เคนนี แดลกลีช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เคนนี่ ดัลกลิช)
เคนนี แดลกลีช
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เคนเนท แมทีสัน แดลกลีช[1]
วันเกิด (1951-03-04) 4 มีนาคม ค.ศ. 1951 (73 ปี)[1]
สถานที่เกิด กลาสโกว์ สกอตแลนด์
ส่วนสูง 1.73 m (5 ft 8 in)[2]
ตำแหน่ง กองหน้า, ผู้จัดการทีม
สโมสรเยาวชน
1967–1968 คัมเบอร์นอลด์ยูไนเต็ด
1967–1969 เซลติก
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1969–1977 เซลติก 204 (112)
1977–1990 ลิเวอร์พูล 355 (118)
รวม 559 (230)
ทีมชาติ
1971–1986 สกอตแลนด์ 102 (30)
จัดการทีม
1985–1991 ลิเวอร์พูล
1991–1995 แบล็กเบิร์นโรเวอส์
1997–1998 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
2000 เซลติก
2011–2012 ลิเวอร์พูล
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เซอร์ เคนเนท แมทีสัน "เคนนี" แดลกลีช (อังกฤษ: Sir Kenneth Mathieson "Kenny" Dalglish, เกิด 4 มีนาคม 1951) เป็นอดีตนักฟุตบอลอาชีพและผู้จัดการทีมชาวสก็อต เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เช่นเดียวกับเป็น 1 ในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของลิเวอร์พูลและอังกฤษ[3][4][5][6][7] ตลอดอาชีพของเขา เขาลงเล่นให้เซลติก 338 นัดและลิเวอร์พูล 515 นัดโดยเล่นในตำแหน่งกองหน้าและลงเล่นให้ทีมชาติสกอตแลนด์ 102 นัดยิงได้ 30 ประตูซึ่งถือเป็นสถิติร่วมด้วย แดลกลีชคว้ารางวัล Ballon d'Or Silver Award ในปี 1983, นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ ในปีเดียวกัน และนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ในปี 1979 และ 1983

ประวัติ[แก้]

เซอร์ เคนนี แดลกลีช เกิดที่เมืองกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1951 เมื่อเขาอายุได้ 1 ปี ครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายไปอยู่ที่แฟลตในเขตมิลตัน ห่างจากใจกลางกลาสโกว์ไปทางเหนือเพียง 3 กิโลเมตร แดลกลีชชื่นชอบฟุตบอลตั้งแต่ 4 ปี และมีความฝันว่าอยากจะเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลเรนเจอส์ เนื่องจากเป็นสโมสรที่อยู่กับบ้านเกิดของตน แดลกลีชมีบิดาชื่อ บิลล์ แดลกลีช ทำงานเป็นวิศวกรบริษัทรถยนต์ และมารดาชื่อ แคที แดลกลีช ในปี ค.ศ. 1974 เคนนีได้แต่งกับงานกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ มารีนา และได้กำเนิดบุตรทั้งหมดสี่คน คือ เคลลี แดลกลีช, พอล แดลกลีช, ลอเรน แดลกลีช และลินซีย์ แดลกลีช โดยเคลลีทำงานเป็นนักข่าว; พอลเป็นนักฟุตบอลและปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมฟุตบอลเรียลซอลต์เลกในสหรัฐอเมริกา; ลอเรนทำงานเป็นพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองกลาสโกว์ และลินซีย์เป็นนักดนตรีชื่อดังในเมืองกลาสโกว์เช่นกัน

สมัยเป็นนักฟุตบอล[แก้]

เซลติกและคัมเบอร์นอลด์ยูไนเต็ด (นักฟุตบอลเยาวชน)[แก้]

เคนนี แดลกลีช ในวัย 16 ปี ลงนามเซ็นสัญญาชั่วคราวกับ สโมสรฟุตบอลเซลติก ในช่วงเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1968 ก่อนที่จะได้ตัว แดลกลีชไปนั้น ผู้จัดการทีมของเซลติกในสมัยนั้น จ็อค สเตอิน ส่ง ฌอน ฟอลลอน ผู้ช่วยผู้จัดการทีมเซลติกไปแอบดู แดลกลีชกับครอบครัวของเขาที่บ้านของพวกเขา เมื่อแดลกลีช ได้ยินฟอลลอนอยู่ที่ประตูชั้นบน แดลกลีช รีบเอาโปสเตอร์ของ สโมสรฟุตบอลเรนเจอร์ส จากผนังห้องนอนเขาออกไป เพราะเขารู้ว่า ฟอลลอน จะแอบเอาของที่เขาชอบมากๆออกไปเพื่อเป็นสิ่งประกันในการแลกตัวของ แดลกลีช ในการแลกตัวไปเล่นให้กับ เซลติก ซึ่งพ่อของแดลกลีชได้เตือนเขาไว้แล้ว[8] แต่แดลกลีชก้ตัดสินเลือกไปเล่นให้กับ เซลติก เพราะไม่อยากให้ครอบครัวของเขาวุ่นวายไปมากกว่านี้ แต่ก่อนที่แดลกลีชจะย้ายมาเล่นกับ เซลติกนั้น คณพ่อของเขาได้ลองให้แดลกลีชไปเล่นกับ คัมเบอร์นอลด์ยูไนเต็ด เพื่อทดสอบว่าลูกของตนเหมาะสมหรือไม่ที่จะไปเล่นให้กับ เซลติก สโมสรฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ใน ประเทศ สกอตแลนด์ ในสมัยนั้นโดยแดลกลีชทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมเมื่อมาอยู่กับ คัมเบอร์นอลด์ยูไนเต็ด โดยเขายิงไป 18 ประตู ในการลงเล่นทั้งหมด 37 นัด ในปี ค.ศ. 1968 แดลกลีชย้ายจาก คัมเบอร์นอลด์ยูไนเต็ด มาสู่ เซลติก ตามคำขอของตัวเขาเอง โดยแดลกลีชก็ได้โชว์ฟอร์มที่ยอดเยี่ยมด้วยการจ่ายบอลให้เพื่อนร่วมทีมของเขาได้สวย ถึงแม้จะยิงประตูไม่ได้ก็ตาม แต่ แดลกลีชในวัย 16 ปีก็ยังดีใจที่ความพยามและความมั่นใจของตนเพิ่มพูนอยู่ตลอดจนเขาได้ถูกคัดเลือกให้มาเป็น นักฟุตบอล กองหน้า ของ เซลติก

เซลติก (นักฟุตบอลมืออาชีพ)[แก้]

พอเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ในปี ค.ศ. 1969 เคนนี แดลกลีช ได้ลงเล่นเป็นนักฟุตบอลอาชีพครั้งแรกโดยเขาได้ทำประตูไป ในฤดูกาล 1968-69 ไปได้ 14 ประตู และในช่วง 1969-70 30 ประตู แดลกลีชเคยบอกกับตนไว้ว่า

ถึงแม้เราจะไม่ได้เล่นให้กับทีมเรนเจอร์สทีมที่เราชื่นชอบ แต่ยังไงเราก็ยังได้เป็นนักฟุตบอลยังที่ใฝ่ฝันเอาไว้ไม่ว่าจะอยู่กับทีมไหนก็ตาม

คำกล่าวของนักฟุตบอลสายเลือดสก๊อตกล่าวทิ้งท้ายไว้ก่อนจบฤดูกาล 1969-70

และในฤดูกาล 1970-71 ความฝันของแดลกลีชก็เป็นจริงเมื่อเขาได้พาทีมของเขาไปสู่รอบชิงชนะเลิศ ถ้วยสกอตติชลีกคัพ ไปเจอกับ เรนเจอร์ส โดยแข่งกันเสมอกันไป 2-2 แล้วในช่วงต่อเวลาพิเศษ แดลกลีชได้ทำไป 2 ประตู ทำให้เซลติกชนะไป 4-2 ซึ่งเป็นผลงานที่แดลกลีชภาคภูมิใจมากที่สุดตั้งแต่เขาเริ่มรู้จักฟุตบอลมา และในฤดูกาลนี้แดลกลีชทำประตูไปได้ 23 ประตู และในช่วงฤดูกาล 1976-77 แดลกลีชได้ถูกให้สวมปลอกแขนกัปตันทีมของสโมสรฟุตบอลเซลติก แล้วก่อนทีแดลกลีชจะได้ถูกซื้อตัวไปเล่นให้กับ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ในฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ประเทศ อังกฤษ แดลกลีชได้ทำลายสถิตการทำประตูให้กับเซลติกไป 167 ประตู โดยได้ลงเล่นทั้งหมด 322 นัด รวมทั้งหมด 9 ฤดูกาล ซึ่งเป็นนักฟุตบอลของเซลติกคนแรกที่ทำประตูมากกว่า 150 ประตู ใน 9 ฤดูกาล

ลิเวอร์พูล (นักฟุตบอล)[แก้]

ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ลิเวอร์พูลได้ซื้อ เคนนี แดลกลีช ในวัย 26 ปี ด้วยค่าตัวสูงสุดถึง 18 ล้านบาทซึ่งเป็นสถิติในการซื้อนักฟุตบอลของเกาะอังกฤษในยุคนั้น โดย เควิน คีแกน เพื่อนรวมทีมของลิเวอร์พูลในยุคนั้นมั่นใจในตัวของแดลกลีชว่า

ชายคนนี้อาจจะเป็นนักเตะที่ดีและมีชื่อเสียงและนำลิเวอร์พูลประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์

โดยแดลกลีชได้ลงเล่นนัดแรกหลังจากเขาย้ายมาอยู่กับลิเวอร์พูลได้ 1 สัปดาห์ ได้โชว์ฟอร์มอันแข็งแกร็งได้อย่างยอดเยี่ยมโดยเป็นคนทำไป 4 ประตูในนัดที่เจอกับ สโมสรฟุตบอลมิดเดิลสโบร ทำให้ลิเวอร์พูลเก็บ 3 แต้มสำคัญได้และเป็นการทำ แฮตทริก ของเขาในนัดที่ลงแข่งวันแรก โดยถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของสโมสรลิเวอร์พูล และในช่วงปลายฤดูกาล 1977-78 แดลกลีชนำลิเวอร์พูลได้แชมป์ฟุตบอลยุโรปถึง 3 ถ้วยมี ฟุตบอลในลีกดิวิชัน 1 และ แชมป์ ยูโรเปียนคัพ กับ แชริตีชีลด์ และแดลกลีชได้ถูกขึ้นเป็นดาวซัลโวในดิวิชัน 1 ประเทศอังกฤษในช่วงฤดูกาลนั้นอีกด้วยโดยทำไป 61 ประตู ในฤดูกาล 1978-79 แดลกลีชได้ถูกเลือกเป็นนักฟุตบอลที่ดีที่สุดจากสมาคมเอฟเอ ในประเทศอังกฤษ แดลกลีชทำผลงานต่างๆให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลได้มากมายไม่ว่าจะเป็น แชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ในประเทศ,ยูโรเปียนคัพ, เอฟเอคัพ, ลีกคัพ, ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ รวมทั้งหมด 22 ถ้วย และรวมถึง นักฟุตบอลดีเด่นประจำฤดูกาลของเกาะอังกฤษมาแล้ว 2 ครั้ง โดยแดลกลีชได้อยู่ร่วมกับผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลมา 2 ยุคแล้ว คือ บ๊อบ เพสลีย์ และ โจ เฟแกน ซึ่งผู้จัดการทีม 2 คนนี้ก็ได้ชม เคนนี แดลกลีช ว่า

ชายชาวสกอตคนนี้มีพรสวรรค์ เล่นได้ในทุกสถานการณ์ แม้ว่าลิเวอร์พูลจะอยู่ในยามไหน เขาก็จะนำแสงสว่างและชัยชนะมาให้หงส์แดงอยู่เสมอ พวกเราชาวลิเวอร์พูลคิดถูกแล้วที่เลือกชายคนนี้มาเพื่อจะปั้นเขาให้เป็นตำนานของลิเวอร์พูลที่อยู่ในขวัญใจชาวเดอะค็อปทั่วโลกตลอดไป

คำพูดของบ๊อบ เพสลีย์ ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในช่วงฤดูกาล 1974-1983 และคำกล่าวของ โจ เฟแกน ผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลในช่วงฤดูกาล 1983-1985

โดยในยุคนั้นลิเวอร์พูลประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะหนุ่มคนนี้ เขาได้สร้างความสำเร็จให้กับสโมสรเป็นอย่างมาก ไม่แน่ในอนาคตเขาอาจจะได้เป็นราชันย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของลิเวอร์พูลเลยก็ได้

และเดอะค็อปทั่วโลกได้ตั้งนามให้เขาว่า "คิง" เพื่อให้ เคนนี แดลกลีช นักฟุตบอลสายเลือดสก๊อตคนนี้เป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่ของลิเวอร์พูลและจะเป็นขวัญใจของเดอะค็อไปทั่วโลกตลอดไป และในช่วงฤดูกาล 1984-85 โจ เฟแกน ได้ขอลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูล เดอะค็อปทั่วโลกจึงเสนอ เคนนี แดลกลีช เป็นผู้จัดการทีมคนต่อไปของลิเวอร์พูล และในช่วงปลายฤดูกาล 1989-90 แดลกลีชในช่วงผู้จัดการทีมได้นำลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของเกาะ อังกฤษ ซึ่งเป็นแชมป์ที่ 18 ของลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่ เคนนี แดลกลีช มอบให้สโมสรลิเวอร์พูล และเขาได้กล่าวไว้ก่อนที่เลิกเล่นอาชีพนักฟุตบอลเอาไว้ว่า

ผมภูมิใจมากที่ได้เล่นมาเล่นให้สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลแห่งนี้ ชีวิตของผมได้ผ่านสิ่งต่างๆมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นฟุตบอล,การคุมทีมฟุตบอล,การช่วยเหลือผู้อื่น,การเป็นลุกที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ ผมภูมิใจมากๆเลยครับ และผมเชื่อว่าลิเวอร์พูลของผมอาจจะยิ่งใหญ่ต่อไปถึงแม้จะไม่มีผมก็ตาม

คำกล่าวของนักฟุตบอลชาวสกอต ในวัย 40 ปี ก่อนที่จะออกจาก แอนฟิลด์ ไป ในปี ค.ศ. 1991 โดยแดลกลีชได้ลงเล่นไป 501 นัด ทำประตูไปได้ 169 ประตู

สมัยเป็นผู้จัดการทีม[แก้]

ลิเวอร์พูล (ผู้จัดการทีม)[แก้]

ในช่วงฤดูกาล 1984-85 โจ เฟแกน ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในช่วงปี 1983-85 ได้ขอลาออกจากสโมสรเพราะเรื่องของการเมืองในประเทศของเขา ประธานสโมสรก็ไม่รู้ว่าจะเอาใครมาเป็นผู้จัดการทีมดี โดยเขาได้จัดตั้งกิจกรรมการเลือกโหวตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลขึ้นให้แฟนเดอะค็อปได้คิดกัน แล้วมีเดอะค็อปกลุ่มหนึ่งได้เสนอ เคนนี แดลกลีช มาเป็นผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยประธานของสโมสรก็ได้เห็นด้วยจึงเลยเรียกตัว เคนนี แดลกลีช เข้ามาคุมทีม โดยการคุมครั้งแรกของแดลกลีชนั่นทำผลงานไปได้สวยเมื่อเข้ามาคุมทีมนัดแรกเก็บชัยชนะได้โดยบุกไปเยือน สโมสรฟุตบอลเชลซี โดยลิเวอร์พูลชนะไป 1-0 และคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษมาครองได้เป็นครั้งที่ 15 ในฤดูกาล 1987-88 แดลกลีชได้ซื้อนักฟุตบอลที่ชื่อ ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ มาเล่นในตำแหน่ง กองหน้าจากสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมของ สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด แล้วแดลกลีชก็หวังจะปั้นเขาให้เก่งเหมือนตน และในปีนี้แดลกลีชนำหงส์แดงคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้และในช่วงฤดูกาล 1988-89 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลไปคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้สำเร็จโดยชนะสโมสรคู่เมือง คือ สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ไป 3-2 และในช่วงฤดูกาล 1989-90 และ 1990-91 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวชั่น 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้ก่อนที่เขาจะลาออกจากผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยในนัดสุดท้ายที่เขานำทีมลิเวอร์พูลไปเยือน สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรอบชิงคอมมิวนิตีชิลด์ โดยเสมอไป 1-1 แต่คว้าแชมป์ได้ด้วยการยิงจุดโทษชนะไป 6-5

แดลกลีชกลับมาคุมลิเวอร์พูลอีกครั้ง ในฤดูกาล 2011-2012 ท่ามกลางความคาดหวังของผู้บริหารทีมและแฟนบอล เนื่องจากรอย ฮอดจ์สัน ผู้จัดการคนก่อนหน้านั้นมีผลงานที่ไม่ดี แต่ว่าผลงานของทีมในฤดูกาลนี้ กลับทำได้เพียงแค่แชมป์ลีกคัพเท่านั้น แม้จะเป็นแชมป์แรกของทีมในรอบ 6 ปี และได้เข้าชิงเอฟเอคัพกับเชลซี แต่อันดับในตารางเมื่อจบฤดูกาล ลิเวอร์พูลทำได้เพียงแค่ที่ 8 เท่านั้น ซึ่งอันดับต่ำกว่าเอฟเวอร์ตัน ทีมคู่ปรับร่วมเมืองเสียอีกที่ได้ที่ 7 ทำให้เมื่อจบฤดูกาลทางผู้บริหารตัดสินใจปลดแดลกลีชออกจากตำแหน่ง[9]

แบล็กเบิร์นโรเวอส์[แก้]

ในช่วงเปิดฤดูกาลใหม่ในฟุตบอลดิวิชัน 2 ประธานสโมสรแบล็กเบิร์นโรเวอส์ได้จ้างเคนนี แดลกลีช เข้ามาคุมทีม โดยแดลกลีชได้ตอบตกลง ในช่วง 1991-92 แดลกลีชนำทีมแบล็กเบิร์นโรเวอส์เก็บชัยชนะได้มาเกือบหมด โดยแดลกลีชได้วางแผนให้กับแบล็กเบิร์นโรเวอส์ไว้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแนวรุกหรือการป้องกันลูกยิงของทีมอื่น ๆ ซึ่งแดลกลีชได้นำทีมแบล็กเบิร์นโรเวอส์เก็บชัยชนะมาได้ 78 แต้ม เป็นอันดับ 1 ของฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 ในอังกฤษ โดยได้ลงแข่งทั้งหมด 36 นัด คว้าชัยชนะมาได้ 31 นัด เสมอ 3 นัด แพ้แค่ 2 นัด จึงให้แบล็กเบิร์นโรเวอส์คว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 ของอังกฤษได้สำเร็จและได้เลื่อนชั้นขึ้นไปในเล่นพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 1993-94 แดลกลีชนำทีมแบล็กเบิร์นโรเวอส์จบอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีกได้โดยมีแต้ม 84 แต้ม ตามหลังสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดซึ่งเป็นที่ 1 อยู่ 8 แต้ม โดยได้ลงแข่งไป 42 นัด ชนะ 25 นัด เสมอ 9 นัด แพ้ 8 นัด แล้วในฤดูกาล 1994-95 นัดแรกที่ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก คือนัดที่เจอกับสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์โดยเสมอไป 2-2 และในนัดสุดท้ายเจอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน โดยแดลกลีชนำทีมแบล็กเบิร์นคว้าชัยชนะไปได้ 3-2 จึงทำให้แบล็กเบิร์นโรเวอส์มีแต้มทั้งหมด 89 แต้ม แล้วคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกมาได้สำเร็จและเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของแบล็กเบิร์นโรเวอส์ โดยในขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, นอตทิงแฮมฟอเรสต์ และลิเวอร์พูล มี 88, 77 และ 74 แต้มตามลำดับ โดยเคนนี แดลกลีช ได้ถูกจารึกในประวัติของสโมสรแบล็กเบิร์นโรเวอส์ในการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกมาให้กับสโมสรได้เป็นครั้งแรกแล้วได้นำทีมไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสรอีกด้วย

แต่เคนนี แดลกลีช ก็ได้ขอลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมแบล็กเบิร์นโรเวอส์ เนื่องจากมีเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวของเขา ซึ่งปัจจุบันทางแบล็กเบิร์นโรเวอส์ก็ยังยกย่องแดลกลีชว่าเป็นผู้จัดการทีมที่ดีอันดับต้นของสโมสรมาตลอด

เกียรติประวัติ[แก้]

นักฟุตบอล[แก้]

  • เซลติก (1969–1977)
    • สกอตติช ดิวิชัน 1 4 สมัย: 1971-72, 1972-73, 1973-74, 1976-77
    • สกอตติช คัพ 4 สมัย: 1971-72, 1973-74, 1974-75, 1976-77
    • สกอตติช ลีก คัพ 1 สมัย: 1974-75

ผู้จัดการทีม[แก้]

  • แบล็กเบิร์นโรเวอส์ (1991–1995)
  • เซลติก (2000)
    • สกอตติซ ลีกคัพ 1 สมัย: 1999-2000

เกียรติประวัติส่วนตัว[แก้]

  • นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ: 1982-83
  • FWA Footballer of the Year: 1979-79, 1982-83
  • Scottish Premier Division top goalscorer: 1975-76
  • ผู้จัดการยอดเยี่ยมประจำปี - 1985-86, 1987-88, 1989-90, 1994-95
  • Inaugural Inductee to the English Football Hall of Fame: 2002
  • Member of the Scotland Football Hall of Fame
  • Member of the FIFA 100
  • Freedom of the City of Glasgow: 1986
  • 1st in the Liverpool Football Club poll 100 Players Who Shook The Kop: 2006
  • Scotland: 30 goals in 102 international caps (both national records)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เคนนี แดลกลีช". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2018.
  2. Rollin, Jack (1980). Rothmans football yearbook. London: Queen Anne Press. p. 222. ISBN 0362020175.
  3. "The 100 Best Footballers of All Time". Bleacher Report. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  4. "Ranked! The 100 best football players of all time". FourFourTwo. 5 September 2023. สืบค้นเมื่อ 16 September 2023.
  5. "Best Liverpool players ever, the top 50". The Telegraph. 23 March 2015. สืบค้นเมื่อ 16 September 2023.
  6. "TBest Scottish Footballers Ever: Here are Scotland's 10 best footballers of all time - according to our readers". The Scotsman. 15 March 2023. สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  7. "Ranked! The 25 best British players of all time". FourFourTwo. 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  8. Kelly 1993, p. 34
  9. ประมวลภาพ "คิงเคนนี" วันแรกถึงวันลา จากผู้จัดการออนไลน์ เก็บถาวร 2012-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]