือต้องเหนือเข่าประมาณ 3-4 นิ้ว โดยเฉลี่ยแล้ว ความยาวกางเกงนักเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15-16 นิ้วเป็นอย่างน้อย บางโรงเรียนจะมีกฎบังคับไม้ให้ใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่าความยาวหนึ่ง เช่น โรงเรียนชายล้วนชื่อดังแห่งหนึ่ง ห้ามนักเรียนใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า 15 นิ้ว อีกแห่ง 16 นิ้ว และโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งถือว่าการใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า 18 นิ้วเป็นเรื่องน่าอับอายและจะต้องถูกลงโทษอย่างเคร่งครัด
  • รองเท้าและถุงเท้า มี 2 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากีจะใช้รองเท้าและถุงเท้าสีน้ำตาล อีกแบบคือกางเกงขาสั้นดำและน้ำเงินจะใช้ถุงเท้าสีขาว คู่กับรองเท้าผ้าหรือหนังสีดำ โดยสรุปแล้ว นักเรียนต้องสวมเสื้อนักเรียนและกางเกงนักเรียนที่สั้นที่สุดเท่าที่ตนเองมี บางแห่งอาจมีการกำหนดความยาว เช่น ต้องสั้นกว่า 18นิ้ว หรือ ชายกางเกงต้องสูงเหนือเข่าอย่างน้อย 2นิ้ว โดยผู้ที่ไม่มีกางเกงตามแบบดังกล่าวจำเป็นต้องนำกางเกงนักเรียนไปตัด

นักเรียนหญิง[แก้]

  • เสื้อ มีรายละเอียดดังนี้
    • นักเรียนชั้นประถมศึกษา ใช้เสื้อคอปกบัวสีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนไม่มีจีบ ปล่อยชายเสื้อ เช่นเดียวกันกับนักเรียนโรงเรียนสาธิต
    • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อคอปกกะลาสี สีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนมีจีบและกระดุม ผูกโบสีกรมท่าใต้ปกเสื้อ ปล่อยชายเสื้อ ความยาวของกระโปรงเหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม.
    • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เสื้อเชิ้ตปกแหลม สีขาว ที่แขนมีจีบและกระดุม สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง คาดทับด้วยเข็มขัดหนังสีดำ ความยาวของกระโปรงเหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม.

ปักอักษรย่อของโรงเรียนที่หน้าอกขวาและชื่อนักเรียนที่หน้าอกซ้าย ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินปัก

  • กระโปรง ในโรงเรียนรัฐบาลจะใช้กระโปรงสีกรมท่าหรือสีดำ มีจีบด้านหน้า 6 จีบ และด้านหลัง 6 จีบ จีบหันออกด้านนอก ความยาวไม่สั้นเหนือลูกสะบ้า คู่กับเข็มขัดหนังสีดำ
  • รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าสีขาว

มาตรการเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียน[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอนุญาตให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทเข้าเรียน[1][2] อย่างไรก็ดี พบว่าครูบางโรงเรียนสั่งห้ามนักเรียนที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบเข้าเรียน[3] หลายโรงเรียนมีคำสั่งเชิงบังคับและขู่จะมีโทษหรือผลร้ายหากนักเรียนไม่สวมเครื่องแบบไปเรียน[4][5] ด้านคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เคยให้สัมภาษณ์ว่า ระเบียบกระทรวงกำหนดให้แต่งเครื่องแบบในโรงเรียนของรัฐ มิฉะนั้นจะต้องขออนุญาตกับศึกษาธิการจังหวัด อย่างไรก็ดี ยังเปิดให้แต่งชุดอย่างอื่นได้เช่นกัน เช่น ชุดพละ หรือชุดพื้นเมือง[6]

บางโรงเรียนมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องชุดเครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือและยุวกาชาด ซึ่งได้รับปฏิกิริยาทั้งแง่บวกและลบ[7]

ในห้วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และการเรียนการสอนออนไลน์พบว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดเห็นชอบให้นักเรียนสวมเครื่องแบบมาเรียนออนไลน์เพราะจะเป็นผลดีแก่นักเรียนเอง[8]

ข้อเสนอให้ยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน[แก้]

ผู้สนับสนุนเครื่องแบบนักเรียนไทยมักอ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนทำให้เกิดมาตรฐานและความเท่าเทียมในสถานศึกษา ส่วนผู้คัดค้านยกประเด็นว่าเครื่องแบบนักเรียนเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและไม่ได้มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน[9] นอกจากนี้ มีการยกประเด็นว่าชุดนักเรียนไม่ช่วยให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ[10] และมีสื่อใช้เครื่องแบบนักเรียนเป็นเครื่องยั่วยุทางเพศ[11] มีข้อเรียกร้องให้นักเรียนสามารถเลือกแต่งเครื่องแบบหรือชุดไปรเวทได้ และในห้วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการนัดแต่งชุดไปรเวทไปเรียนใน 23 โรงเรียน[12] ทำให้มีผู้ตอบโต้กระแสต่อต้านเครื่องแบบนักเรียนว่าให้ "แก้ผ้าไปเรียน"[13]

ผลสำรวจของนิดาโพลในเดือนธันวาคม 2563 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,332 คน ระบุว่า ร้อยละ 69.67 สนับสนุนให้คงระเบียบการแต่งเครื่องแบบต่อไป โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 78.15 ระบุว่าเพื่อฝึกระเบียบวินัย[14] ร้อยละ 51.50 ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของกลุ่มนักเรียนเลว เห็นว่าควรไปทุ่มเทกับการเรียนมากกว่า[15]

แฟชั่น[แก้]

พบในประเทศจีน กระแสเครื่องแบบนักเรียนไทยได้รับความนิยมเนื่องจากอิทธิพลจากซีรีส์ไทยที่ไปฉายที่นั่น[16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""กรุงเทพคริสเตียน" สุดคึกคัก เด็กแต่งชุดไปรเวทมาเรียนวันแรก!". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  2. "'สวนกุหลาบ'ไร้ปัญหาไปรเวท เข้าเรียนได้-ไม่ตัดคะแนน". เดลินิวส์. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  3. "คลิป นักเรียนแต่งไปรเวท โดนครูไล่กลับบ้าน ไม่ให้เข้าเรียน". ประชาชาติธุรกิจ. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  4. "เปิดคำสั่ง 3 โรงเรียน "บดินทรฯ- เขมะสิริฯ-หอวัง" ชน "ชุดไปรเวท"". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  5. "เทพศิรินทร์ ประกาศ ไม่แต่งกายตามระเบียบ ส่งหน่วยงานอื่นดูแล". ประชาชาติธุรกิจ. 4 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  6. "ชัดแล้ว! โรงเรียนรัฐห้ามใส่ชุดไปรเวท ระเบียบกระทรวงชี้ต้องแต่งกายตาม ร.ร.กำหนดเพื่อความเรียบร้อย". มติชนออนไลน์. 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  7. ""โรงเรียนผดุงวิทย์" ประกาศ 2 นโยบายเรื่องเครื่องแบบนักเรียน หวังช่วยผู้ปกครองแบ่งเบาค่าใช้จ่าย". ผู้จัดการออนไลน์. 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  8. "ผู้ว่าฯตราด เห็นด้วยใส่เครื่องแบบ เรียนออนไลน์ ยันมีข้อพิสูจน์ทำแล้วดี". ประชาชาติธุรกิจ. 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  9. คำเปรม, พัชรินทร์ (11 May 2021). "รายงาน : ส่อง 'ชุดนักเรียน-ลูกเสือ' ลดเหลื่อมล้ำใน ร.ร.จริงหรือ ??". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  10. ""หนูถูกครูทำอนาจาร" จากฝันร้ายในวัยเรียนสู่การต่อสู้เพื่อหยุดการล่วงละเมิดทางเพศ". BBC ไทย. 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  11. "เหมาะสมหรือไม่! เมียจำเป็น เสนอฉากใส่ชุดนักเรียนยั่วยวนพระเอก". TNN. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  12. "เช็กลิสต์23รร.บอกลาเครื่องแบบ แต่งชุดไปรเวทไปเรียน". เดลินิวส์. 30 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  13. "อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ โพสต์ถึงนร.ใส่ชุดไปรเวท "แก้ผ้าไปโรงเรียนเถิดลูก"". springnews. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  14. "'นิด้าโพล' เผยปชช. ส่วนใหญ่หนุนใส่ 'เครื่องแบบนักเรียน' ต่อไป". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  15. "คนค้านยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน ชี้เด็กควรเรียนหนังสือ ไม่ใช่ออกมาประท้วง". ไทยรัฐ. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  16. "ส่องความน่ารัก 'ชุดนักเรียนไทย' ดังไกลถึงเมืองจีน ได้รับอิทธิพลหนัง-ซีรีส์ไทย". ข่าวสด. 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]