อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ บึงฉวาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[[== อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ 26 ไร่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุครบ 72 พรรษา รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่า และอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้าน โดยการรวบรวมพืชผักพื้นบ้านจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย กว่า 500 ชนิด เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาถึงการปลูก การขยายพันธุ์ การบริโภค ตลอดจน คุณประโยชน์อื่น ๆ ของผักพื้นบ้าน ทั้งประเภทไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เถาเลื้อย ไม้น้ำ และไม้ในที่ชื้นแฉะ ภายในอุทยานมีการจัดภูมิทัศน์อย่างสวยงาม มีอาคารศูนย์ข้อมูล มีห้องสมุดให้บริการความรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้าน ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากผักพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรบริเวณรอบบึงฉวาก มีรายได้จากการจำหน่ายต้นพันธุ์ และผลผลิตจากผักพื้นบ้าน โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการความรู้อย่างต่อเนื่อง จุดเที่ยวชม ภายในอุทยานผักพื้นบ้าน

ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตร บริเวณอาคารเอนกประสงค์ แสดงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวภายในบึงฉวาก อาคารสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องประชุม/ชมวีดิทัศน์ ห้องแสดงนิทรรศการผักพื้นบ้าน ห้องสมุด /ศูนย์ข้อมูลผักพื้นบ้าน และห้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ลานเอนกประสงค์ อยู่บริเวณใจกลางอุทยาน ประกอบด้วย ซุ้มไม้เลื้อย ซุ้มไม้กระทะ ซุ้มสามเหลี่ยม ที่นั่งพักผ่อน พร้อมถังขยะ สวนไม้น้ำ จัดแสดงพันธุ์พืชน้ำหลายชนิด เรือนเพาะชำกล้าไม้ สำหรับปลูกซ่อมบำรุงภายในอุทยาน และแจกจ่ายแก่เกษตรกรผู้สนใจ โรงเรือนปลูกพืชระบบระบายน้ำ สำหรับทดสอบการปลูกพืชจากภูมิภาคต่าง ๆ และการปลูกพืชไร้ดิน


อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ได้รวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยกว่า 500 ชนิด มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุกและไม้ชื้นแฉะ สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินให้ชม ==]]