อ่าวเมาะตะมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขึ้นทะเบียน
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนอ่าวเมาะตะมะ
ขึ้นเมื่อ10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
เลขอ้างอิง2299[1]
ภาพถ่ายดาวเทียมของอ่าวเมาะตะมะ

อ่าวเมาะตะมะ (พม่า: မုတ္တမပင်လယ်ကွေ့) เป็นพื้นน้ำส่วนหนึ่งของทะเลอันดามันทางตอนใต้ของประเทศพม่า ชื่อของอ่าวเมาะตะมะได้มาจากเมืองเมาะตะมะ แม่น้ำสะโตง, แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำย่างกุ้งต่างไหลลงสู่อ่าวนี้[2]

ลักษณะเฉพาะของอ่าวเมาะตะมะคือมีแนวชายฝั่งที่ได้รับอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง ระดับน้ำขึ้นลงอยู่ในช่วงระหว่าง 4–7 เมตร โดยมีระดับน้ำขึ้นลงสูงสุดบริเวณอ่าวเมาะตะมะตะวันตก

ในช่วงกระแสน้ำขึ้นเมื่อระดับน้ำอยู่ที่ราว 6.6 เมตร เขตน้ำขุ่นจะครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 45,000 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นเขตน้ำขุ่นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในมหาสมุทรโลก ช่วงกระแสน้ำลงที่ระดับ 2.98 เมตร พื้นที่ความขุ่นสูงจะลดเหลือ 15,000 ตารางกิโลเมตร ขอบพื้นที่ความขุ่นสูงจะเคลื่อนตัวไปมาพร้อมวงจรน้ำขึ้นลงร่วม 150 กิโลเมตร[3]

อ่าวนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ต่าง ๆ[4] รวมทั้ง วาฬบรูด้า ที่ได้จำแนกชั้นชีววิทยาทางทะเลแล้ว[5]

ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าเขตนี้อุดมไปด้วยแหล่งน้ำมัน เป็นแหล่งสำรวจน้ำมันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ภายใต้ "โครงการพัฒนาซอติกะ" ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศของอเมริกา (เชฟรอน), อังกฤษ (บีพี), ฝรั่งเศส (โททาล), จีน (CNOOC), ไทย (ปตท.สผ.), อินโดนีเซีย (PT Gunanusa) และ อินเดีย (L&T) ที่สำรวจน้ำมันในบล็อก M7, M9 และ M11[6][7]

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°31′15″N 97°00′45″E / 16.52083°N 97.01250°E / 16.52083; 97.01250

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gulf of Mottama". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  2. Gulf of Martaban. InfoPlease.com. Accessed March 30, 2012.
  3. Gulf of Martaban (Burma). SeaSeek. Accessed March 30, 2012.
  4. Wongthong, Panwad; True, James (กันยายน 2015). "Community-Led Coastal Management in the Gulf of Mottama Project (CLCMGoMP): Updated situation analysis of the Gulf of Mottama - Based on the rapid socio-ecological assessment" (PDF). Swiss Agency for Development and Cooperation. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2017.
  5. Wildlife Conservation Society. 2014. Marine Conservation - Current knowledge and research recommendation (pdf). Retrieved on March 02, 2017
  6. "Zawtika project, Gulf of Martaban, Myanmar". Offshore technology. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
  7. "Zawtika development project". www.offshore-ocs.com. Offshore OCS. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.