ฮัวคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮัวคา (อังกฤษ: Huaca) เป็นคำในภาษาเกชัวที่ชาวอินคาใช้เรียกวัตถุ สถานที่หรือสิ่งก่อสร้างที่เก็บรักษาบางสิ่งหรือสถานที่ศักดิ์สิทธ์ที่มีเหล่าเทพสถิตอยู่ เช่น อนุสาวรีย์หรือรูปสลักต่างๆ ชาวอินคามีความสามารถในการสลักหิน พวกเขามักสลักหินเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ หรือตามสิ่งก่อสร้างก็จะมีการแกะสลักหินเป็นลวดลายที่สวยงาม

คำว่า ฮัวคา ยังอ้างถึงสถานที่ตามธรรมชาติได้อีกด้วย เช่น แท่นหินขนาดมหึมา ฮัวคาบางชิ้นเชื่อมโยงกับความเลื่อมใสและพิธีกรรมทางศาสนา ชาวเกชัวมีธรรมเนียมที่เชื่อว่าทุกสิ่งอย่างมีหนึ่งกายสองจิต หนึ่งจิตใช้สร้างตัวตนและอีกหนึ่งจิตใช้เคลื่อนตัว

ฮัวคาในเปรู[แก้]

ฮัวคา มักอยู่ตามพื้นที่ใกล้กับทุกๆ ศาสนาของเปรู โดยอยู่นอกส่วนที่ลึกที่สุดของอ่างเก็บน้ำแอมะซอน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับศาสนาในช่วงอารยธรรมก่อนอินคาถึงต้นอินคา ฮัวคายังสามารถพบได้เกือบทุกพื้นที่ในตัวเมืองลิมาในปัจจุบัน โดยมีเมืองอื่นตั้งอยู่รอบ ๆ ฮัวคาในการปกครองของเทศบาลเมืองลิมายังเป็นเหมือนกำแพงเพื่อจัดการไม่ให้เกิดรอยขูดขีดเขียนอีกด้วย

มอตเชฮัวคา[แก้]

สองในฮัวคาที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างโดยมอตเช คือวิหารแห่งพระอาทิตย์ (Huaca del Sol) และวิหารแห่งดวงจันทร์ (Huaca de la Luna) ทั้งสองวิหารนี้สร้างจากอิฐตากแห้งเหมือนกัน แต่มีลักษณะเฉพาะของอิฐที่ต่างกันตามฮัวคา แสดงถึงยุคสมัยที่แตกต่างสองยุคของสถาปนิกชาวอินคา ตัวอิฐมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ทั้งขนาด รอยตำหนิ ส่วนผสมของดิน และรอยจากแม่พิมพ์ ทั้งสองวิหารมีการก่อสร้างที่คล้ายคลึงกัน โดยการจัดวางให้อิฐวางตัวเป็นแนวดิ่งแนบติดกับอิฐชิ้นต่อไป จากนั้นวางอิฐต่อกันเป็นแนวไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ตัวอาคารมีส่วนที่แตกต่างกันอันเป็นจุดเด่นของการก่อสร้างแบบแบ่งส่วน

การก่อสร้างวิหารแห่งพระอาทิตย์บ่งบอกว่าใช้อิฐตากแห้งมากกว่า 143 ล้านชิ้น และตัวฐานของวิหารแห่งดวงจันทร์ใช้อิฐตากแห้งประมาณ 50 ล้านชิ้น คุณสมบัติของอิฐเหล่านี้ที่มีร่วมกันในด้านรูปร่างและขนาด คือตัวอิฐมีความกว้างมากกว่าความสูง อิฐที่มีสัดส่วนเหมือนกันจะมีความใกล้เคียงกันและสัมพันธ์กันทั้งในเรื่องของรูปร่างและขนาด ทั้งนี้ยังคงมีความสมมาตรเล็กน้อยในแต่ละส่วน หลายๆ ส่วนของวิหารแห่งดวงจันทร์แสดงความเอียงที่มากกว่าโครงสร้างและแนวถัดมา เมื่อจักรวรรดิอินคาแผ่ขยายอำนาจ ทำให้อิฐตากแห้งได้เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ส่วนของวิหารแห่งดวงจันทร์ยังแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของความเอียงเอนจากหนึ่งไปอีกที่ ในทางกลับกัน วิหารแห่งพระอาทิตย์ที่สร้างหลังวิหารแห่งดวงจันทร์มีความสม่ำเสมอกันมากขึ้นระหว่างอิฐที่ใช้ในส่วนต่าง ๆ ในขณะที่รูปร่างของอิฐช่วยบ่งบอกบทบาทสำคัญของอินคาที่เพิ่มมากขึ้น ตัวอิฐตากแห้งยังคงเอกลักษณ์เฉพาะตน อิฐแต่ละชิ้นมีรอยเฉพาะที่สร้างโดยผู้สร้างที่ด้านล่างของอิฐ บางรอยปรากฏมากกว่ารอยอื่นๆ แต่ละรอยแสดงถึงที่มาของอิฐนั้น ๆ