คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เขตบร็อดแมนน์ 5)
คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง
(Posterior parietal cortex)
กลีบสมองต่าง ๆ สมองกลีบข้างมีสีเหลือง ส่วนหลังอยู่ใกล้กับเขตสีแดง
ผิวด้านข้างของสมอง ตัวเลขแสดงเขตบร็อดแมนน์ (คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังเป็นส่วน #5 และ #7)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินCortex parietalis posterior
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (อังกฤษ: posterior parietal cortex ตัวย่อ PPC, Cortex parietalis posterior) เป็นส่วนของสมองกลีบข้างหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex)

คือ ก่อนที่การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้น ระบบประสาทต้องรู้ตำแหน่งเดิมของส่วนของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหว และตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุภายนอกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาร่วมด้วย คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังรับข้อมูลจากระบบรับความรู้สึก 3 ระบบ ที่มีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งของร่างกายและของวัตถุภายนอกในปริภูมิ ซึ่งก็คือ ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ต่อจากนั้น คอร์เทกซ์จึงส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ในสมองกลีบหน้า ไปยัง dorsolateral prefrontal cortex, ไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการทุติยภูมิ (secondary motor cortex) และ ไปยัง frontal eye field งานวิจัยที่ใช้ fMRI ในลิง และงานวิจัยที่ใช้การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation) ในมนุษย์ ชี้ว่า คอร์เทกซ์นี้มีส่วนประกอบเป็นเขตเล็ก ๆ ที่แต่ละเขตมีหน้าที่เฉพาะในการนำทางการเคลื่อนไหวตา ศีรษะ แขน หรือมือ

ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้มีผลเป็นความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว-การรับรู้ (sensorimotor) รวมทั้งการรับรู้และความทรงจำที่เกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิ การยื่นมือออกไปเพื่อจับวัตถุ การเคลื่อนไหวตา และการใส่ใจ ผลที่เด่นที่สุดของความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้ก็คือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia) และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect)[1]

บางแหล่งกล่าวว่าคอร์เทกซ์นี้เป็นส่วนของเขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7[2] บางแหล่งกล่าวว่าอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 7 เท่านั้น[3]

มีหลักฐานว่า คอร์เทกซ์นี้ยังมีบทบาทในการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย[4]

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) เกิดขึ้นจากเขตนี้โดยส่วนหนึ่ง[5][6]

งานวิจัยหนึ่งพบว่า เมื่อให้ทำการศิลป์ นักศิลป์สมัครเล่นมีการไหลเวียนของเลือดในระดับสูงขึ้นใน PPC ซีกขวา โดยเปรียบเทียบกับของนักศิลป์มืออาชีพ[7]

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2012 ในวารสาร Neuron โดยนักประสาทวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ค้นพบว่า มีการยิงสัญญาณแบบคงเส้นคงวาในนิวรอนของ PPC คือ นักวิจัยได้ตรวจสอบการทำงานในระบบประสาทของลิงมาคาก ในขณะที่ให้ลิงทำกิจกรรมที่ต้องยื่นมือออกไปและต้องเคลื่อนไหวตาแบบ saccades หรือกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวตาแบบ saccades เท่านั้น การยิงสัญญาณแบบคงเส้นคงวาใน PPC พบในกิจกรรมที่ต้องอาศัยทั้งการยื่นมือและการเคลื่อนไหวตา ไม่พบในกิจกรรมที่เคลื่อนไหวตาเท่านั้น[8]

ในงานวิจัยโดยสร้างภาพในสมอง คอร์เทกซ์นี้ โดยเฉพาะส่วนของรอยนูนแองกูลาร์ เกิดการทำงานเมื่อบุคคลกำลังระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Pinel, John P.J. Biopsychology Seventh Edition. Pearson Education Inc., 2009
  2. "THE BRAIN FROM TOP TO BOTTOM".
  3. Estomih Mtui; Gregory Gruener (2006). Clinical Neuroanatomy and Neuroscience: With STUDENT CONSULT Online Access. Philadelphia: Saunders. p. 32. ISBN 1-4160-3445-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Witting N, Kupers RC, Svensson P, Arendt-Nielsen L, Gjedde A, Jensen TS (2001). "Experimental brush-evoked allodynia activates posterior parietal cortex". Neurology. 57 (10): 1817–24. doi:10.1212/wnl.57.10.1817. PMID 11723270. S2CID 8586536.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Desmurget M., Reilly K. T., Richard N., Szathmari A., Mottolese C., Sirigu A. (2009). "Movement Intention After Parietal Cortex Stimulation in Humans". Science. 324 (5928): 811–813. Bibcode:2009Sci...324..811D. doi:10.1126/science.1169896. PMID 19423830. S2CID 6555881.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Haggard P (2009). "The Sources of Human Volition". Science. 324 (5928): 731–733. Bibcode:2009Sci...324..731H. doi:10.1126/science.1173827. PMID 19423807. S2CID 206519896.
  7. http://muse.jhu.edu/journals/leonardo/v034/34.1solso.html
  8. Dean H., Hagan M., Pesaran B. (2012). "Only Coherent Spiking in Posterior Parietal Cortex Coordinates Looking and Reaching". Neuron. 73 (4): 829–841. doi:10.1016/j.neuron.2011.12.035. PMC 3315591. PMID 22365554.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]