อูเวอ ฮึค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อูเว ฮึค)
อูเวอ ฮึค
อูเวอ ฮึค (ค.ศ. 2005)
รุ่นมิดเดิลเวท
เกิด (1962-05-22) 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 (61 ปี)
เยอรมนี ชตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี
อูเวอ ฮึค ขณะให้สัมภาษณ์ในงานอินเตอร์เนชันแนลมอเตอร์โชว์ 2017

อูเวอ ฮึค (เยอรมัน: Uwe Hück) เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 ที่เมืองชตุทการ์ท เป็นประธานและรองคณะกรรมการที่ปรึกษาของพอร์เชอ อาเก ในชตุทการ์ท

ประวัติ[แก้]

อูเวอ ฮึค สูญเสียพ่อแม่ของเขาเนื่องจากอุบัติเหตุทางจราจร เขาเติบโตขึ้นมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ต่อมา ในช่วง ค.ศ. 1977–1981 เขาได้รับการฝึกเป็นช่างพ่นสีรถยนต์ และใน ค.ศ. 1985 เขาได้เป็นนักมวยไทยมืออาชีพและเป็นแชมป์ยุโรปถึงสองครั้ง

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1985 เขาเริ่มเป็นช่างฝีมือทาสีของพอร์เชอ อาเก ค.ศ. 1987 เขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนปฏิคมสหภาพแรงงาน และใน ค.ศ. 1994 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าที่ได้รับความไว้วางใจ ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 อูเวอ ฮึค เป็นสมาชิกในแผนก จนใน ค.ศ. 1994 ที่เขาได้ว่างเว้นจากวงการ

อาจถือได้ว่าเขามีคุณสมบัติเกินกว่าคนงาน, ค่าตอบแทน รวมถึงสิทธิประกันสังคม ซึ่งใน ค.ศ. 1997 เขาเป็นผู้สืบทอดประธานกรรมการงานทั่วไปคนใหม่ของ ฟรานซ์ สไตน์เบ็ค ประธานคนใหม่ของพื้นที่ซุฟเฟนเฮาเซน/ลุดวิคส์บวร์ก ค.ศ. 1998 ฮึคเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกำกับ ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เขาได้เป็นประธานของพอร์เชอ อาเก จากนั้น ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เขาเป็นประธานของสภากิจ และ ค.ศ. 2007 เขาเป็นรองประธานคณะกรรมการกำกับของพอร์เชอโฮลดิงออโตโมบิล เอ็สเอ ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2008 เขาได้เป็นหัวหน้าของสภาแรงงานพอร์เชอออโตโมบิลโฮลดิง เอ็สเอ[1] จากนั้น ใน ค.ศ. 2010 เขาได้เป็นรองประธานกรรมการของพอร์เชอ อาเก

เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมการท้องถิ่นของอีเก เมทัลชตุทการ์ท และคณะกรรมการศุลกากรขนาดใหญ่ของอีเก เมทัล รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค

ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี เขาได้รับการสนับสนุนการเลือกตั้งจากแกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ ซึ่งเป็นเพื่อนของเขา และเป็นการปฏิรูปนโยบายไปในตัว

อูเวอ ฮึค แต่งงานกับหมิง ชุง สตรีชาวเวียดนาม และเขาได้เป็นพ่อบุญธรรมของเด็กชายสองคน โดยคนหนึ่งเป็นเด็กที่เกิดจากทางชีวภาพ นอกจากนี้ เขายังเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเอ็ฟเอ็สเฟา บุคเคินแบร์ค 1921 เอ. เฟา. ซึ่งเป็นสโมสรกีฬาในฟอทซ์ไฮม์ที่มีสมาชิกกว่า 500 ราย ที่เขาได้เข้าฝึกสอนมวยไทยในเวลาว่างให้แก่นักมวยรุ่นหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน[2]

อ้างอิง[แก้]

  • Ralf Spiller und Georg Weishaupt: Leaders at the Top – Wirtschaftsführer im Porträt. Redline Wirtschaft, ISBN 3-636-01341-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]