ฮิจเราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิจเราะห์
วันที่วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน – วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 622 ตามปฏิทินจูเลียน[1]
ที่ตั้งฮิญาซ, คาบสมุทรอาหรับ[2][3][4]
ชื่ออื่นการอพยพของมุฮัมมัด;[5] การอพยพ; ฮิจเราะห์
ผู้เข้าร่วมมุฮัมมัดกับผู้ติดตาม
ผลเปลี่ยนชื่อเมืองจากยัษริบเป็น "เมือง (ของศาสดา) " (มะดีนะฮ์);
ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างเผ่าเอาส์กับคอสรอจญ์สิ้นสุดลง;
มุฮัมมัดกลายเป็นผู้นำทางการเมือง และรวมกลุ่มมุสลิมใหม่

ฮิจเราะห์ (อ่านว่า ฮิด-จะ-เราะ[6]; อาหรับ: هِجْرَة) เป็นการอพยพหรือการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ ตรงกับสากลศักราช 622

ในเดือนกันยายน 622 มุฮัมมัดได้รับคำเตือนว่ามีแผนจะลอบสังหารท่าน จึงได้เดินทางออกจากเมืองมักกะฮ์อย่างลับ ๆ พร้อมด้วยอะบูบักรฺ[7] อย่างไรก็ตามมีอยู่สองฮาดิส (hadith) ที่สรุปว่าอะบูบักรฺเป็นหนึ่งในบุคคลแรก ๆ ที่อพยพไปยังมะดีนะฮ์ ก่อนการอพยพของมุฮัมมัด[8][9] มุฮัมมัดและผู้ติดตามอพยพไปยังเมืองยาธริบ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมักกะฮ์ไปทางเหนือ 320 กิโลเมตร ยาธริบถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนบี ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งศาสดา" แต่คำว่า ตุนนบี ถูกกร่อนลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นชื่อในภาษาอังกฤษจึงเหลือแต่เพียงมะดีนะฮ์ ซึ่งหมายถึง "นคร"[10] ปีที่มีการหิจญเราะหฺนั้นถูกกำหนดเป็นปีแรกในปฏิทินฮิจเราะห์โดยอุมัร ในสากลศักราช 638 หรือ ฮ.ศ. 17 ต่อมา ตัวนครจะถูกเรียกชื่อว่า มะดีนะฮ์ และบริเวณที่อยู่โดยรอบนครนั้นเรียกว่า ยาธริบ[10]

วันที่มุสลิมในปฏิทินฮิจเราะห์นั้นขยายย้อนไปในประวัติศาสตร์ วันที่ตะวันตกสมัยนั้นอยู่ในปฏิทินจูเลียน หิจญ์เราะหฺมีการเฉลิมฉลองทุกปีในวันที่ 1 มุฮัรรอม ซึ่งเป็นวันแรกในปีของอิสลาม ทำให้นักเขียนหลายคนสับสนระหว่างวันแรกของปีฮิจเราะห์กับหิจญ์เราะหฺ โดยเขียนคาดเคลื่อนไปว่าหิจญ์เราะหฺเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 1 หรือตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 622 แม้ว่าแท้จริงแล้วหิจญ์เราะหฺจะมีขึ้นในอีก 66 วันให้หลัง หรือตรงกับวันที่ 8 รอบีอุลเอาวัล[10]

เหตุการณ์[แก้]

วันที่ วันในปฏิทินฮิจเราะห์ เหตุการณ์
วันที่ 1
พฤหัสบดี
26 ศอฟัร ฮ.ศ. 1
(9 กันยายน 622)
ออกจากบ้านในมักกะฮ์ ซ่อนตัวเป็นเวลาสามวันในถ้ำแห่งหนึ่งทางใต้ของมักกะฮ์
วันที่ 5
วันจันทร์
1 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 1
(13 กันยายน 622)
ออกจากชานเมืองมักกะฮ์ เดินทางขึ้นเหนือไปยังแคว้นยาธริบ
วันที่ 12
จันทร์
8 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 1
(20 กันยายน 622)
มาถึงมัสยิดคูบาใกล้กับมะดีนะฮ์
วันที่ 16
ศุกร์
12 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 1
(24 กันยายน 622)
เยี่ยมมะดีนะฮ์เป็นครั้งแรกเพื่อละหมาดในวันศุกร์
วันที่ 26
จันทร์
22 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 1
(4 ตุลาคม 622)
ย้ายจากคูบามามะดีนะฮ์

วันที่ที่ระบุไว้ข้างต้นนี้อาจคาดเคลื่อนช้าไป 89 วัน หรือสามเดือนจันทรคติ วันที่ตามปฏิทินฮิจเราะห์นี้อาจมีบันทึกในปฏิทินอาหรับดั้งเดิมและชื่อเดือนตามปฏิทินอาหรับนี้อาจไม่เปลี่ยนเนื่องจากการแทรกอธิกมาสระหว่างเก้าปีถัดไปจนกระทั่งห้ามแทรกอธิกมาสระหว่างปีที่นบีมุฮัมมัดประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้าย (ฮ.ศ. 10)

อ้างอิง[แก้]

  1. Shaikh, Fazlur Rehman (2001). Chronology of Prophetic Events. London: Ta-Ha Publishers Ltd. pp. 51–52.
  2. Ibn Ishaq, Muhammad (1955). Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah – The Life of Muhammad. แปลโดย Alfred Guillaume. Oxford: Oxford University Press. pp. 88–89. ISBN 978-0196360331.
  3. Karen Armstrong (2002). Islam: A Short History. p. 11. ISBN 081296618X.
  4. Haykal, Husayn (1976), The Life of Muhammad, Islamic Book Trust, pp. 217–18, ISBN 978-9839154177
  5. "Dates of Epoch-Making Events", The Nuttall Encyclopædia. (Gutenberg version เก็บถาวร 2004-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  6. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ฮิจเราะห์-๒๓-มีนาคม-๒๕๕๓
  7. Moojan Momen (1985), p. 5.
  8. Saheeh Bukhari Hadith 1:661
  9. Saheeh Bukhari Hadith 6754
  10. 10.0 10.1 10.2 F. A. Shamsi, "The Date of Hijrah", Islamic Studies 23 (1984) : 189-224, 289-323.