เกาะอีสเตอร์

พิกัด: 27°7′S 109°22′W / 27.117°S 109.367°W / -27.117; -109.367
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกาะราปานุย)
เกาะอีสเตอร์
ดินแดนพิเศษ, จังหวัด และเทศบาล
ธงของเกาะอีสเตอร์
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเกาะอีสเตอร์
ตรา
Emblem
ตราอาร์ม
แผนที่เกาะอีสเตอร์แสดงเตเรวากา, โปอีเก, ราโนกาอู, โมตูนูอี, โอโรโง และมาตาเวรี; "อาฮู" หลักระบุด้วยรูปโมอาย
แผนที่เกาะอีสเตอร์แสดงเตเรวากา, โปอีเก, ราโนกาอู, โมตูนูอี, โอโรโง และมาตาเวรี; "อาฮู" หลักระบุด้วยรูปโมอาย
เกาะอีสเตอร์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
เกาะอีสเตอร์
เกาะอีสเตอร์
เกาะอีสเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด: 27°7′S 109°22′W / 27.117°S 109.367°W / -27.117; -109.367
ประเทศชิลี
แคว้นบัลปาราอิโซ
จังหวัดอิสลาเดปัสกัว
เทศบาลอิสลาเดปัสกัว
ศูนย์กลางฮางาโรอา
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • องค์กรสภาเทศบาล
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดLaura Alarcón Rapu (อิสระ)
 • นายกเทศมนตรีPedro Edmunds Paoa (PRO)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด163.6 ตร.กม. (63.2 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด507 เมตร (1,663 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด0 เมตร (0 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2017)
 • ทั้งหมด7,750[1] คน
เขตเวลาUTC−6 (เวลาในประเทศชิลี)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−5 (เวลาในประเทศชิลี)
Country Code+56
สกุลเงินเปโซ (CLP)
ภาษาสเปน, ราปานูอี
ขับรถฝั่งขวา
เว็บไซต์dppisladepascua.dpp.gob.cl แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
NGA UFI=-905269
อุทยานแห่งชาติราปานูอี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
โมอายที่ราโนรารากู เกาะอีสเตอร์
ประเทศธงของประเทศชิลี ชิลี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii), (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2538 (คณะกรรมการสมัยที่ 19)
พื้นที่6,666 เฮกเตอร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เกาะอีสเตอร์ (อังกฤษ: Easter Island); เกาะราปานูอี (ราปานูอี: Rapa Nui) หรือ เกาะปัสกัว (สเปน: Isla de Pascua) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ตัวเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีไปทางทิศตะวันตกกว่า 3,600 กิโลเมตร เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร

ประวัติศาสตร์[แก้]

ภาพถ่ายดาวเทียมของเกาะอีสเตอร์

ปี ค.ศ. 1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น (คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโปลีนีเซีย) กับเผ่าหูยาว (คาดว่ามาจากอเมริกาใต้) ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงครามกัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่ากลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ในปี ค.ศ. 1722 นักเดินเรือชาวดัตช์นำโดย ยาโกบ โรคเคเฟน (Jacob Roggeveen) เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงได้เดินทางมาพบเกาะนี้ในวันอาทิตย์อีสเตอร์[3] และได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาวสเปนที่เดินทางมาจากเปรูได้ค้นพบเกาะนี้อีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีประชากรราว 3,000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุกที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอง ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

ในปี ค.ศ. 1862 รัฐบาลเปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1,000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับเข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่าง ๆ จึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาคำอธิบายไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยพมาจากที่ใด

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศชิลีก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ. 1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

รูปสลักหินขนาดยักษ์[แก้]

ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ที่มาของชาวพื้นเมืองบนเกาะ แต่ชาวพื้นเมืองก็ได้สร้างรูปสลักยักษ์ขึ้น ซึ่งสร้างจากหินและกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลต์ ซึ่งรูปสลักในยุกแรกจะเป็นรูปสลักคนนั่งคุกเข่าในช่วงประมาณ ค.ศ. 380 ในยุคถัดมาเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 จะสลักเป็นรูปที่เรียกว่า โมไอ ซึ่งเป็นที่โดดเด่นทั่วไปบนเกาะ

เกาะอีสเตอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Censo 2017". National Statistics Institute (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
  2. 2.0 2.1 "Censo de Población y Vivienda 2002". National Statistics Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2010. สืบค้นเมื่อ 1 May 2010.
  3. Salmond, Anne (2010). Aphrodite's Island. Berkeley: University of California Press. pp. 238. ISBN 9780520261143.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]