เกลือสมุทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทำเกลือสมุทรที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1]

เกลือสมุทร เป็นเกลือที่ได้จากการกลายเป็นไอของน้ำทะเล ใช้ในการทำอาหารและเครื่องสำอาง มักมีราคาแพงกว่าเกลือแกง

องค์ประกอบ[แก้]

โดยหลักแล้วน้ำทะเลประกอบด้วยไอออนเกลือต่าง ๆ ดังรายการข้างล่าง ซึ่งเรียงตามสัดส่วนโดยน้ำหนัก[2]

คลอไรด์ (Cl-) 55.03%
โซเดียม (Na+) 30.59%
ซัลเฟต (SO42-) 7.68%
แมกนีเซียม (Mg2+) 3.68%
แคลเซียม (Ca2+) 1.18%
โพแทสเซียม (K+) 1.11%
ไบคาร์บอเนต (HCO3-) 0.41%
โบรไมด์ (Br-) 0.19%
บอเรต (BO33-) 0.08%
สทรอนเตียม (Sr2+) 0.04%
อื่น ๆ 0.01%

แม้ความเค็มของน้ำทะเลจะแตกต่างกันทั่วโลก สัดส่วนของไอออนดังตารางข้างบนยังค่อนข้างคงที่

สุขภาพ[แก้]

ตามข้อมูลของมาโยคลินิกและศาสตราจารย์ชาวออสเตรเลีย บรูซ นีล ผลกระทบด้านสุขภาพจากการย่อยเกลือสมุทรหรือเกลือแกงทั่วไปนั้นเหมือนกัน[3][4]

ไอโอดีน ซึ่งเป็นธาตุสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์[5] พบปริมาณน้อยเฉพาะในเกลือสมุทรเท่านั้น[6] อย่างไรก็ดี เกลือหิน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วขาดสารประกอบไอโอดีนเมื่อเทียบกับเกลือสมุทร สามารถเติมไอโอดีนได้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อการใช้รักษาป้องกันโรคคอพอก และโรคที่เกิดจากการขาดไอโอดีนอื่น ๆ ความเข้มข้นของไอโอดีนในเกลือสมุทรแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา

อ้างอิง[แก้]

  1. newmedia (17 มีนาคม 2017). ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง : แหล่งผลิตเกลือสมุทรใหญ่ที่สุดในประเทศ จ.เพชรบุรี. สำนักข่าวไทย TNAMCOT. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2017 – โดยทาง ยูทูบ.
  2. J Floor Anthoni (2000, 2006). The chemical composition of seawater. seafriends.org.nz.
  3. Zeratsky, Katherine (27 สิงหาคม 2009). "Is sea salt better for your health than table salt?". Mayoclinic.com. Mayo Foundation for Medical Education and Research. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2011.
  4. Rae Fry และ Bruce Neal (23 พฤศจิกายน 2010). Health and Wellbeing. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010.
  5. Fisher, Peter W. F. และ Mary L'Abbe (เมษายน 1980). "Iodine in Iodized Table Salt and in Sea Salt". Can. Inst. Food Sci. Technolo. J. 13 (2): 103–104.
  6. "Iodized salt". saltinstitute.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]