เกีย พิคานโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกีย พิคานโต
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตเกีย
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งซิตี้คาร์ (City Car)
รูปแบบตัวถังแฮทช์แบค 3 ประตู (2011–2017)
แฮทช์แบค 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันเชฟโรเลต สปาร์ค
ฟอร์ด กา
เปอโยต์ 107
ซีตรอง C1
โฟล์กสวาเกน อัพ
เฟียต แพนด้า
โอเปิล อดัม
ฮุนได ไอ10
แดวู ทิโก
โตโยต้า เอโกะ/ไอคิว
ซูซูกิ สแปลช
ฮอนด้า บริโอ
ทาทา นาโน
เฌอรี่ คิวคิว
นาซา ซูเทรา
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าเกีย วิสโต
รุ่นต่อไปยังไม่มี

เกีย พิคานโต (อังกฤษ: Kia Picanto) เป็นรถยนต์นั่งซิตี้คาร์ (City Car) ผลิตโดยเกีย มอเตอร์ส เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2547 โดยออกมาแทนที่เกีย วิสโต (อังกฤษ: Kia Visto) ซึ่งเป็นรถที่ใช้แพลตฟอร์มร่วมกับฮุนได อทอส (อังกฤษ: Hyundai Atos) ถือเป็นรถยนต์ที่เล็กที่สุดในสายการผลิตรถยนต์ของเกีย มอเตอร์สในปัจจุบัน มีชื่อในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป เช่น เกีย มอร์นิ่ง เกีย ยูโรสตาร์ และ เกีย นิว มอร์นิ่ง นอกจากนี้ ในมาเลเซียยังมีการใช้ชื่อ นาซา ซูเรีย และ นาซา พิคานโต ซึ่งนาซาเป็นแบรนด์ท้องถิ่นในมาเลเซีย ซึ่งเคยเข้ามาขายในไทยด้วยรุ่น นาซา ฟอร์ซา

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2547-2554)[แก้]

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 1

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2547 รหัสประจำตัวรถคือ SA เกีย พิคานโตรุ่นนี้สร้างบนพื้นฐานของฮุนได เก็ตช์ การขายในเกาหลีใต้จะใช้ชื่อว่า เกีย มอร์นิ่ง (อังกฤษ: Kia Morning) รุ่นนี้มีตัวถังให้เลือกแบบเดียวคือแฮทช์แบค 5 ประตู มีเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ,1.1 และ 1.2 ลิตร เครื่องยนต์ดีเซล 1.1 ลิตร และเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ LPG 1.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศเกาหลีใต้ ,เวียดนาม ,ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มีการไมเนอร์เชนจ์ไปแล้ว 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2553

ในประเทศไทย บริษัท ยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เคยนำเข้าเกีย พิคานโตเข้ามาจำหน่ายในปี พ.ศ. 2550 เป็นรถนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย (ประกอบที่โรงงาน Naza Malaysia) โดยเปิดตัวในงาน Motor Show 2007 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ก็ได้มีการเปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ครั้งที่ 1 ออกมา โดยมาเปิดตัวพร้อมกับ Kia Grand Carnival Touring มินิแวนเครื่องยนต์ดีเซลราคาไม่แพง มีทั้งรุ่นเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ ส่วนรุ่นไมเนอร์เชนจ์ครั้งที่ 2 ก็ได้เปิดตัวในปลายปี พ.ศ. 2553 โดยนำเข้ามาขายในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เกีย พิคานโตรุ่นนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในไทยโดยเฉพาะด้านภาพลักษณ์แบรนด์และยอดขาย เนื่องจากชื่อชั้นของแบรนด์ Kia ในไทยยังไม่แข็งแกร่งพอ และเกียในไทยยังสู้คู่แข่งในตลาดรถยนต์นั่งไม่ได้ จึงอยากจะให้พิคานโตรุ่นนี้ค่อยๆ Fade หายไป

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2554-2560)[แก้]

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 2

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2554 รหัสประจำตัวรถคือ TA พิคานโตรุ่นนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของฮุนได ไอ10 รุ่นนี้มีตัวถัง 2 แบบคือแฮทช์แบค 3 และ 5 ประตู มีเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 และ 1.25 ลิตร และยังมีการผลิตรุ่นที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ LPG ในรุ่น 1.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด

ในประเทศไทย บริษัท ยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น จำกัด นำเกีย พิคานโตรุ่นที่ 2 มาเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2554 ใช้ชื่อว่า เกีย พิคานโต K1 (อังกฤษ: Kia Picanto K1) ด้วยรุ่นเครื่องยนต์ 1.25 ลิตร 87 แรงม้า ราคา 425,000 บาท เป็นเกีย พิคานโตรุ่นแรกที่ประสบความสำเร็จในไทย มียอดจองหลายสิบคัน มีลูกค้าให้ความสนใจเพิ่มขึ้น

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน)[แก้]

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 3

เกีย พิคานโต รุ่นที่ 3 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2560 รหัสประจำตัวรถคือ JA พิคานโตรุ่นนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของฮุนได ไอ10 และ ฮุนได แคสเปอร์ หลังจากที่มีข่าวว่าจะพรีวิวรุ่นใหม่ในปี 2015 แต่ก็เลื่อนมาจนถึงช่วงปลายปี 2016 โดยภาพชุดแรกที่ปล่อยออกมานั้นเป็นภาพเรนเดอร์ทั้งเซ็ท คันจริงน่าจะจัดแสดงในงานมหกรรมยานยนต์โลกรายการใดรายการหนึ่งภายในปี 2017 และเริ่มจำหน่ายในยุโรปในปีเดียวกัน พร้อมปัดรุ่นปีไปเป็นโมเดล 2018 เกียเผยภาพคันจริงและรายละเอียดของ Picanto ใหม่ก่อนเปิดตัวเป็นทางการที่ 2017 Geneva Motor Show เดือนมีนาคมนี้

Picanto ใหม่เพิ่มความกว้างให้ผู้โดยสารทางด้านหลังด้วยการขยายความยาวฐานล้อขึ้นอีก 15 มม. รวมเป็น 3,595 มม. ตัวถังใช้เหล็ก high-strength steel เพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และเพิ่มคุณภาพในด้านการทรงตัวของรถด้วยการเพิ่มความแข็งให้กับกันโคลงหน้า-หลัง, ออกแบบรูปทรงพร้อมลดน้ำหนักของคาน torsion beam เสียใหม่ และจูนการหมุนของพวงมาลัยให้ตอบสนองเร็วขึ้น 13%

รุ่นเครื่องยนต์ประกอบด้วยเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ความจุ 1.0 ลิตร N/A กำลังสูงสุด 66 แรงม้า จุดเด่นคืออัตราการคายคาร์บอนไดออกไซด์ในไอเสียที่ต่ำสุดเพียง 89 กรัม/กม. ต่อด้วยรุ่นเบนซิน 4 สูบ ความจุ 1.2 ลิตร กำลังสูงสุด 83 แรงม้า ทั้งคู่ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ทว่ารุ่นเครื่องยนต์ 1.2 ลิตรจะมีออปชั่นเป็นเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ และมีระบบ Start/Stop ดับเครื่องยนต์อัตโนมัติขณะจอดนิ่งให้เพิ่มเติม รุ่นไฮไลท์คือเครื่องยนต์เบนซินบล๊อคใหม่ แบบ 3 สูบ ความจุ 1.0 ลิตร จ่ายเชื้อเพลิงตรง อัดอากาศด้วยเทอร์โบชาร์จ T-GDI (Turbocharged Gasoline Direct Injection) กำลังสูงสุด 99 แรงม้า (HP) แรงบิดสูงสุด 17.5 กก.-ม. ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ทำความเร็วสูงสุดได้ 180 กม./ชม. ทั้งนี้เครื่องยนต์ทุกบล็อคที่ใช้งานใน Picanto คือเครื่องยนต์ในตระกูล Kappa II ของฮุนไดที่มาพร้อมเทคโนโลยีวาล์วแปรผัน VVT (Variable Valve Timing)

อุปกรณ์มาตรฐานน้อยไปนิด เกียแยกทุกสิ่งทุกอย่างออกมาเป็นออปชั่นเกือบหมด ตั้งแต่จอทัชสกรีน 7 นิ้ว, ระบบนำทางแบบ 3D, ฟังก์ชั่น Apple CarPlay และ Android Auto รวมถึงกล้องมองหลังขณะถอย… อย่างไรก็ตาม ระบบความปลอดภัยพื้นฐานยังมีถุงลมนิรภัยให้ 6 จุด ส่วนถุงลมป้องกันหัวเข่าและระบบ Autonomous Emergency Brake ช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะฉุกเฉินจะถูกแยกออกไปเป็นออปชั่น

เกียจะเริ่มจำหน่าย Picanto ใหม่ในยุโรปภายในไตรมาส 2 ของปี 2017 นี้ ทว่าเบื้องต้นจะมีแค่รุ่น 1.0 แบบไร้ระบบอัดอากาศและรุ่น 1.2 เท่านั้น ส่วนรุ่น 1.0 เทอร์โบชาร์จจะเริ่มจำหน่ายในช่วงปลายปี แต่กลับไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]