เกมโซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกมโซน (อังกฤษ: Game Zone) เป็นรายการเกมโชว์ออกอากาศในปี 2539-2545 ผลิตรายการโดยบริษัท แมสมอนิเตอร์ จำกัด (บริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และเป็นรายการเกมโชว์ที่ 2 ของไทยที่ได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศซึ่งประเทศที่ซื้อมาคือประเทศอินโดนีเซีย

พิธีกรดำเนินรายการ[แก้]

พิธีกร ช่วงระหว่าง รวม
วิลลี่ แมคอินทอช 24 เมษายน 2539 - 28 กันยายน 2545 6 ปี 4 เดือน 44 วัน
มอริส เค
ทิน โชคกมลกิจ (พิธีกรประจำช่วง Show Zone) 5 มกราคม 2545 - 28 กันยายน 2545 8 เดือน 23 วัน

ประวัติของรายการ[แก้]

เกมโซน ออกอากาศครั้งแรกในปี 2539 โดยออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 22.00 - 23.00 น. (24 เมษายน 2539 - 25 ธันวาคม 2539) จากนั้นได้มีการเปลี่ยนเวลาออกอากาศใหม่ เป็นทุกวันอังคาร 22.30 - 23.30น. (7 มกราคม 2540 - 30 ธันวาคม 2540) และเปลี่ยนมาออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 14.00 - 15.30 น.โดยเพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 90 นาที(3 มกราคม 2541 - 29 ธันวาคม 2544) และเปลี่ยนเวลาใหม่เป็น 12.00 - 13.00น. (5 มกราคม 2545 - 28 กันยายน 2545) แต่ยังคงวันเสาร์เหมือนเดิมและลดเวลาออกอากาศเหลือ 60 นาที โดยสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 28 กันยายน 2545 และปรับเปลี่ยนรายการเกมโชว์ใหม่ที่ชื่อว่า เกมสงครามเขาและเธอ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปีเดียวกัน

การออกอากาศ[แก้]

สถานีโทรทัศน์ วันออกอากาศ เวลาออกอากาศ ระยะเวลาออกอากาศ ปีที่ออกอากาศ อายุในการออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
วันพุธ
22.00 - 23.00 น.
24 เมษายน 2539 - 28 กันยายน 2545
2539 - 2545
6 ปี 4 เดือน 4 วัน
วันอังคาร
22.30 - 23.30 น.
วันเสาร์
14.00 - 15.30 น.
12.00 - 13.00 น.

รูปแบบของรายการ[แก้]

  • เกมโซน (ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 24 เมษายน 2539) - โดยมีช่วงยอดฮิตคือโซนถ่ายทอดสดและโซนถ่ายทอดเสียง และภายหลังได้เพิ่มหุ่นยนต์ "บุญโซน" เข้ามาเพิ่มสีสันในรายการ
  • เกมโซน Team Work (ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 6 มกราคม 2545) - ได้มีการปรับรูปแบบรายการใหม่ โดยจะเป็นการแข่งขันแบบทีม ทีมละ 6 คน 2 ทีม เพื่อหา 1 ทีมที่เป็นแชมป์ประจำสัปดาห์ เข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอต และได้เพิ่มช่วงใหม่ "Show Zone" แทนช่วงโซนถ่ายทอดเสียง ซึ่งจะเป็นช่วงโชว์ร้องเพลงและพูดคุยกับศิลปินรับเชิญในแต่ละสัปดาห์

กติกาของรายการ[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันต้องแข่งขันเพื่อสะสมคะแนน ใครมีคะแนนมากที่สุดจะเข้าสู่รอบแจ็คพอต แต่ในยุคTeam Work ทีมไหนที่ทำคะแนนรวมสูงสุด จะได้เป็นแชมป์ประจำสัปดาห์ และได้เข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอต โดยมีเกมดังนี้

Citra Zone[แก้]

ในรอบนี้ผู้แข่งขัน 2 คนแรกจะต้องดูภาพ VTR จากหุ่นยนต์บุญโซนเพื่อจับประเด็นทั้งหมด หลังจากนั้นผู้แข่งขัน 2 คนถัดมา จะทำหน้าที่เป็นผู้ฟัง เพื่อฟังเล่าเรื่องจาก 2 ผู้แข่งขันก่อนหน้าภายในเวลา 30 วินาที ส่วน 2 ผู้แข่งขันสุดท้าย จะทำหน้าที่เหมือน 2 คนก่อนหน้าแต่เวลาจะลดเหลือ 20 วินาที จากนั้นต้องคำถามจากพิธีกรทั้งหมด 3 ข้อ ถ้าตอบถูกจะมีสิทธิ์เปิด 1 แผ่นป้ายสะสมคะแนนจากผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 4 แผ่นป้าย(ผู้สนับสนุนหลักในช่วงนี้คือผลิตภัณฑ์โลชั่นซิตร้า) โดยหลังแผ่นป้ายจะมี 1 คะแนน(2 ป้าย),2 คะแนน(1 ป้าย),และ 3 คะแนน(1 ป้าย)(สูงสุดที่เปิดได้คือ 3 แผ่นป้าย) เปิดได้เท่าไหร่จะเป็นคะแนนให้กับผู้แข่งขันทั้ง 6 คนทันที แต่หากตอบผิดจะไม่ได้ไปเปิดป้ายในข้อนั้นๆ โดยคะแนนที่สะสมในรอบนี้จะนำคะแนนดังกล่าวไปรวมกับรอบโซนถ่ายทอดสดและโซนถ่ายทอดเสียง

เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 - 1 มกราคม 2543

APACHE ZONE[แก้]

ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนจะต้องเลือกคำใบ้ 6 ใน 12 แผ่นป้าย(ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือเครื่องสำอาง Spices และคิวท์เพลส โดยในแต่ละแผ่นป้ายประกอบไปด้วย 6 คำที่สามารถเรียงได้เป็นคำตอบประโยคจริง และอีก 6 คำ จะเป็นคำหลอก) โดยให้ผู้เข้าแข่งขันอีก 1 คน ที่สวมหมวกคำใบ้จะต้องตอบ และอีก 1 คนจะต้องใบ้ท่าทางภายในเวลา 120 วินาที ถ้าตอบถูกให้ผู้เข้าแข่งขันคนต่อไปขึ้นมาตอบแทนและอีกหนึ่งคนมาใบ้แทน ตอบผิดต้องผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้องพักการแข่งขันทันที(ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนครบทั้ง 6 คน) หลังจากนั้นจะนำ 6 คำใบ้ดังกล่าวที่ใบ้มาในช่วงแรก มาเรียงเป็นประโยคที่ถูกต้องสมบูรณ์ ถ้าเรียงคำประโยคถูก จะได้คะแนนไปคนละ 5 คะแนน แต่หากตอบผิดจะไม่ได้คะแนนในรอบนี้ และในช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2544 ได้เพิ่มกติกาเล็กน้อย โดยจะมี 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นผู้ชมทางบ้านที่ส่งมาร่วมสนุกและอีก 1 ประโยคจะเป็นทีมงานที่คิดขึ้นมา ให้เลือกประโยคที่ถูกต้องมา 1 ประโยค โดยการให้คะแนนนั้นจะเหมือนเดิมทุกประการ

เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2543 - 29 ธันวาคม 2544

โซนถ่ายทอดสด[แก้]

ในรอบนี้จะมีโจทย์จากผู้สนับสนุน 10 แผ่นป้าย(ในช่วงปี2540 มีผู้สนับสนุนทั้งหมด 9 แผ่นป้าย และในช่วงปี2539 จะมีแผ่นป้ายรูปโลโก้รายการแค่ 6 แผ่นป้าย) ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องยืนประจำที่ ให้ผู้เข้าแข่งขันในตำแหน่งแรกเลือกแผ่นป้ายโจทย์ ส่วนช่วงปี39 จะไม่มีการเลือกป้าย เป็นการเปิดโจทย์ตามลำดับแผ่นป้ายโดยพิธีกรเปิดโจทย์ให้ผู้เข้าแข่งขันคนแรกดู จากนั้นจะต้องใบ้คำด้วยท่าทางให้กับผู้เข้าแข่งขันคนที่2 คนที่2 จะต้องใบ้ท่าทางให้กับคนที่3ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย โดยทุกคนจะมีเวลา 7 วินาทีในการใบ้ โดยมีวิธีการคิดคะแนนดังนี้

  • ถ้าคนสุดท้ายตอบโจทย์คำได้ถูกต้อง ทุกคนจะได้รับคนละ 5 คะแนน แต่หากตอบผิด พิธีกรจะร่นขึ้นมา 1 ตำแหน่ง แล้วถามผู้แข่งขันที่อยู่ในตำแหน่งนั้น (ตำแหน่งที่ 5)
  • ถ้าคนที่ 5 ตอบถูก ทุกคนยกเว้นคนที่ตอบผิดจะได้คนละ 4 คะแนน แต่หากตอบผิด พิธีกรจะร่นขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง แล้วถามผู้แข่งขันที่อยู่ในตำแหน่งนั้น (ตำแหน่งที่ 4)
  • ถ้าคนที่ 4 ตอบถูก ทุกคนยกเว้นคนที่ตอบผิดจะได้คนละ 3 คะแนน แต่หากตอบผิด พิธีกรจะร่นขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง แล้วถามผู้แข่งขันที่อยู่ในตำแหน่งนั้น (ตำแหน่งที่ 3)
  • ถ้าคนที่ 3 ตอบถูก ทุกคนยกเว้นคนที่ตอบผิดจะได้คนละ 2 คะแนน แต่หากตอบผิด พิธีกรจะร่นขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง แล้วถามผู้แข่งขันที่อยู่ในตำแหน่งนั้น (ตำแหน่งที่ 2)
  • ถ้าคนที่ 2 ตอบถูก ทุกคนยกเว้นคนที่ตอบผิดจะได้คนละ 1 คะแนน แต่หากตอบผิดจะไม่มีใครได้คะแนนในรอบนั้น

หลังจากจบแต่ละโจทย์ ผู้เข้าแข่งขันจะสลับตำแหน่งให้คนสุดท้ายขึ้นมาเป็นคนแรก ส่วนคนอื่นๆร่นลงไปคนละ 1 ตำแหน่ง เล่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งทุกคนได้มาอยู่ในตำแหน่งแรก(ครบ 6 รอบ) และในปี2543 - 2544 ได้เพิ่มกติกาพิเศษ โดยการให้ผู้เข้าแข่งขันเต้นตามโจทย์เพลงในVTR ผู้เข้าแข่งขันคนไหนเต้นได้ดีที่สุดจนไฟติด ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะถูกร่นขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งแรกทันที ส่วนจำนวนรอบการเล่นนั้น ได้ลดลงเหลือ 4 รอบ(จากเดิม 6 รอบ)

โซนถ่ายทอดเสียง[แก้]

ในรอบนี้จะมีโจทย์เพลงจากผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้าย (ในช่วงปี2540 มีผู้สนับสนุนทั้งหมด 9 แผ่นป้าย และในปี2544 ที่มีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย จะมีโจทย์เพลงซึ่งอยู่ในรูปของโลโก้รายการ(ภายหลังได้เปลี่ยนรูปเป็นหุ่นยนต์บุญโซน) 5 แผ่นป้าย และโจทย์พรายกระซิบซึ่งอยู่ในรูปของผู้สนับสนุนหลักในช่วงนี้ 5 แผ่นป้าย) ผู้เข้าแข่งขัน 5 คน จะต้องยืนประจำที่ตู้เก็บเสียง และให้ผู้เข้าแข่งขันอีก 1 คน (ที่ยืนอยู่ตำแหน่งแรกนอกตู้เก็บเสียงกับพิธีกร) เลือกแผ่นป้ายสัญญาณเสียง

  • สำหรับโจทย์เพลง พิธีกรจะเปิดแผ่นป้ายสัญญาณเสียงให้ผู้เข้าแข่งขันอ่านเนื้อเพลงให้กับผู้เข้าแข่งขันในตำแหน่งต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย คนสุดท้ายจะต้องร้องเพลงนั้นออกมา ถ้าทุกๆคนร้องได้ถูกทั้งหมดจะได้รับคนละ 5 คะแนน และถ้าหากตอบผิด คนที่ร้องผิดจะถูกหัก 1 คะแนน ส่วนคะแนนที่ผู้ที่ตอบถูกจะได้นั้นจะลดหลั่นลงไปตามจำนวนผู้ที่ร้องถูก (เช่น หากมีผู้ร้องผิด 1 คน คนที่เหลือจะได้คนละ 4 คะแนน เป็นต้น)
  • สำหรับโจทย์พรายกระซิบนั้น คนแรกจะอ่านประโยคของตนให้คนที่ 2 คนที่ 2 จะต้องทวนประโยคของคนแรก แล้วอ่านประโยคของตัวเองให้คนที่ 3 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงคนสุดท้าย จะต้องทวนประโยคของทั้ง 5 คนก่อนหน้านี้ ถ้าทุกๆคนทำได้อย่างถูกต้องนอกจากจะได้คะแนนแล้ว ยังจะได้เงินรางวัลพิเศษอีกด้วย

หลังจากจบแต่ละโจทย์ ผู้แข่งขันจะสลับตำแหน่งให้คนสุดท้ายขึ้นมาเป็นคนแรก ส่วนคนอื่นๆร่นลงไปคนละ 1 ตำแหน่ง เล่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งทุกๆ คนได้มาอยู่ในตำแหน่งแรก (ครบ 6 รอบ) สุดท้ายใครที่มีคะแนนสูงสุด คนนั้นจะได้เข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบทั้ง 5 คน จะเอาคะแนนที่มีอยู่ไปคูณกับ 1,000 บาท จะได้เงินรางวัลกลับบ้านไป(ภายหลังในช่วงปี 2543-2544 ได้เปลี่ยนการให้เงินรางวัลสำหรับผู้ตกรอบเป็นคนละ 18,000 บาท) พร้อมกับได้รับของรางวัลพิเศษ(เริ่มมอบให้ครั้งแรกเมื่อปี 2541) และถ้าหากมีผู้ที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากัน 2 คนขึ้นไปจะต้องเปิดป้ายคะแนนจากผู้สนับสนุนหลักในตู้เก็บเสียง(ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายขนาดเล็ก ซึ่งถูกถือมาโดยหุ่นยนต์นักบินอวกาศ "บุญโซน") ใครที่มีคะแนนสูงสุดคนนั้นเข้ารอบแจ็คพอตทันที

โซนจับผิดภาพ[แก้]

ในรอบนี้เป็นเกมรอบพิเศษเพื่อตัดสินหาผู้เข้ารอบตัดสิน โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องดู VTR ภาพจับผิด ทั้ง 2 ภาพจากจอตู้ทีวี 1 รอบ หลังจากนั้นจะเข้าสู่เกมการแข่งขันทันที โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันดู VTR อีกครั้ง หากผู้เข้าแข่งขันคนไหนรู้คำตอบแล้ว ก็วิ่งไปกดปุ่มไฟตรงหลังจอตู้ ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนตามจำนวนจุดคำตอบที่ถูกต้อง แต่ถ้าตอบผิดจะต้องดูVTRต่อเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคนตอบถูก เกมนี้เล่นทั้งหมด 6 จุดคำตอบ คะแนนรวมสูงสุดคือ 21 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนไหนทำคะแนนสะสมสูงสุด 2 อันดับแรก จะได้เข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตทันที แต่ในปี2540 ได้เปลี่ยนเป็นรอบตัดสินรูปแบบที่ 2 และปรับกติกาเหลือเพียงผู้ที่มีคะแนนเท่ากันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้แข่งขันคนไหนตอบถูกได้มากที่สุด จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอต เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 - 30 ธันวาคม 2540 ก่อนที่จะนำรูปแบบการเล่นและกติกาไปปรับรูปแบบใหม่ในรอบ "ไซเบอร์โบนัสโซน" ในปี2544

รอบโบนัสโซน[แก้]

รูปแบบแรก(บ้านหรือบึ้ม)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบทั้ง 2 คน จะต้องเลือกกล่องซึ่งข้างในจะมีลูกระเบิดอยู่ จากทั้งหมด 5 กล่อง(ภายหลังเพิ่มเป็น 7 กล่อง) แต่ละกล่องจะมีลูกระเบิด 3 ลูกและ 5 ลูกอย่างละ 1 กล่อง อีก 3 กล่อง(หรือ 4 กล่อง)มี 4 ลูก(ซึ่งจะเป็นจำนวนระเบิดที่ซ่อนอยู่ในวิดีโอ) จากนั้นจะแจกวิดีโอ 9 ม้วน ประกอบด้วย ตัวอักษรที่สะกดเป็นคำว่าบ้าน ได้แก่ พยัญชนะ , สระ , พยัญชนะ และ วรรณยุกต์โท อย่างละ 1 ม้วน, ลูกระเบิดตามที่ผู้เข้าแข่งขันได้เลือกไว้ก่อนหน้า (หากเลือกได้ลูกระเบิด 3 หรือ 4 ลูก วิดีโอที่เหลืออีก 1 หรือ 2 ม้วนจะเป็นคำว่า ว่าง) หากผู้เข้าแข่งขันคนใดเลือกม้วนวิดีโอที่มีตัวอักษรสะกดเป็นคำว่า บ้าน ครบ ผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ชนะจะได้รับบ้านพร้อมที่ดินจากโครงการ The Natural Park รังสิต มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท บวกกับเงินรางวัลที่สะสมจาก 2 รอบก่อนหน้า แต่ถ้าเจอ ว่าง ให้เลือกไปเรื่อยๆ และหากคนใดคนหนึ่งเจอบึ้ม เกมของผู้เข้าแข่งขันจะยุติลง,ผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งเป็นผู้แพ้และจะได้เงินรางวัลที่ได้จากรอบโซนถ่ายทอดสดและโซนจับผิดภาพ

เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 - 29 มีนาคม 2540

รูปแบบที่ 2(ใกล้,ไกล)[แก้]

ในรอบนี้ผู้แข่งขันที่เข้ารอบจะต้องเลือกหมวดจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 หมวด หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องดูภาพVTR(โดยแบ่งเป็นขั้นแรก ไกล ขั้นที่ 2 กลาง และขั้นสุดท้าย ใกล้) ในภาพจะจับภาพบุคคลที่กำลังยืนอยู่ พร้อมกับทำปากแต่จะไม่มีเสียง โดยมีโอกาสตอบทั้งหมด 3 ครั้ง ต่อ 1 หมวด ให้ตอบว่าคำหรือประโยคนั้นคืออะไร ถ้าตอบถูกจะได้เงินรางวัลตามขั้นต่างๆ เช่นตอบถูกในขั้นที่ 1 30,000 บาท ขั้นที่ 2 20,000 บาท และขั้นที่ 3 10,000 บาท แต่หากตอบผิดในแต่ละครั้ง ผู้แข่งขันอีก 5 คนที่เหลือจะมีสิทธิ์แย่งกดไฟในการตอบ ถ้ากดไฟติด และตอบถูกจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท หากตอบผิดในขั้นที่ 3 (หรือขั้นสุดท้าย) จะไม่ได้เงินรางวัลและเกมจะหยุดลงทันทีพร้อมกับได้รับเงินรางวัลสะสมที่เหลือทั้งหมด แต่ถ้าหากตอบถูกครบทั้ง 4 หมวด จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท

เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 เมษายน - 30 ธันวาคม 2540

รูปแบบที่ 3(จับผิดภาพการ์ตูน)[แก้]

ในรอบนี้มีโซนแผ่นป้ายด้านละ 6 แผ่นป้ายเป็นฝั่งซ้ายกับผั่งขวา(รวมทั้งหมด 12 แผ่นป้าย) ก่อนจะเล่นเกมจับผิดต้องเลือกป้ายมา 1 ป้าย ซึ่งด้านหลังแผ่นป้ายเป็นป้ายเงินรางวัลต่าง มีตั้งแต่ 5,000-30,000฿ เปิดได้เท่าไร เป็นเงินสะสมตั้งต้นก่อนเล่นทันที เสร็จแล้วผู้แข่งขันจะต้องจับผิดภาพการ์ตูนจากจอมอนิเตอร์ทั้ง 2 ภาพว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง ถ้าจับผิดได้ 1 จุด จะได้ไปเปิดป้ายเงินรางวัลเพิ่มอีก 1 แผ่นป้าย แต่หากตอบผิดเกมจะยุติลงทันที พร้อมกับได้รับเงินรางวัลสะสมที่เหลือทั้งหมด โดยถ้าหากผู้แข่งขันจับผิดครบทั้ง 6 จุด จะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาทจากผู้สนับสนุนหลักทันที(ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โลชั่นซิตร้า)

เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 มกราคม - 26 ธันวาคม 2541

รูปแบบที่ 4(ทายสิ่งของปริศนา)[แก้]

ในรอบนี้มีโซนแผ่นป้ายด้านละ 6 แผ่นป้ายเป็นฝั่งซ้ายกับผั่งขวา(รวมทั้งหมด 12 แผ่นป้าย) แบ่งเป็นป้ายบุญโซน 3 ป้าย(มีค่าป้ายละ 30,000 บาท), ป้าย 20000 ป้ายละ 3 ป้าย(มีค่าป้ายละ 20,000 บาท) ป้าย 10000 ป้ายละ 3 ป้าย มีค่าป้ายละ 10,000 บาท) และป้ายรูปกระปุกออมสินทรงรูปหมู 3 ป้าย(มีค่าป้ายละ 5,000 บาท) เปิดได้เท่าไร เป็นเงินสะสมตั้งต้นก่อนเล่นทันที เสร็จแล้วผู้เข้าแข่งขันจะต้องชม VTR ภาพสิ่งของปริศนาจากจอมอนิเตอร์หุ่นยนต์บุญโซน โดยมีของปริศนาที่หยุดภาพไว้แค่ครึ่งหนึ่งทั้งหมด 6 ชิ้น ให้ตอบว่าของชิ้นนั้น มันคืออะไร ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกจะได้ไปเปิดป้ายเงินรางวัลเพิ่มอีก 1 แผ่นป้าย แต่หากตอบผิดจะไม่ได้เปิดแผ่นป้ายเพิ่ม โดยถ้าหากผู้แข่งขันสามารถตอบถูกครบทั้ง 6 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาทจากผู้สนับสนุนหลักทันที ในกรณีที่จบ 6 ข้อแล้วตอบผิดมากกว่า 1 ข้อ จะได้รับเงินรางวัลสะสมที่เหลือทั้งหมดกลับไป(ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โลชั่นซิตร้า)

เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 มกราคม - 25 ธันวาคม 2542

รูปแบบที่ 5(ทายสิ่งของปริศนาแบบที่2)[แก้]

ในรอบนี้คนที่ใบ้จะไปอยู่ในลิฟท์ (ลิฟท์กระเช้า) ซึ่งจะมีลูกศรชี้ระดับคะแนนอยู่ทางด้านขวามือ (ช่วง 0 - 110 คะแนน) ส่วนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ อีก 5 คน ก็จะนั่งประจำที่ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องดูภาพ VTR เพื่อจับสังเกตสิ่งของชิ้นนี้ว่ามันคืออะไร หากผู้เข้าแข่งขันคนไหนทราบคำตอบแล้ว ก็จะแย่งกดไฟเพื่อตอบ ซึ่งภาพVTRจะหยุดทันทีเมื่อมีคนตอบ แต่ถ้าหากยังไม่มีใครกดไฟตอบ คนที่อยู่ในลิฟท์จะทำการใบ้เพิ่มทันที (โดยจะมีวงล้อหมุนอยู่ด้านบนมีคะแนนบอกไว้ 10,15,20,25,30 เมื่อกดปุ่มวงล้อจะหยุด) ถ้าตอบถูกลิฟท์ของคนที่ใบ้จะเลื่อนระดับสูงขึ้นตามคะแนนที่ได้ แต่หากตอบผิด ลิฟท์ของคนที่ใบ้จะลดระดับลงตามคะแนนที่ถูกหัก ยกเว้นเมื่อคะแนนต่ำกว่า 0 คะแนน ลิฟท์ก็จะอยู่ที่ตำแหน่ง 0 (ระดับพื้นดิน) ต่อไป ซึ่งถ้าคะแนนชี้อยู่ที่ 100 - 110 คะแนนจะได้รับเงินรางวัลพิเศษในรอบนี้

จากนั้นก็เข้ามาสู่ในรอบเอ็กซ์ตร้าโบนัสโซน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาดึงสลัก โดยจะมีสลักอยู่ 6 สลัก พร้อมป้ายเฉลยยืนยันด้านหลัง ซึ่งใน 6 สลักจะมี "บาท" (เมื่อดึงสลักออกมาแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น ป้ายเฉลยเป็นเครื่องหมาย ฿) และ "บอมบ์" (เมื่อดึงสลักออกมาแล้ว แท่นจะหลุดมากองที่พื้นพร้อมทั้งทีมงานจะปาสิ่งของเข้ามาในฉากซึ่งจะคล้ายกับการถูกระเบิด ป้ายเฉลยเป็นรูประเบิด) อย่างละ 3 สลัก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสลักทั้งหมด 3 ใน 6 สลัก ซึ่งจะต้องเป็นบาททั้ง 3 สลัก ถ้าดึงสลักแรกมาเป็น บาท รับเงินรางวัล 10,000 บาท ถ้าดึงสลักที่สองเป็น บาท รับเงินรางวัล 50,000 บาท และถ้าดึงได้ บาท ครบ 3 สลัก จะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาท ส่วนผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนจะได้รับบัญชีเงินฝาก 100,000 บาท และถ้าหากดึงสลักผิดเป็น บอมบ์ เกมจะหยุดลงทันที พร้อมกับได้รับเงินรางวัลสะสมที่เหลือทั้งหมด และผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนจะได้รับบัญชีเงินฝาก 10,000 บาท

เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2543 - 13 มกราคม 2544 

รูปแบบที่ 6 (ไซเบอร์โบนัสโซน)[แก้]

เป็นเกมที่พัฒนามาจากรอบโซนจับผิดภาพ แต่ปรับรูปแบบการเล่นและกติกาใหม่ โดยผู้แข่งขันที่ผ่านเข้ารอบนี้จะต้องมาเจอกับฮีโร่ประจำรายการ(ในรายการเรียกว่า "Cyber Knight" ซึ่งมาจากผู้เแข่งขันทางบ้านที่ร่วมสนุกผ่านเกมจับผิดภาพในเว็บไซต์ eotoday.com) โดยทั้ง 2 คน จะต้องดู VTR เรื่องเล่าจากแขกรับเชิญ จากนั้นจะต้องดูภาพและจับสังเกตให้ดีๆว่า มีจุดไหนที่แตกต่างไปจากเดิมทั้งหมด 10 จุด โดยจะให้ดูฟรี 1 รอบ หลังจากนั้นจะเข้าสู่การแข่งขัน โดยสปีดภาพ VTR จะเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบ(ปกติ/เร็ว/เร็วสุด) ใครที่รู้แล้วก็ไปวิ่งกดไฟ(ตรงปุ่มไฟจะเป็นลักษณะของตัวเม้าส์คอมพิวเตอร์) ถ้าหากคนใดคนหนึ่งตอบผิดต้องดูภาพเรื่อยๆจนกว่าจะตอบได้ หากผู้เข้าแข่งขันหรือฮีโร่ทำคะแนนได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะในรอบนี้และได้รับเงินรางวัลพิเศษ 10,000 บาท ส่วนผู้แพ้จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาทพร้อมกับของที่ระลึกจากผู้สนับสนุนหลักในช่วงนี้(ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์ปลาสวรรค์ทาโร่) โดยแขกรับเชิญคนแรกที่มาเล่าเรื่องในรอบนี้คือ "ดร.ดำรง พุฒตาล"

จากนั้นก็เข้ามาสู่ในรอบเอ็กซ์ตร้าโบนัสโซน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาดึงสลัก โดยจะมีสลักอยู่ 6 สลัก พร้อมป้ายเฉลยยืนยันด้านหลัง ซึ่งใน 6 สลักจะมี "บาท" (เมื่อดึงสลักออกมาแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น ป้ายเฉลยเป็นเครื่องหมาย ฿) และ "บอมบ์" (เมื่อดึงสลักออกมาแล้ว แท่นจะหลุดมากองที่พื้นพร้อมทั้งทีมงานจะปาสิ่งของเข้ามาในฉากซึ่งจะคล้ายกับการถูกระเบิด ป้ายเฉลยเป็นรูประเบิด) อย่างละ 3 สลัก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสลักทั้งหมด 3 ใน 6 สลัก ซึ่งจะต้องเป็นบาททั้ง 3 สลัก ถ้าดึงสลักแรกมาเป็น บาท รับเงินรางวัล 10,000 บาท ถ้าดึงสลักที่สองเป็น บาท รับเงินรางวัล 50,000 บาท และถ้าดึงได้ บาท ครบ 3 สลัก จะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาท ส่วนผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนจะได้รับบัญชีเงินฝาก 100,000 บาท และถ้าหากดึงสลักผิดเป็น บอมบ์ เกมจะหยุดลงทันที พร้อมกับได้รับเงินรางวัลสะสมที่เหลือทั้งหมด และผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนจะได้รับบัญชีเงินฝาก 10,000 บาท

เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มกราคม - 29 ธันวาคม 2544

รูปแบบที่ 7 (รูปแบบสุดท้าย)[แก้]

ทีมที่เป็นแชมป์ประจำสัปดาห์จะต้องเลือกตัวแทน 1 ใน 6 คน เข้าไปอยู่ตู้กันน้ำ ส่วนอื่น 5 คนที่เหลือจะต้องเข้าไปอยู่ในตู้แคปซูล จากนั้นจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักอยู่ทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยหลังแผ่นป้ายจะเป็นคำเฉลยของคำตอบนั้นๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้ายมาทั้งหมด 6 ป้าย จากนั้นคนที่เหลือจะต้องใบ้ในรูปแบบต่างๆ(ประกอบด้วย คำพูด,ท่าทาง,ทำนองเสียง,วาดภาพและเขียนหลังคนทาย) โดยมีเวลา 7 วินาทีในการใบ้และตอบ ถ้าตอบถูกจะได้คำละ 10,000 บาท แต่ถ้าตอบถูกทั้ง 6 คำ ทั้งทีมจะได้เงินรางวัล 100,000 บาท ทั้งนี้ถ้าหากตอบผิด จะนับจำนวนครั้งที่ตอบผิด จากการคะแนนรวมในรอบหาแชมป์(โซนถ่ายทอดเสียง) ดังนี้

1. 1-15 คะแนน ตอบผิดเมื่อไหร่ เกมจะหยุดลงทันที

2. 16-22 คะแนน ตอบผิดได้ 1 ครั้งเท่านั้น หากผิดครั้งที่ 2 เกมจะจบลงทันที

3. 23-30 คะแนน ตอบผิดได้ 2 ครั้งเท่านั้น หากผิดครั้งที่ 3 เกมจะจบลงทันที

หากตอบผิดเกินจำนวน เกมจะหยุดลงทันที พร้อมกับได้เงินรางวัลทั้งหมดที่สะสมไว้

เกมนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม - 28 กันยายน 2545

ทั้งนี้ ตั้งแต่รูปแบบที่ 3 ถึงรูปแบบที่ 6 (ต้นปี 2541 - 29 ธันวาคม 2544) ได้มีการเพิ่มมอบโชคให้กับผู้ชมทางบ้าน ซึ่งถ้าผู้แข่งขันทำแจ็คพอตแตก ผู้โชคดีทางบ้านที่จับชิ้นส่วนจากผู้สนับสนุนหลักขึ้นมา จะได้รับแหวนเพชรหรือจี้ทองคำจากพรีม่าโกลด์ มูลค่า 100,000 บาท ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นบัญชีเงินฝาก มูลค่า 100,000 บาท แต่หากผู้เข้าแข่งขันทำแจ็คพอตไม่แตก ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับบัญชีเงินฝาก 10,000 บาท

ผู้ที่ทำแจ็คพอตแตก[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศประเภทรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม (THE BEST GAME OR QUIZ PROGRAMME ) จากรางวัลเอเชี่ยน เทเลวิชั่น อะวอร์ดส ประจำปี 2001

เอกลักษณ์[แก้]

  • เกมโซนได้รับลิขสิทธิ์มาจากรายการ Magical Zunou Power (ญี่ปุ่น: マジカル頭脳パワー!!โรมาจิMajikaru zunō pawā) จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแบบมินิเกมหนึ่งที่มีชื่อหลักๆว่า "マジカル伝言バトル" ( Magical Message Battle ) โดยมีเกมย่อยที่ในญี่ปุ่นเอามาออกบ่อยมีดังนี้
  • マジカルアクション伝言バトル( Magical Action Message Battle ) ในไทยเป็นในด่านของถ่ายทอดสด
  • マジカルリップ伝言バトル/音楽リップ伝言バトル ( Magical Lip Message Battle / Music Lip Message Battle ) ในไทยเป็นในด่านของถ่ายทอดเสียง
  • マジカルねんど伝言バトル ( Magical Clay Message Battle ) กติกา:ให้ปั้นดินน้ำมันต่อไปๆแล้วทายว่ามันคืออะไร
  • マジカルアート伝言バトル ( Magical Art Message Battle) กติกา:ให้วาดภาพต่อไปๆแล้วให้ทายว่าสิ่งที่วาดนั้นคืออะไร
  • เอกลักษณ์เกมโซนมีชัตเตอร์หรือที่กั้นหลายแบบดังนี้
    • 1.แบบสี่เหลี่ยมโค้ง(24 เมษายน 2539 - 30 ธันวาคม 2540)
    • 2.แบบแปดเหลี่ยม(3 มกราคม 2541 - 1 มกราคม 2543)
    • 3.แบบโค้ง(8 มกราคม 2543 - 29 ธันวาคม 2544)
    • 4.แบบสี่เหลี่ยม(5 มกราคม 2545 - 28 กันยายน 2545)
  • เอกลักษณ์เพลงเกมโซน(รอบโซนถ่ายทอดสด) ถ้าได้ฟัง ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนทำนองและเสียงดนตรีในแต่ละเวอร์ชัน ส่วนเพลงประจำรายการได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปีตามธีมและฉากของรายการ
  • จุดเด่นที่เป็นภาพจำของ "เกมโซน" รอบโซนถ่ายทอดสด : ในยุคแรก ถ้าผู้แข่งขันตอบอะไรออกมา จะมีภาพ VTR ของคำตอบนั้นๆ มาประกอบ(ยกเว้นหากคิดคำตอบไม่ออก จะมีภาพการ์ตูนในอริยาบถหัวเราะออกมา) ในกรณีที่ผู้แข่งขันตอบผิด จะมี VTR ของผู้แข่งขันที่ใบ้จากคนที่ตอบก่อนหน้านี้มาประกอบ ถ้าในกรณีที่ผู้แข่งขันตอบถูก จะมีเสียงเพลงประกอบในรอบนี้ดังขึ้น รอบโซนถ่ายทอดเสียง : เมื่อผู้แข่งขันสุดท้ายร้องจบ ประตูในตู้เก็บเสียงจะถูกเลื่อนขึ้นโดยอัตโนมัติ(ปี 2540-2542) หรือจะมีทีมงานมาเปิดประตูให้(ปี 2543-2544) พร้อมกับมีเสียงเพลงประกอบในรอบนี้ดังขึ้นในสตูดิโอเมื่อจบในแต่ละรอบ ส่วนการให้ของรางวัลของผู้ตกรอบ ช่วงปี 2541 พิธีกรจะมอบให้ทีละคน และนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา จะมีหุ่นยนต์บุญโซนเข้ามาร่วมมอบของรางวัลให้ด้วย รอบเอ็กซ์ตร้า โบนัสโซน : ในกรณีที่ผู้แข่งขันดึงสลักแล้วเจอระเบิด จะมีรูปการ์ตูน "บุญโซน" วิ่งหนีระเบิดออกมา (ให้เหมือนว่ากำลังโดนระเบิด)

อ้างอิง[แก้]