ข้าวต้มใบกะพ้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกอตูปัต)
ข้าวต้มใบกะพ้อ
ชื่ออื่นตูป๊ะ, เกอตูปัต, ปูโซ, บุกโนย, ปาตูปัต, ตะอ์มู
มื้อข้าว
แหล่งกำเนิดไทย, บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนผสมหลักข้าวห่อด้วยใบปาล์ม นำไปต้มให้สุก
รูปแบบอื่นหลากหลาย เช่น เกอตูปัตนาซี, เกอตูปัตปูลุต
ข้อมูลอื่นคล้ายกับข้าวต้มมัดของไทยและลาว

ข้าวต้มใบกะพ้อ บ้างเรียก ข้าวต้มพวง ภาษาไทยถิ่นใต้เรียก ขนมต้ม หรือ ต้ม[1] ภาษาอินโดนีเซียและมลายูเรียก เกอตูปัต (อักษรโรมัน: ketupat) ภาษามลายูปัตตานีเรียก ตูป๊ะ หรือ ตูปัต[2] ส่วนสำเนียงสะกอมเรียก กะต้ม เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศไทย และยังพบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ (ซึ่งเรียกว่าปูโซในภาษาเซบัวโน บุกโนยในภาษาฮิลิไกนอน ปาตูปัตในภาษากาปัมปางัน และภาษาปางาซีนัน หรือตะอ์มูในภาษาเตาซุก) และสิงคโปร์

ประวัติ[แก้]

เกอตูปัตทำจากข้าวห่อด้วยใบปาล์มแล้วนำไปต้ม นิยมกินกับเรินดัง, สะเต๊ะ หรือกาโดกาโด แต่เดิมเป็นอาหารที่เตรียมให้ชาวประมงที่ต้องออกทะเลเป็นเวลานาน

ความหลากหลาย[แก้]

เกอตูปัตมีหลายประเภท โดยที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือเกอตูปัตนาซีกับเกอตูปัตปูลุต เกอตูปัตนาซีทำจากข้าวขาวห่อด้วยใบมะพร้าว ส่วนเกอตูปัตปูลุตทำจากข้าวหนียวห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบกะพ้อ ชาวมลายูนิยมรับประทานในเทศกาลฮารีรายอ ในอินโดนีเซียจะรับประทานกับโอปอร์อายัม, เรินดัง, ซัมบัลโกเร็งอาตี (ตับวัวรสเผ็ด), เกรอเจะก์ (อาหารทำจากหนังควาย) หรือซายูร์ลาบูเซียม มุสลิมโมโรในฟิลิปปินส์จะรับประทานเกอตูปัตกับตียูละห์อีตุม, เรินดัง, กีนาตาอังมานอก, กุรุหม่า และสะเต๊ะ โดยรับประทานในเทศกาลสำคัญและงานแต่งงาน

ในกลุ่มชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ปูโซหรือเกอตูปัตเป็นอาหารกลางวันที่นิยมกันทั่วไป[3][4][5][6] โดยเฉพาะในกลุ่มคนงาน กินกับสตูต่าง ๆ ปูโซจัดเป็นอาหารที่ขายริมถนนที่ได้รับความนิยมในเกาะเซบู โดยกินกับสตูหรือเนื้อสัตว์ย่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. พิชญาดา เจริญจิต (15 มกราคม 2558). "ขนมไทยโบราณ ที่ชื่อว่าข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวเหนียวห่อกล้วย". เทคโนโลยีชาวบ้าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เลขา เกลี้ยงเกลา (19 กันยายน 2553). "ชิม "ตูป๊ะ" วันรายอแน". สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. http://www.gmanews.tv/story/181243/exploring-cebus-bantayan-and-virgin-islands
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.