ฮอนด้า พรีลูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอนด้า พรีลูด (Honda Prelude)
1998 Honda Prelude VTi
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตHonda
เริ่มผลิตเมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2521–ตุลาคม พ.ศ. 2544 (826,082 คัน)
แหล่งผลิตSayama, Saitama, Japan (Sayama Automobile Plant)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถสปอร์ต (Sports car)
รูปแบบตัวถัง2-door คูเป้
โครงสร้างFront-engine, front-wheel-drive
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปฮอนด้า แอคคอร์ด คูเป้ (รุ่นที่ 7)
ฮอนด้า อินทิกรา (รุ่นที่ 4)

ฮอนด้า พรีลูด (Honda Prelude) เป็นรถสปอร์ตขนาดเล็ก (Sport Compact) ของฮอนด้า ผลิตในช่วง พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2544 มีตัวถังรูปแบบเดียว คือแบบคูเป้ 2 ประตู แต่ตอนยุคหลังๆ ได้ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นมาเป็นรถสปอร์ตขนาดกลาง และทดแทนรถสปอร์ตขนาดเล็กด้วยฮอนด้า อินทีกรา และฮอนด้า ซีอาร์เอกซ์ รถรุ่นที่ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งทางการตลาด หรือใกล้เคียงกับฮอนด้า พรีลูด ได้แก่ โตโยต้า เซลิก้า, ฟอร์ด มัสแตง, นิสสัน ซิลเวีย, มิตซูบิชิ เอคลิปส์, นิสสัน 200 เอสเอ็กซ์, โอเปิล คาลิบรา ฯลฯ

ฮอนด้า พรีลูด แบ่งออกเป็น 5 Generation(โฉม) ตามช่วงเวลา ได้ดังนี้

Generation ที่ 1 (SN; รุ่นปี พ.ศ. 2521 - 2526)[แก้]

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 1

รุ่นแรก มีการออกแบบผสมผสานระหว่าง ฮอนด้า ซีวิค และ ฮอนด้า แอคคอร์ด เข้าไปเล็กน้อย รุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดในเครื่องยนต์แบบ SOHC และ CVCC 1751 ซีซี I4 ซึ่งจะให้กำลังที่แตกต่างกันไป

ในรุ่นปีแรก (1978) จะเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ให้แรง 72 แรงม้า แรงบิด 127 นิวตันเมตร

ในรุ่นปี 2522 พรีลูดมีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งในรุ่นนี้ จะมีเพียง 2 สปีด (Hondamatic) และให้แรง 68 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 2 สปีดนี้ ถูกใช้เพียงรุ่นปีเดียว และในรุ่นปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป พรีลูดเกียร์อัตโนมัติได้เปลี่ยนไปใช้ระบบเกียร์แบบ 4 สปีด

แต่ในออสเตรเลีย และ สหราชอาณาจักร เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่ขายได้จะเป็นเครื่องแบบ EL 1602 ซีซี ต่างจากในแถบญี่ปุ่น

และนอกจากนี้ พรีลูดยังมีมูนรูฟ (หน้าต่างบนหลังคารถ) ด้วย

Generation ที่ 2 (AB, BA1/2/3/6, BB; รุ่นปี พ.ศ. 25262531)[แก้]

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 2

โฉมที่ 2 นี้ เครื่องยนต์ในช่วงแรกของโฉมจะเป็นเครื่องแบบ A18 1.8 ลิตร 12 วาล์ว เครื่องยนต์แบบ ทวิน คาร์บูเรเตอร์ 100 แรงม้า

แต่ในรุ่นปี พ.ศ. 2528 ฮอนด้าได้เริ่มผลิตเครื่องยนต์แบบหัวฉีดมาใช้แทนคาร์บูเรเตอร์ โดยรถยนต์เครื่องหัวฉีดยุคแรกของพรีลูด จะใช้ชื่อเรียกว่ารุ่น Si ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทันสมัยในยุคนั้น

เครื่องยนต์หัวฉีดรุ่นแรกๆ จะเป็นเครื่องยนต์ 2 ลิตร DOHC 16 วาล์ว PGM-FI 110 แรงม้า แต่ต่อมาก็มีเครื่องยนต์แบบ EDM 137 แรงม้า และ JDM-B20A 160 แรงม้าเข้ามาขาย ซึ่งระบบหัวฉีดก็เข้าขายในยุโรปใน พ.ศ. 2529

โฉมนี้ เป็นโฉมแรก ที่พรีลูด ใช้ไฟหน้าแบบ Pop-Up (ซ่อนไฟหน้าได้) ซึ่งโฉมนี้มีจุดเด่นที่ความแรง เพราะในโฉมที่ 2 นี้ น้ำหนักของรถมีเพียง 1,025 กิโลกรัม ในขณะที่เครื่องยนต์สามารถให้แรงได้เพิ่มขึ้นจากโฉมแรก ทำให้รถมีความแรงและทำความเร็วได้มากกว่า

Generation ที่ 3 (BA3/4/5/7; รุ่นปี พ.ศ. 2531 - 2535)[แก้]

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 3

โฉมที่ 3 นี้ มีความคล้ายคลึงกับโฉมที่ 2 มาก แต่ก็มีการผลิตเครื่องยนต์ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เข้ามาเป็นความแตกต่าง

โฉมนี้ ยังมีการผลิตเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์อยู่ แต่ส่วนใหญ่มีการผลิตเครื่องหัวฉีดควบคู่ไปด้วย ในช่วงแรก เครื่องคาร์บูเรเตอร์ 1958 ซีซี ให้แรง 104 แรงม้า และให้ทอร์ก 150 นิวตันเมตร ส่วนเครื่องหัวฉีดช่วงแรกของโฉม ให้แรง 135 แรงม้า ทอร์ก 172 นิวตันเมตร

พอถึงรุ่นปี พ.ศ. 2533 ได้มีการใช้เทคโนโลยี PGM-FI ในเครื่องยนต์ของพรีลูด ทำให้แรงม้าในเครื่องพรีลูด เพิ่มไปตามระบบเครื่องยนต์ซึ่งมีหลายแบบ ซึ่งเครื่องที่ให้แรงสูงที่สุดของพรีลูดโฉมนี้ คือ 1958 ซีซี DOHC PGM-FI B20A7 ซึ่งให้แรงสูงสุด 150 แรงม้า

Generation ที่ 4 (BA8/9, BB1-BB4; รุ่นปี พ.ศ. 2535 - 2540)[แก้]

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 4

โฉมที่ 4 เริ่มมีการใช้เครื่องยนต์แบบ VTEC ในพรีลูด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแรง และความคุ้มค่าในการใช้เชื้อเพลิง

แต่ในขณะเดียวกัน เครื่องระบบคาร์บูเรเตอร์ก็ยังผลิตอยู่ เครื่องยนต์แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

เครื่องวางขวางขับเคลื่อนล้อหน้าแบ่งเป็นสี่ตัว คือ เครื่องหัวฉีดธรรมดา 2.0 ลิตร 133 แรงม้า , เครื่องคาร์บูเรเตอร์ 2.2 ลิตร 135 แรงม้า , เครื่องยนต์หัวฉีดธรรมดา 2.3 ลิตร 160 แรงม้า และเครื่องยนต์หัวฉีด VTEC 2.2(H22A) ลิตร 200 แรงม้า หรือที่เรียกว่า VTi-R หรือ Si-VTEC

โฉมนี้ ยกเลิกการใช้ไฟหน้าแบบ Pop-Up และได้ออกแบบใหม่ให้ดูล้ำยุคมากขึ้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นผู้นำในขณะนั้นที่กล้าลบกระแสไฟป็อบอัพในรถสปอร์ต อีกทั้งยังนำเอาระบบขับเคลื่อนล้อหน้ามาใช้กับรถสปอร์ตอีกด้วย และได้เพิ่มอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปอีกให้ทันยุคสมัยมากขึ้น ด้วยการมีซันรูฟ, ครูซคอนโทรล (ล็อกความเร็วอัตโนมัติ), ระบบเบรกเอบีเอส, ระบบเลี้ยวสี่ล้อในรุ่นวีเทค(VTEC), หน้าปัดออกแบบเป็นระบบดิจิตอล ฯลฯ รถรุ่นนี้ประสบความสำเร็จในด้านการตลาดอย่างมากในระดับรถสปอร์ตขนาดกลาง เนื่องจากมีเทคโนโลยีต่างๆ ในตัวรถอยู่พอสมควรทีเดียว แต่อาจจะมีข้อด้อยกว่ารถยนต์คู่แข่งในด้านการขับขี่ เนื่องจากเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า และในประเทศไทย บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เคยสั่งนำเข้าฮอนด้า พรีลูดมาจากญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2535 ในยุคที่กระแสของรถนำเข้าโด่งดังจากการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน คู่แข่งในระดับเดียวกันในสมัยนั้นเช่น โตโยต้า เซลิก้า ,โตโยต้า พาซิโอ ,นิสสัน NX ,โอเปิล คาลิบรา ก็เป็นรถนำเข้่าเช่นเดียวกัน ยกเว้น Nissan NX Coupe

Generation ที่ 5 (BB5-9; รุ่นปี พ.ศ. 2540 - 2544)[แก้]

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 5

โฉมสุดท้ายนี้ ฮอนด้าออกแบบตัวถังพรีลูดให้ผสมผสานลักษณะของตัวถังรถในยุคปลายทศวรรษ 1990 โดยออกแบบบั้นท้ายของรถให้เรียวขึ้น และออกแบบไฟด้านหน้าใหม่ และเครื่องยนต์จะเน้นทันสมัยและประหยัด พรีลูดยกเลิกการผลิตเครื่องระบบหัวฉีดธรรมดา เครื่องยนต์ของพรีลูดในโฉมนี้ จะเป็นเครื่องระบบหัวฉีด VTEC DOHC (ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) ซึ่งสามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้มากเมื่อเทียบกับรถที่มีขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) เท่ากัน

พรีลูดที่ฮอนด้าขายนั้น ในช่วงรุ่นปี พ.ศ. 2540-2541 จะเป็นเครื่องยนต์หัวฉีด VTEC 2.2 ลิตร H22A 195 แรงม้า แต่พอถึงรุ่นปี 2542 ได้พัฒนาเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์หัวฉีดแบบ VTEC 2.2 ลิตร H22A 200 แรงม้า ที่ 7000 รอบ/นาที

แต่เฉพาะในญี่ปุ่น มีการผลิตฮอนด้า พรีลูด Type R ซึ่งเป็นเครื่องที่แรงเป็นพิเศษ กล่าวคือ เป็นแบบ หัวฉีด VTEC DOHC ฝาแดง ความจุ 2.2 ลิตร H22A 223.1 แรงม้า ที่ 7200 รอบ/นาที และให้ทอร์ก 221 นิวตันเมตร ที่ 6500 รอบ/นาที ถือเป็นแรงที่มากสำหรับเครื่องที่มีความจุเท่ากัน โดยที่ไม่ได้ใช้ระบบอัดอากาศ (เทอร์โบ) แต่อย่างใด และไม่มีขายในประเทศไทย

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นปีสุดท้าย คือ รุ่นปี พ.ศ. 2544 และฮอนด้า พรีลูด คันสุดท้าย ผลิตใน พ.ศ. 2545 แล้วเลิกผลิตไป เนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเท่าที่ควร เพราะในช่วงนั้นถือเป็นยุคสิ้นความนิยมในรถสปอร์ตคูเป้แล้ว ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ เช่นโตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ รวมถึงฮอนด้าต้องเลิกผลิตรถสปอร์ตคูเป้ไป ถือเป็นการปิดตำนานรถสปอร์ตขนาดเล็กของฮอนด้าไปตั้งแต่บัดนั้น

Honda Prelude concept (พ.ศ. 2566)[แก้]

เมื่อพูดถึงชื่อ Integra ที่วัยรุ่นและนักเลงรถในปัจจุบันคุ้นหูกันดีในฐานะรถ Fastback 5 ประตูที่วางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ Acura ฝั่งอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นการนำชื่อเก่ามาเล่าใหม่ในปี 2022 หลังจากห่างหายไปตั้งแต่ก่อนปี 2010 โดยเป็นการทำตลาดควบคู่กับ Civic Type-R ที่มีขุมพลังให้เลือก 2 รูปแบบ ได้แก่ เบนซิน 1.5 ลิตร เทอร์โบ 203 แรงม้า และ เบนซิน 2.0 เทอร์โบ 324 แรงม้า ที่เป็นบล็อกเดียวกันกับ Civic Type-R นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Honda ยังมีรถสปอร์ตคู่บุญอีกรุ่นนามว่า Prelude ที่ห่างหายไปตั้งแต่ปี 2001 โดยความเป็นมาของ Prelude รุ่นแรกที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 1978 ตลอดจนรุ่นสุดท้ายเจเนอเรชั่นที่ 5 ล้วนแล้วแต่สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ชื่นชอบรถสปอร์ตแบบ 2 ประตู Tourer ภายใต้งานวิศวกรรมพื้นฐานร่วมกับ Accord และแล้วเวลาที่แฟนๆ รอคอยก็มาถึง เมื่องาน Japan Mobility Show 2023 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2023 Honda ได้เปิดตัวรถต้นแบบ 2 ประตู ขุมพลังไฟฟ้าล้วนชื่อรุ่น Prelude concept เพื่อเป็นปลุกตำนานให้ตื่นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของรถ EV ภายใต้แบรนด์ Honda ที่สร้างรอยยิ้มและความสนุกสนานยามขับขี่เป็นรุ่นแรก ก่อนที่จะมีรถสปอร์ตขุมพลังไฟฟ้าล้วนรุ่นอื่นๆ ตามมาในภายหลัง

โดย Prelude Concept เป็นหนึ่งในรถสปอร์ตต้นแบบในซีรี่ย์ specialty sports model ที่ทาง Honda วางแผนว่าจะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้ และด้วยความหมายที่ดีของชื่อ Prelude ที่แปลเป็นไทยว่าโชว์ที่แนะนำหรือเกริ่น ก่อนการเริ่มการแสดงครั้งใหญ่ ยิ่งทำให้มีความเหมาะสมมากที่จะเลือกเป็นรถสปอร์ต EV รุ่นแรก ภายใต้แนวคิดการพัฒนา “joy of driving”

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]