เครื่องดื่มชูกำลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของสารคาเฟอีนในปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100 - 150 มิลลิลิตร) เครื่องดื่มชนิดนี้ส่วนใหญ่เน้นไปทางด้านพลังงาน[1] นักวิทยาศาสตร์ได้ให้พื้นฐานกับเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า เครื่องดื่มชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันกับเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีน[2]โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้จะนิยมดื่มในหมู่ผู้ใช้แรงงาน และคนที่ทำงานหนักเนื่องจากเมื่อทำงานเสร็จร่างกายจะอ่อนเพลีย จึงต้องการพลังงานชดเชยกลับมา [3]

ประวัติ[แก้]

ในช่วงแรกเครื่องดื่มชูกำลังจะไม่ออกจำหน่ายในท้องตลาด แต่เครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีเป็นครั้งแรกในประเทศสก๊อตแลนด์[4]เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยบริษัทที่ชื่อ "ไอรัล-บลู" โดยผู้ที่คิดค้นคือ "ไอรัล บริว" ส่วนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีเครื่องดื่มชูกำลังครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยลิโพวิตันดี ซึ่งมีกำลังการผลิตมากที่สุดในขณะนั้น โดยรสชาติมีความคล้ายคลึงกันกับเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้ออื่นที่ผลิตในประเทศเดียวกันและบรรจุอยู่ในขวดแก้วสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายขวดยา ในประเทศอังกฤษ เครื่องดื่มชูกำลังเริ่มเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2472 ในช่วงแรกใช้เฉพาะในโรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง แต่ในช่วงทศวรรษ 1980 จุดประสงค์ของการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังก็ถูกเปลี่ยนเป็น "ดื่มเพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไป"

เครื่องดื่มชูกำลังออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยการปรับปรุงรสชาติให้ดีขึ้นและการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังโดยใช้นักกีฬาฟุตบอลคนหนึ่งซึ่งสังกัดทีมฟลอริดา โดยใช้ชื่อยี่ห้อว่า "เกตเตอเรท" โดยคราวนี้มีการปรับปรุงสูตรเพื่อให้สามารถรักษาพลังงานให้ยาวนานขึ้น

ในปี พ.ศ. 2528 โจท โคล่า เข้าสู่วงการเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้แผนการตลาดเชิงรุก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนตื่นตัวหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ของเขาให้มากขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 บริษัท เป๊ปซี่ ได้ส่ง "โจสต้า" เข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง โดยสิทธิ์ในการจำหน่ายเป็นของ บริษัท ยูเอส เบฟเวอร์เรจ

ในทวีปยุโรป เครื่องดื่มชูกำลังเริ่มต้นขึ้นโดยบริษัท เอส.สปิตส์ ออกจำหน่ายโดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "เพาเวอร์ ฮอร์ส" (Power Horse) โดยก่อนที่จะเริ่มทำการจำหน่ายนั้น Dietrich Mateschitz ชาวออสเตรีย ประกาศรับรองว่า "เรดบูลล์" (ซึ่งซื้อลิขสิทธิ์และดัดแปลงสูตรมาจากกระทิงแดง) เป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่มียอดขายมากที่สุดในโลก โดยนำเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีส่วนแบ่งการตลาด 47%[5]

ปี พ.ศ. 2544 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในสหรัฐฯ มียอดการจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังประมาณ 8 ล้านขวดต่อปี ในอีก 5 ปีต่อมา ยอดขายก็ได้เพิ่มขึ้นกว่า 50% ต่อปี รวมยอดขายเกินกว่า 3 พันล้านขวดในปีพ.ศ. 2548 [6] ในขณะนั้นความนิยมของการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังก็เพิ่มเป็นสองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ทำให้ในปี พ.ศ. 2550 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังเพิ่มมูลค่าเป็น 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางด้านโกลด์แมน ซัสค์ และมินเทลได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2553 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังจะเพิ่มมูลค่าเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป๊ปซี่ , โคคา-โคล่า ,โมลิสัน กลายเป็นบริษัทที่เข้าใกล้ความแตกต่างในวงการเครื่องดื่มชูกำลัง

เครื่องดื่มชูกำลังเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเยาวชน ประมาณ 65% ของผู้ที่ดึ่มเครื่องดื่มชูกำลังอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 13-35 ปี โดยที่ผู้ชายเป็นผู้ที่ดื่มมากกว่าประมาณ 65% [6] ในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมามีผลการสำรวจจากศูนย์สุขภาพแห่งรัฐเพนซิลเวเนีย พบว่า 20% ของบุคคลอายุ 21-30 ปี ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเรียน ที่เหลืออีก 70% คิดว่าการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นการเพิ่มสมรรถภาพในการทำงาน[7]

สำหรับเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยนั้น เข้ามาเป็นครั้งแรกโดยลิโพวิตันดีเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรรมสิทธิ์ในการผลิตเป็นของบริษัทโอสถสภา หลังจากนั้นในอีก 4 ปีต่อมา (พ.ศ. 2524) บริษัท ไทยฟามาซูติคอล จำกัด ก็ได้เริ่มนำเครื่องดื่มชูกำลังเข้าสู่ท้องตลาด โดยใช้ชื่อ "กระทิงแดง" ภายใต้สโลแกน "กระทิงแดง...ซู่ซ่า" แต่ในปี พ.ศ. 2528 โอสถสภาก็ส่ง "เอ็ม-150" เข้ามาตีตลาดของ ลิโพวิตันดี เนื่องจากในขณะนั้น เอ็ม-150 มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 4% เมื่อเทียบกับกระทิงแดงที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% ในปี พ.ศ. 2543 เอ็ม-150 สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากกระทิงแดงได้สำเร็จ ในขณะนั้นทำส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 40% โดยเอ็ม-150 ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดนี้มาได้จนถึงปัจจุบัน[8]

ส่วนประกอบของเครื่องดื่มชูกำลัง[แก้]

ส่วนใหญ่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ Xanthine , วิตามินบี และสมุนไพร บางยี่ห้อก็ใส่ส่วนผสมเพิ่มเติมเช่น Guarana แปะก๊วย โสม บางยี่ห้อก็จะใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูง บางยี่ห้อก็ถูกออกแบบให้มีพลังงานต่ำ แต่ส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มชูกำลังก็คือคาเฟอีน ซึ่งเป็นส่วนผสมชนิดเดียวกันกับกาแฟหรือชา

เครื่องดื่มชูกำลังส่วนใหญ่จะมีปริมาตร 237 มิลลิลิตรต่อขวด (ประมาณ 8 ออนซ์) มีสารคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัมต่อ 480 มิลลิลิตร โดยในการทดสอบสูตรของเครื่องดื่มชูกำลังนั้น กลูโคสมักเป็นส่วนผสมพื้นฐานของเครื่องดื่มชูกำลังเสมอ (ซึ่งผสมอยู่ในคาเฟอีน , ทอรีน และสารกลูโคโลแล็คโทน)

สิ่งดึงดูด และการวิจัย[แก้]

นักวิชาการสองท่านได้รายงานผลการวิจัยว่า การปรับสภาพจิตใจ , การรับรู้ , การชักชวนจากบุคคลอื่นๆ , และการล่อใจผู้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังด้วยการโฆษณา เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันกับการเตรียมความพร้อมการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งสองสิ่งนี้อาจมีสาเหตุแรกเริ่มโดยความรู้สึกสบายในระดับแรกเริ่มถึงระดับปานกลาง โดยตัวกระตุ้นที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน และด้วยสาเหตุนี้เองอาจเป็นที่มาของอาการ ปั่นป่วน , กังวล , โกรธง่าย และนอนไม่หลับ [9] แต่ในระหว่างการทดสอบกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอ่อนแอด้วยการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง พบว่า ผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอเมื่อดื่มเครื่องดื่มชูกำลังจะมีร่างกาย , กล้ามเนื้อ และความอดทนมากขึ้นกว่าช่วงก่อนทดสอบ [10] มันคือสิ่งที่สามารถพิจารณาว่าจะเลิกดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ นี่คือเหตุผลที่ยิ่งใหญ่ของอำนาจของเครื่องดื่มชูกำลัง , อารมณ์ และสมรรถภาพ [11]

โดยเป็นการฟื้นฟูส่วนประกอบ คือ แสดงให้เห็นถึงการรวมกันของคาเฟอีนและสาร CHO ในเครื่องดื่มชูกำลัง[12] และบางระดับของการทำงานร่วมกันของระบบประสาทระหว่าง การรับรู้ และการลดหย่อนสมรรถภาพ อำนาจของน้ำตาลกลูโคสและคาเฟอีน ก็เป็นสิ่งที่ถูกชักชวนได้ง่าย [13] โดยสถาบันแห่งหนึ่งได้ทำการวิจัยเรื่องเครื่องดื่มชูกำลังโดยการทดสอบการออกฤทธิ์ของเครื่องดื่มชูกำลัง โดยให้ผู้ร่วมการทดสอบ (ซึ่งมีจำนวน 11 คน) ขึ้นบนเครื่องจำลองการวิ่ง เพื่อทดสอบความเร็วในการวิ่ง , ปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยทดสอบก่อนการรักษา 2 ชั่วโมง และแสดงผลการทดสอบพร้อมกับคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง[14]

จากบทความทั้ง 2 บทความ ลงเอยด้วยการประมวลผลและวิเคราะห์ที่ผิดพลาด และอำนาจอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่าการทดลองครั้งนี้มีข้อสรุปที่ใกล้เคียงได้ แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านให้ข้อสรุปว่าเป็นการวิจัยเพื่อซ่อมแซมอะตอมของคาเฟอีนในเป็นไปในระดับปกติ[15]

บรรจุภัณฑ์[แก้]

ในช่วงแรกที่เครื่องดื่มชูกำลังเข้ามาในประเทศไทย เครื่องดื่มชูกำลังมักจะถูกบรรจุในขวดแก้วสีชาเข้มขนาด 150 มิลลิลิตร แต่ในปัจจุบันมีเครื่องดื่มชูกำลังหลายยี่ห้อเริ่มหันมาใช้ขวดพลาสติก ขนาดประมาณ 200-250 มิลลิลิตร โดยส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อให้จับถนัดมือ และป้องกันไม่ให้แตกจากการใช้ขวดแก้ว และยังมีอีกบางยี่ห้อที่เปลี่ยนมาใช้กระป๋องอะลูมิเนียม ขนาด 325 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้กับน้ำอัดลม มาบรรจุเครื่องดื่มชูกำลังด้วย เพื่อต้องการบรรจุเครื่องดื่มชูกำลังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผู้ดื่มจะต้อง "เขย่าก่อนดื่ม" เครื่องดื่มชูกำลังชนิดนั้นๆ

ในปี พ.ศ. 2545 ซีซีแอล อินดัสทรี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ในเครือของสแนปเปิล ได้ทำการใช้วัสดุรีไซเคิลมาทำเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม โดยนับตั้งแต่นั้นมา ก็มีผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากแก้วเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมกันมากขึ้น

โดยหลังจากที่ โคคา-โคลา ได้ส่ง "เพาเวอเรจ" (Powerade) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อแรกที่ใช้ฝาเกลียวบนกระป๋องอะลูมิเนียม ต่อมา คาร์ปิ ซัน มีเป้าหมายวางจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังที่สร้างความสดชื่นสำหรับบุคคลวัย 16-25 ปี และได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์มาเป็นแพ็กที่ใส่กระป๋องเครื่องดื่มชูกำลังได้ 6 กระป๋อง (วางจำหน่ายในประเทศอังกฤษ) ส่วน โคคา-โคลา ก็ได้เปิดตัว "สไปรท์ 3จี" (Sprite 3G) ในขนาด 250 มิลลิลิตร

การแข่งขันทางการตลาด[แก้]

เครื่องดื่มชูกำลังวางหลายยี่ห้อจำหน่ายในตู้แช่ในร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร

ห้างสรรพสินค้าในประเทศอังกฤษได้เปิดจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังในราคาถูก โดยที่นำมาขายนั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ห้างเทสโก้ในอังกฤษได้วางจำหน่าย "คิก" (Kick) ในปริมาณ 250 มิลลิลิตร และ 1 ลิตร และห้างแอสด้า (Asda) ก็ได้วางจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแข่งกับห้างสรรพสินค้าอีกหลายแห่งเช่นกัน

ส่วนในประเทศไทยนั้น เครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีการแข่งขันรุนแรงในช่วงปี 2549 - 2550 เนื่องจากเริ่มมีผู้ผลิตรายใหม่เพิ่มเข้ามามากขึ้น ประกอบกับการโฆษณาของเครื่องดื่มชูกำลังหลายค่าย เพื่อเรียกความนิยมให้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังของตน โดยโฆษณาบางตัวมีการประกาศลดราคาเครื่องดื่มชูกำลัง บางค่ายก็ประกาศแถมเครื่องดื่มชูกำลังเมื่อลูกค้าซื้อเครื่องดื่มชูกำลังครบตามกำหนด[16][17]จนกระทรวงสาธารณสุขออกมาประกาศห้ามลด แลก แจก แถม หรือจัดส่งฝาชิงโชค เครื่องดื่มชูกำลังเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551[18][19]เพื่อป้องกันไม่ให้คนซื้อเครื่องดื่มชูกำลังในปริมาณมากๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากแรงจูงใจของผู้ผลิต และป้องกันการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้น [20] ซึ่งวิธีนี้ก็ได้ทำกับเครื่องดื่มอีกประเภทหนึ่ง คือสุรา[21]

การควบคุมเครื่องดื่มชูกำลัง[แก้]

ในสหรัฐอเมริกา เครื่องดื่มชนิดนี้ได้เชื่อมโยงกับสังคมในทางลบ [22]โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ปฏิเสธการใช้ฉลากสำหรับยาประเภทคาเฟอีน โดยให้เหตุผลว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ไม่ใช่ลักษณะของยา และเป็นเครื่องดื่มที่ทำลายสติสัมปชัญญะ โดยเฉพาะในวัยรุ่น แต่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาแก้ต่างเกี่ยวกับเรื่องนี้[23]ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 ฝรั่งเศสได้สั่งห้ามจำหน่าย เรดบูลส์ แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจาก รูส คูนี่ย์ เสียชีวิตขณะเล่นบาสเกตบอล หลังจากเครื่องดื่มชูกำลังมากถึง 4 กระป๋อง[24]โดยศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งของฝรั่งเศสได้พบว่า เรดบูลส์ได้ใส่สารคาเฟอีนมากเกินกำหนด โดยต่อมา เดนมาร์กก็ได้สั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่วนในอังกฤษก็ได้มีการตรวจเครื่องดื่มชนิดนี้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย

การควบคุมเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 214 พ.ศ. 2543 ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของคาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อขวด โดยถ้าเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมจะต้องมีปริมาณไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ เช่น

  1. วิตามินบี 1 ในปริมาณไม่เกิน 0.5 - 20 มิลลิกรัม
  2. วิตามินบี 2 ในปริมาณไม่เกิน 1.3 – 7.5 มิลลิกรัม
  3. Nicotinamide ในปริมาณไม่เกิน 10 – 38 มิลลิกรัม ฯลฯ
ส่วนในฉลากจะต้องมีข้อมูลในฉลากดังนี้
  1. ต้องมีคำว่า "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน"[25]
  2. เลขสารบบอาหาร (อ.ย.)
  3. สถานที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยละเอียด
  4. ชื่อเครื่องดื่มพร้อมยี่ห้อ เช่น กระทิงแดง m 150 ลิโพวิตันดี
  5. ส่วนผสมที่สำคัญ
  6. วัน เดือน ปี ที่ผลิต[3]

สำหรับการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกหลักเกณฑ์ในการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง เช่นการแสดงข้อความ , การห้ามใช้ผู้แสดงแบบโฆษณาโดยใช้แรงงานหรือนักกีฬา หรือการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังไปในทางที่ชักจูง เป็นต้น โดยต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 , พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 หากไม่ปฏิบัติตามกระทรวงสาธารณสุขมีสิทธิ์สั่งแก้ไขโฆษณาหรือยกเลิกโฆษณาได้[3]

ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มเติมข้อความบางส่วนของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 214 พ.ศ. 2543 โดยเป็นการห้ามดาราหรือนักแสดงเป็นผู้แสดงโฆษณา และห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง โดยประกาศนี้มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา[26]

ประโยชน์ของเครื่องดื่มชูกำลัง[แก้]

นักวิจัยกล่าวว่า เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของทอรีน ซึ่งสามารถลดอาการเมาค้าง ลดคอเลสเตอรอล แต่ก็มีบางรายอ้างสรรพคุณว่า ช่วยส่งกระแสความรู้สึกให้ไวขึ้น ซึ่งคล้ายกับสารในนมแม่ ทำให้เครื่องดื่มของเด็กบางยี่ห้อได้ใส่สารนี้เข้าไป และยังมีสารอาหารประเภทวิตามินอีกหลายแบบ เช่น วิตามินบี6 ซึ่งช่วยช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน และ ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม และวิตามินบี12 ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง สำหรับเครื่องดื่มชูกำลังบางยี่ห้อที่มีราคาสูงจะมีส่วนผสมของสารกลูคูโรโนแลกโตน ซึ่งเป็นสารประกอบอีกชนิดหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลังช่วยทำให้ทุเลาอาการเหนื่อย ช่วยบำรุงข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย [27]

ผลกระทบของเครื่องดื่มชูกำลัง[แก้]

ด้านสุขภาพ[แก้]

นักวิชาการหลายท่านออกมากล่าวว่า โทษของเครื่องดื่มชูกำลังส่งผลกระทบร้ายแรงในด้านจิตใจ เช่น กระสับกระส่าย มือเท้าสั่น โดยเฉพาะในเด็ก ในกรณีดื่มเครื่องดื่มชูกำลังร่วมกับสุรา จย์จูเลีย เชสเตอร์ อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า คนส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของสุรา แต่คนเหล่านั้นก็ยังพยายามก็จะต่อสู้จากการโฆษณาสุรา ทำให้เป็นที่มาของการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังในท้องตลาด สำหรับในสถานศึกษาก็เริ่มมี "เหล้าชูกำลัง" เนื่องจากนักศึกษาบางคนต้องการดื่มสุรา แม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม โดยเครื่องดื่มชูกำลังที่ผสมกับสุรานั้น มีอันตรายมากกว่าอาการเมาค้าง ถึงแม้จะเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมก็ตาม ด้านแทมมี่ ลูว์ ผู้ช่วยผู้สนับสนุนสุขภาพ ของสำนักงานสุขภาพนักเรียน กล่าวว่า เครื่องดื่มชนิดนี้เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะไม่รู้สึกอ่อนล้าหรือเพลีย แต่จะเป็นอันตรายต่อเยาวชน เนื่องจากเยาวชนจะเข้าใจผิดว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ดื่มแล้วจะไม่เป็นอันตราย อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ เกิดอาการขาดน้ำ เนื่องจากฤทธิ์ของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ผสมกัน (ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจผิดว่าการผสมเครื่องดื่ม 2 ชนิดเข้าด้วยกันจะช่วยแก้อาการเมาค้างได้) แต่ในการทดลองนำยากระตุ้นประสาทผสมกับยากดประสาท ปรากฏว่าไม่เกิดอาการเมาค้างแต่อย่างใด[28] สำหรับผลการวิจัยจากประเทศออสเตรเลียก็ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับคนที่มีอาการเครียด มีความดันโลหิตสูง หรือมีระบบการทำงานของระบบหลอดเลือดบกพร่อง สามารถทำให้เป็นโรคหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน ได้ ทำให้มีนักวิชาการหลายท่านแนะนำว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลังวันละ 2 ขวด [29]

ด้านจิตใจ และพฤติกรรม[แก้]

ในปัจจุบันเครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีการอวดอ้างสรรพคุณมากขึ้น และส่วนผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็ใส่ส่วนผสมที่มากขึ้น โดยเฉพาะคาเฟอีน กัวรานาที่มีปริมาณมากขึ้น ทำให้มีนักวิชาการออกมากล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากๆ ในระยะเวลาติดต่อกันอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน หรือการขับขี่รถยนต์ ถ้าหากดื่มในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อจิตประสาท และยังได้กล่าวอีกว่า เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด มีสารคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ 1 ถ้วย แต่สามารถดื่มได้ง่ายกว่า ทำให้กังวลว่า วัยรุ่นจะไปติดยาเสพติด หรือไม่ก็ไปมีเพศสัมพันธ์ตามมาต่อ จนมีการสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังบางยี่ห้อ เช่น สไปรก์ ชูตเตอร์ ที่ทำให้เด็กนักเรียน 4 คนในรัฐฟลอริดามีอาการใจสั่นผิดปกติจนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพและจิตใจที่จะตามมา[30]และทำให้รัฐบาลอังกฤษออกมาประกาศห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนในเมืองเวสต์ซัสเซ็กส์ เนื่องจากเครื่องดื่มชนิดนี้ทำให้เด็กนักเรียนหลายคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น [31]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. A can of bull? Do energy drinks really provide a source of energy? เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  2. Research on the Health Effects of other energy drinks additives เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  3. 3.0 3.1 3.2 "เอกสารเผยแพร่ของ อย. เรื่องเครื่องดื่มคาเฟอีน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-24.
  4. Irn-Bru History เก็บถาวร 2009-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(อังกฤษ)
  5. Soda With Buzz เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Forbes, Kerry A. Dolan, 03.28.05 (อังกฤษ)
  6. 6.0 6.1 Mintel Energy Drink Report 2006, 07.05.06 (อังกฤษ)
  7. Energy Drinks – Busting Your Health for the Buzz Newswise, สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2551.(อังกฤษ)
  8. "บทวิเคราะห์เรื่องเครื่องดื่มชูกำลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  9. PMID 11665810. PMID 18470842. (อังกฤษ)
  10. PMID 18046053. (อังกฤษ)
  11. PMID 12424547. (อังกฤษ)
  12. PMID 16388831.(อังกฤษ)
  13. PMID 15549275.(อังกฤษ)
  14. PMID 11310933.(อังกฤษ)
  15. PMID 11140366. PMID 11713623. (อังกฤษ)
  16. สงครามโฆษณา เครื่องดื่มชูกำลัง[ลิงก์เสีย]
  17. เครื่องดื่มชูกำลัง แข่งขันเข้มข้น[ลิงก์เสีย]
  18. ห้ามเครื่องดื่มชูกำลังจัดส่งฝาชิงโชค[ลิงก์เสีย]
  19. 25 มี.ค.นี้ ห้ามเครื่องดื่มชูกำลัง โฆษณาชิงโชคใต้ฝา
  20. โวยเครื่องดื่มชูกำลังตุ๋น-เบี้ยวรางวัล
  21. "ก.ม.เหล้าคุมเข้มห้าม"ขายพ่วง-แจกชิงโชค"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 2009-01-19.
  22. Taste for Quick Boost Tied to Taste for Risk
  23. Warning: Energy Drinks Contain Caffeine by Allison Aubrey. Morning Edition, National Public Radio, 24 September 2008.
  24. French ban on Red Bull (drink) upheld by European Court
  25. ฉลากเครื่องดื่มชูกำลังชนิดหนึ่ง
  26. "สาธารณสุข สั่งเพิ่มเติมข้อความบนเครื่องดื่มชูกำลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-19. สืบค้นเมื่อ 2009-01-27.
  27. เครื่องดื่มชูกำลัง มีประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน รู้หรือไม่??[ลิงก์เสีย]
  28. "เครื่องดื่มชูกำลังกับเหล้า…สูตรผสมอันตราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  29. "เครื่องดื่มชูกำลัง...ต้องระวังในคนที่เสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ 2009-01-24.
  30. ผลวิจัยชี้..."เครื่องดื่มชูกำลัง" ชวนทำให้พฤติกรรม "ก้าวร้าว"
  31. อังกฤษสั่งห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังใน ร.ร.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]