ฮาร์โลว์ แชปลีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาร์โลว์ แชปลีย์
เกิด2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885
มิสซูรี สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต20 ตุลาคม ค.ศ. 1972 (86 ปี)
สัญชาติอเมริกัน
อาชีพนักดาราศาสตร์
มีชื่อเสียงจากรางวัลเหรียญทองคำ ราชสมาคมดาราศาสตร์

ฮาร์โลว์ แชปลีย์ (อังกฤษ: Harlow Shapley; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 1972) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลากับการส่องสว่างของดาวแปรแสงเซฟิอิด (ซึ่งค้นพบโดย เฮนเรียตตา สวาน ลีอาวิตต์) สำหรับใช้คำนวณระยะห่างของกระจุกดาวทรงกลม แชปลีย์เป็นคนแรกที่ทำการคำนวณว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยเชื่อกันมามาก และตำแหน่งของดวงอาทิตย์ของเราที่เชื่อกันว่าอยู่บริเวณศูนย์กลางของดาราจักร เป็นตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง แชปลีย์ได้เข้าร่วมในการโต้วาทีครั้งใหญ่กับ เฮเบอร์ ดี. เคอร์ติส ที่เรียกว่า "The Great Debate" ว่าด้วยลักษณะของเนบิวลากับดาราจักร และขนาดของเอกภพ การโต้วาทีจัดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1920 โดยแชปลีย์คัดค้านแนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักร ทั้งยังเสนอแนวคิดว่า กระจุกดาวทรงกลมกับเนบิวลาแบบกังหันที่แท้อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกนี้เอง ประเด็นหลังนี้เขาคิดผิด แต่ความเห็นของเขาในประเด็นแรกนั้นถูกต้อง

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 แชปลีย์ได้ช่วยเหลือทางรัฐบาลหาเงินทุนก่อตั้งองค์กรวิชาการทางวิทยาศาสตร์หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation: NSF) และยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มบทบาทของ "S" (Science) ให้แก่องค์การยูเนสโก (UNESCO: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)

เกียรติคุณและอนุสรณ์[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • Henry Draper Medal (1926)
  • Gold Medal of the Royal Astronomical Society (1934)
  • Bruce Medal (1939)
  • Henry Norris Russell Lectureship (1950)

อนุสรณ์[แก้]